Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40013
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร.ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์ | - |
dc.contributor.author | จุฬารัตน์ สมประสงค์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-08-30T07:42:13Z | - |
dc.date.available | 2017-08-30T07:42:13Z | - |
dc.date.issued | 2558-10 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40013 | - |
dc.description.abstract | The study “The Process of Advocating Chiang Mai Metropolitan Bill of the Peaceful Homeland Network” aimed to 1) investigate and explain the origin, objectives, and concepts of the process of advocating Chiang Mai Metropolitan Bill of the Peaceful Homeland network, 2) explain and analyze the process of advocating Chiang Mai Metropolitan Bill of the Peaceful Homeland network, and 3) study and analyze the problems and obstacles of the process of advocating Chiang Mai Metropolitan Bill of the Peaceful Homeland network. In this qualitative research, the documentary research and in-depth interview methods were employed. There were three groups of participants: Peaceful Homeland network members, provincial and local officials, and local political leaders. The samples were chosen by convenience sampling and purposive sampling methods. Moreover, the data was analyzed by descriptive analysis and verified by triangulation analysis. The findings indicated that the Peaceful Homeland network was originated from local and national political conflicts caused by the centralized administration structure. Therefore, the Peaceful Homeland network was created to push forward the cooperation via the network, to propose the decentralized administration, and to advocate Chiang Mai Metropolitan Bill. The main points of the proposed Chiang Mai Metropolitan Bill included 1) the repeal of provincial administration and the proposal to have an election of a governor, 2) the change of a tax collection ratio between Chiang Mai Province and the Central to 70:30, and 3) the establishment of a citizen council to monitor the performances of the organizations in Chiang Mai. Moreover, the methods of advocating Chiang Mai Metropolitan Bill of the Peaceful Homeland network were symbolic expressions, and providing education and using law enforcement. In terms of problems and obstacles, it was found that the political obstacles were caused by the centralization of the political elites which affected the process of advocating Chiang Mai Metropolitan Bill. In addition, the provincial and local officials did not understand the methods and objectives of Peaceful Homeland network, and the people did not support or pay attention because they did not understand the Chiang Mai Metropolitan Bill details. Furthermore, it was found that the Peaceful Homeland network was unofficially created, there were few members, and they did not have funding. These affected the continuity of the activities and the creating of power and support from Chiang Mai people. Finally, it could be suggested that Peaceful Homeland network should rely on the participation of the people to create political supports and to change the concept of centralized administration. Also there should be a decentralization campaign in which people have more concrete roles in local administration to decrease the roles of political elites. The group should continually educate the people about the group’s objectives. Finally, the group should implement social movements focusing on academic roles, building recognition by open hearing, and participation of the people and provincial and local official in advocating Chiang Mai Metropolitan Bill. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การบริหารรัฐกิจ | en_US |
dc.title | กระบวนการผลักดันร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่ มหานครของกลุ่มเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น | en_US |
dc.title.alternative | The Process of Advocating Chiang Mai Metropolitan Bill of the Peaceful Homeland Network | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 351.1 | - |
thailis.controlvocab.thash | การบริหารรัฐกิจ -- เชียงใหม่ | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 351.1 จ492ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษา เรื่อง กระบวนการผลักดันร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานครของกลุ่มเครือข่าย บ้านชุ่มเมืองเย็น ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและอธิบายที่มา วัตถุประสงค์ แนวคิดและเป้าหมายของกลุ่มเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็นในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร 2) อธิบายและวิเคราะห์ถึงกระบวนการในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานครของกลุ่มเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น และ3) ศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อกระบวนการผลักดันร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานครของกลุ่มเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) โดยทำการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสมาชิกเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น กลุ่มข้าราชการส่วนภูมิภาคและพนักงานส่วนท้องถิ่น และกลุ่มผู้นำทางการเมืองในระดับท้องถิ่น โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวกของผู้วิจัย (Convenience Sampling) และสุ่มตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Purposive Sampling) ข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำมาวิเคราะห์แบบเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า (Triangulation Analysis) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็นเกิดจากกลุ่มคนที่เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นเกิดจากโครงสร้างการรวมศูนย์อำนาจการปกครองอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็นจึงเกิดขึ้นในฐานะกลุ่มผลักดันดำเนินการประสานความร่วมมือด้วยระบบเครือข่าย นำเสนอแนวคิดการกระจายอำนาจการปกครอง มีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานครให้สามารถออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร คือ 1) ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค และเสนอให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด 2) การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการจัดเก็บภาษีระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับส่วนกลางในสัดส่วน 70 : 30 และ 3) มีการจัดตั้งสภาพลเมืองเพื่อตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางและวิธีการในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานครของกลุ่มเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็นมีทั้งการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ การให้ความรู้ และการดำเนินการด้วยเครื่องมือทางกฎหมาย ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อกระบวนการผลักดันร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานครของกลุ่มเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น ได้แก่ 1. อุปสรรคทางการเมืองจากความคิดเรื่องการรวมศูนย์อำนาจของชนชั้นนำที่ส่งผลต่อกระบวนการในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร 2. ข้าราชการส่วนภูมิภาคและพนักงานส่วนท้องถิ่นยังไม่เข้าใจแนวทางและเป้าหมายของกลุ่มเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น 3. ประชาชนไม่ให้การสนับสนุนและความสนใจ เนื่องจากไม่มีความรู้ความเข้าใจรายละเอียดของ ร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร 4. กลุ่มเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็นเป็นการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ มีจำนวนสมาชิกน้อย และยังขาดงบประมาณสนับสนุนที่มีผลต่อการดำเนินกิจกรรมที่ต่อเนื่องและสร้างพลังสนับสนุนจากประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาคือ กลุ่มเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็นต้องอาศัยกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างพลังและแรงสนับสนุนทางการเมืองเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคิดและแนวทางการบริหารแบบรวมศูนย์ โดยเฉพาะการรณรงค์การกระจายอำนาจมาสู่ประชาชนให้ประชาชนมีบทบาทในการบริหารจัดการท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นเพื่อลดบทบาทของชนชั้นนำทางการเมือง โดยกลุ่มต้องให้ความรู้แก่ประชาชนถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการเคลื่อนไหวทางสังคมโดยเน้นบทบาททางวิชาการ สร้างการยอมรับด้วยการเปิดรับฟังความคิดเห็น การมีส่วนร่วมทั้งจากประชาชนและข้าราชการระดับภูมิภาคและท้องถิ่น ในการร่างข้อเสนอในร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานครร่วมกัน | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.doc | Abstract (words) | 202.5 kB | Microsoft Word | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 234.76 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
FULL.pdf | Full IS | 3.29 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.