Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40028
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.สุภารัตน์ วังศรีคูณ-
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา-
dc.contributor.authorณัฎฐธัญพงศ์ ไหลธรรมนูญen_US
dc.date.accessioned2017-08-30T09:28:02Z-
dc.date.available2017-08-30T09:28:02Z-
dc.date.issued2558-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40028-
dc.description.abstractDeath in the trauma and emergency department is a common event. Nurses is an important person to facilitate patients’ death with dignity. This descriptive study aimed to explore nurse’s supportive behaviors and nurse’s obstacles in providing end-of-life care in the trauma and emergency department, Phaholpolpayuhasaena Hospital, Kanchanaburi province. The framework of this study was based upon literature review. The study sample included 26 registered nurses working in the trauma and emergency department, Phaholpolpayuhasaena Hospital, Kanchanaburi province. The instruments used were the nurse’s supportive behaviors and the nurse’s obstacles in providing end-of-life care questionnaires (Beckstrand et al., 2008). The questionnaires were tested for their reliability and yielded a Cronbach’s alpha coefficient of 0.94 and 0.95, respectively. The study findings were as follows: 1.Nurse’s supportive behaviors means ranged from 0.81 to 3.73 (on a scale of 0-5). The three behaviors with the lowest mean scores included having a supportive person outside of the work setting who will listen to you after the death of your patient (X = 0.81, S.D. = 1.10), having a fellow nurse put his or her arm around you, hug you, pat you on the back or give some other kind of brief physical support after the death of your patient (X = 0.92, S.D. = 1.26), and letting the social worker, nursing supervisor, or religious leader take primary care of the grieving family (X = 1.38, S.D. = 1.44); and 2.Obstacles in providing end-of-life care means ranged from 2.08 to 3.92 (on a scale of 0-5). The three obstacles with the highest mean scores were restriction of family members in the emergency department during resuscitation (X = 3.92, S.D. = 1.16), being called away from the patient and his/her family because of the need to help another nurse care for his/her patients (X = 3.77, S.D. = 1.36), and not knowing the patient’s wishes regarding continuing with treatments and tests because of the inability to communicate due to a depressed neurological status or pharmacologic sedation (X = 3.77, S.D. = 1.14). The findings from this study can be used as basic information for further development of end-of-life care in the trauma and emergency department.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectEmergency medical servicesen_US
dc.titleพฤติกรรมสนับสนุนของพยาบาลและอุปสรรคในการดูแลระยะสุดท้าย ที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรีen_US
dc.title.alternativeNurses’ Supportive Behaviors and Obstacles in End-of-Life Care at Emergency Department, Phaholpolpayuhasaena Hospital, Kanchanaburi Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.meshEmergency medical services-
thailis.controlvocab.meshPallative care-
thailis.controlvocab.meshNurses-
thailis.controlvocab.meshBehaviors-
thailis.manuscript.callnumberW 4 ณ213พ 2558-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการเสียชีวิตที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อย พยาบาลเป็นบุคคลสำคัญที่สนับสนุนให้ผู้ป่วยตายอย่างสมศักดิ์ศรี การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสนับสนุนของพยาบาล และอุปสรรคของพยาบาลในการดูแลระยะสุดท้ายที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้กรอบแนวคิดจากการทบทวนวรรณกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมสนับสนุนของพยาบาล และแบบสอบถามอุปสรรคของพยาบาลในการดูแลระยะสุดท้ายของของ เบรคสแทรนด์ และคณะ (Beckstrand et al., 2008) นำไปทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์แอลฟ่าของครอนบาร์ค (Cronbach’s alpha coefficient) 0.94 และ 0.95 ตามลำดับ ผลการศึกษา พบว่า 1.ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสนับสนุนของพยาบาลในการดูแลระยะสุดท้าย มีค่า 0.81-3.73 (จากระดับคะแนน 0-5) โดยพฤติกรรมที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยสุด 3 อันดับสุดท้าย ได้แก่ หาคนอื่นที่ไม่ได้ทำงานที่เดียวกับท่านคอยรับฟังหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วยของท่าน (X = 0.81, S.D. = 1.10) มีเพื่อนพยาบาลโอบกอด ลูบหลังเบา ๆ หรือให้การสนับสนุนด้านร่างกายอื่นๆ แก่ท่านหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วย (X = 0.92, S.D. = 1.26) และอนุญาตให้นักสังคมสงเคราะห์ หัวหน้าหอผู้ป่วย หรือผู้นำศาสนา (พระ) รับหน้าที่หลักในการดูแลครอบครัวที่กำลังโศกเศร้า (X = 1.38, S.D. = 1.44) 2.ค่าเฉลี่ยอุปสรรคในการดูแลระยะสุดท้าย มีค่า 2.08-3.92 (จากระดับคะแนน 0-5) โดยอุปสรรคที่มีคะแนนเฉลี่ยมากสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ข้อจำกัดที่จะให้ครอบครัวอยู่ในห้องฉุกเฉินระหว่างการปฏิบัติช่วยฟื้นคืนชีพ (X = 3.92, S.D. = 1.16) ถูกเรียกและต้องผละจากผู้ป่วยและครอบครัวเนื่องจากจำเป็นต้องช่วยเหลือผู้ป่วยรายใหม่ที่มาถึงหรือต้องไปช่วยเหลือพยาบาลอื่นในการดูแลผู้ป่วย (X = 3.77, S.D. = 1.36) และไม่ทราบความปรารถนาของผู้ป่วยเกี่ยวกับการยืดการรักษาและการตรวจต่างๆเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารได้เพราะสภาวะที่ระบบประสาทถูกกดหรือได้รับยากล่อมประสาท (X = 3.77, S.D. = 1.14)ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการดูแลระยะสุดท้ายที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)173.1 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract278.51 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
FULL.pdfFull IS3.39 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.