Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45925
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรพล เศรษฐบุตร-
dc.contributor.advisorจุฑาทิพย์ เฉลิมผล-
dc.contributor.advisorธนะชัย พันธ์เกษมสุข-
dc.contributor.authorนิศานาถ ธนะรังสฤษฏ์en_US
dc.date.accessioned2018-03-26T05:02:25Z-
dc.date.available2018-03-26T05:02:25Z-
dc.date.issued2557-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45925-
dc.description.abstractThe objectives of this study were 1) to describe the roles of Tambon Administration Organization on agricultural development. 2) to determine the relationship among personal factors, social factors, political factors and the roles of Tambon Administrative Organization on agricultural development and 3) to explore obstacle problems and suggestions of Tambon Administrative Organization on agricultural development. The populations in this study were presidents or vice-presidents of Administration Organization, Chief Administrators of the Tambon Administration Organizations, agricultural technical officer or community development officer of all Tambon Administrative Organization in Phayao Province. The total number of all participants was 102. Questionnaire was used as a research instrument. The collected data were analyzed by descriptive statistics, namely, percentage, average, mode, minimum, maximum, standard deviation, and test hypotheses by multiple linear regression analysis. The results showed that the population in this study were mostly males at the average age 43 years, married, post-graduates degree. Tambon Administration Organization was in charge of an area less than 100 square kilometers. The agricultural areas in the responsible areas of Tambon Administration Organization was less than 50 square kilometers. The number of population in the responsible areas was 5,001-7,000. The number of farmers in the responsible areas was less than 3,000. Most of the participants were knowledgeable about agriculture with sustainable agriculture systems and did not receive any prior agricultural training. Most of them were contacted and received recommendations from agricultural technical officers, agricultural specialist, or related organization. Most of them gained agricultural information and knowledge from radio. The Tambon Administration Organizations were mainly established for more than 16 years, mostly with 21-30 members. According to the studies conducted on the role of Tambon Administration Organization on agricultural development, there were high level with the grand mean of 1.50. Hypothesis testing showed that gender, contacted and received advice from the agricultural officers and agricultural specialist were statistically significant related to the role of Tambon Administration Organization on agricultural development at the level of 0.01, while the sources of agricultural information and knowledge was statistically significant related to the role of Tambon Administrative Organization in agricultural development at the level of 0.05. Problems and obstacles of Tambon Administration Organization on agricultural development found in this study were as follows: budgets are not enough, farmers and local people did not cooperate in resolving the issue. Tambon Administration Organizations did not recognize the real problems of the areas and the farmers. The government’s policies were unstable and inadequacy of personnel for agricultural related responsibility. Recommendations from this research are: the budget allocation for agricultural development should be more provided, increase the agricultural workforce, study the problems of agriculture in the Tambon prior to the agricultural development planning and take more coordinate with the related organization.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบลen_US
dc.subjectการเกษตรen_US
dc.titleบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาการเกษตรในจังหวัดพะเยาen_US
dc.title.alternativeRoles of Tambon Administration Organization on Agricultural Development in Phayao Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc630-
thailis.controlvocab.thashการพัฒนาการเกษตร -- พะเยา-
thailis.controlvocab.thashองค์การบริหารส่วนตำบล -- พะเยา-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 630 น382บ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาการเกษตร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางการเมืองการปกครองกับบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาการเกษตร 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาการเกษตร ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ นายกหรือรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล นักวิชาการเกษตรหรือนักพัฒนาชุมชนประจำตำบลจากทุกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพะเยา จำนวนทั้งสิ้น 102 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าฐานนิยม ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 43 ปี แต่งงานแล้ว มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี องค์การบริหารส่วนตำบลมีพื้นที่ในเขตรับผิดชอบน้อยกว่า 100 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ทำการเกษตรในเขตรับผิดชอบน้อยกว่า 50 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ 5,001-7,000 คน มีประชากรที่ทำการเกษตรในเขตรับผิดชอบน้อยกว่า 3,000 คน ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความรู้ด้านการเกษตรในเรื่องระบบเกษตรยั่งยืน และไม่เคยได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการเกษตร ส่วนใหญ่เคยได้รับการติดต่อและคำแนะนำเกี่ยวกับการเกษตรจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่จะได้รับข่าวสารและความรู้ด้านการเกษตรจากวิทยุ องค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่ก่อตั้งมานานมากกว่า 16 ปี โดยมีจำนวนสมาชิก 21-30 คน จากการศึกษาบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาการเกษตร พบว่ามีการดำเนินบทบาทอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 1.50 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ การติดต่อและได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการเกษตรจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ มีความสัมพันธ์กับบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ขณะที่แหล่งข่าวสารและความรู้ด้านการเกษตร มีความสัมพันธ์กับบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัญหา และอุปสรรคขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการพัฒนาการเกษตรที่พบจากการศึกษาในครั้งนี้คือ งบประมาณไม่เพียงพอ เกษตรกรและประชาชนในท้องถิ่นไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา และองค์การบริหารส่วนตำบลไม่รู้สภาพปัญหาที่แท้จริงของพื้นที่และของเกษตรกร นโยบายของรัฐบาลมีความไม่แน่นอน และขาดบุคลากรรับผิดชอบงานด้านการเกษตรโดยตรง ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือ ควรให้มีการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาการเกษตรให้มากขึ้น เพิ่มบุคลากรทางด้านการเกษตร ศึกษาสภาพปัญหาด้านการเกษตรภายในตำบลก่อนมีการทำแผนพัฒนาการเกษตร และควรมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้มากขึ้นen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT525.49 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX824.7 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1232.56 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2309.06 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3174.6 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4628.3 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5286.54 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT736.14 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER912.75 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE207.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.