Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40006
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอ.ดร.ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์-
dc.contributor.advisorผศ.ดร.ชูเกียรติ ชัยบูลย์ศรี-
dc.contributor.authorอรนันท์ คำสีen_US
dc.date.accessioned2017-08-30T07:22:24Z-
dc.date.available2017-08-30T07:22:24Z-
dc.date.issued2558-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40006-
dc.description.abstractThis research aims to study the structures of earnings and welfare in Thailand’s hotel industry. The research also tests the factors that affect these structures for presenting the ways to improve the labors of Thai hotel industry. There are 2 parts of data the researcher receives and the first data is about what the factor that affects the salary. The questionnaire is applied for this research with 1,024 data sets. The data are obtained by asking people who work in 3 to 5 stars hotels in 4 main travelling provinces, including Bangkok, Chiang Mai, Phuket, and Pattaya. Plus, this part of data is analyzed by using t-test. Secondly, the research is also analyzed by using OLS (Multiple Regression) and Tobit model from R Studio program to know what the factor that affects the structure of earning is. The research is analyzed with two variables, including the independent variable and controlled variable. The independent variable consists of wage, gender, age, education, marital status, working experience, working hours, the training, and the language use. Plus, the controlled variable includes type of work, and type of hotel. Moreover, the research is analyzed by interviewing general managers of 5 chosen hotels in Muang district, Chiang Mai for presenting the ways to improve the structures of earnings and welfare in Thailand’s hotel industry. The results reveal that there are several factors that affect the salary. First of all, the executive has the most effect on the salary since the executive has high education and working experience. Hence, the executive tends to have better opportunity to get promotion which lead to high salary. Secondly, the education is significant for hotel workers since the position they will get; it is regarded on their education. Therefore, every people who are a part of hotel industry have to have education. Furthermore, the third factor is the age. Hotels have rule about raising the salary of their employees in each year. Most employees who start working at young age tend to have higher salary that others due to their age of working and better working experience. Lastly, the variables which have no effect on the salary are the training and language use. However, the manager-interviews reveal that although the training and language use are not affects the salary directly, but they are still important for improving their institution. Due to Bangkok is the capital and also has higher cost of living than other provinces, the salary of hotel workers tend to be higher, as well. The rate of the salary for hotel workers in Bangkok is highest among all. The difference of salary is regarded by different location of hotel, too. Besides that, the type of working position is also related to the salary in the same way. Conversely, the customer service is related to the salary in opposite way. To illustrate, the customer service position got lesser rate of salary than the vocation position. Hotel workers also get different welfares including, uniform, food for hotel worker, social security, and the training.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแรงงานen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมโรงแรมen_US
dc.titleการวิเคราะห์ผลตอบแทนและสวัสดิการของแรงงานในอุตสาหกรรมโรงแรมไทยen_US
dc.title.alternativeAn Analysis of Earnings and Welfare in Thailand’s Hotel Industryen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc331.21-
thailis.controlvocab.thashแรงงาน -- ไทย-
thailis.controlvocab.thashสวัสดิการลูกจ้าง-
thailis.controlvocab.thashอุตสาหกรรมโรงแรม-
thailis.manuscript.callnumberว 331.21 อ175ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractในการศึกษาการวิเคราะห์ผลตอบแทนและสวัสดิการของแรงงานในอุตสาหกรรมโรงแรมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้าง และองค์ประกอบของผลตอบแทน และสวัสดิการแรงงานในอุตสาหกรรมโรงแรมไทย รวมไปถึงการทดสอบปัจจัยที่มีผลต่อโครงสร้างค่าตอบแทน เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาแรงงานในอุตสาหกรรมโรงแรมไทย ข้อมูลที่ได้มาจาก 2 ส่วน ส่วนแรกได้จากการทดสอบปัจจัยที่มีผลต่อค่าจ้าง (ในส่วนของเงินเดือน) ของแรงงานในอุตสาหกรรมโรงแรมไทยจากการเก็บแบบสอบถามพนักงานโรงแรมใน 4 จังหวัด ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวหลัก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต และพัทยา จำนวน 1,024 ชุด โดยทำการสอบถามพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงแรมที่มีมาตรฐานโรงแรมระดับ 3 ดาวถึงระดับ 5 ดาว วิเคราะห์ด้วยวิธีการทดสอบแบบ t-test จากนั้นทำการทดสอบปัจจัยที่มีผลต่อโครงสร้างค่าตอบแทน โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยวิธี OLS (Multiple Regression) และ Tobit model จากโปรแกรม R Studio โดยมีตัวแปรต้น คือ ค่าจ้าง ตัวแปรอิสระ คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส ประสบการณ์ทำงาน ชั่วโมงในการทำงาน การฝึกอบรม ภาษา และตัวแปรควบคุม คือ ลักษณะงาน ลักษณะโรงแรม และวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์ผู้จัดการโรงแรมทั่วไป (GM – General Manager) จำนวน 5 โรงแรม โดยผู้วิจัยได้ทำการเลือกโรงแรมที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นตัวแทนสัมภาษณ์ในเมืองท่องเที่ยวหลัก เนื่องด้วยการเข้าถึงข้อมูล เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างและองค์ประกอบของผลตอบแทนต่อแรงงานในอุตสาหกรรมโรงแรมไทย ผลการศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ผลตอบแทนและสวัสดิการของแรงงานในอุตสาหกรรมโรงแรมไทย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าจ้างประกอบไปด้วย ส่วนของข้อมูลทั่วไป ระดับผู้บริหารมีผลต่ออัตราค่าจ้างมากที่สุด เนื่องด้วยผู้บริหารต้องมีการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานที่มาก จะมีโอกาสในการเลื่อนตำแหน่งงาน ส่งผลให้มีค่าจ้างที่สูง ส่วนของการศึกษา การศึกษาถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของพนักงานโรงแรมว่า มีความเหมาะสมในตำแหน่งงานลักษณะใด ดังนั้นพนักงานทุกคนจึงจำเป็นต้องมีการศึกษา ส่วนของอายุของแรงงาน เนื่องจากทางโรงแรมมีการปรับอัตราค่าตอบแทนของพนักงานเพิ่มขึ้นในแต่ละปี พนักงานส่วนใหญ่ที่มีอายุน้อยที่เริ่มทำงานกับโรงแรม จึงมีผลต่ออัตราค่าตอบแทนมากที่สุด ดังนั้น เมื่ออายุของแรงงานที่มากขึ้นประสบการณ์ในการทำงานก็มากขึ้น ทำให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น ส่วนของตัวแปรที่ไม่มีอิทธิผลต่ออัตราค่าตอบแทนโดยตรง คือ การอบรม และภาษา พบว่า จากการสัมภาษณ์ผู้จัดการโรงแรมทั่วไป การอบรมและภาษาถึงแม้ว่าจะไม่มีอิทธิผลต่ออัตราค่าตอบแทนโดยตรง แต่มีความสำคัญในระดับหนึ่งสำหรับการพัฒนาองค์กรด้วยเช่นกัน ส่วนของที่ตั้งของโรงแรม เนื่องด้วยกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง และมีค่าครองชีพที่สูงเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ ค่าตอบแทนของพนักงานโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานครจึงต้องสูงกว่าที่จังหวัดอื่น โดยกรุงเทพมหานครจะมีอัตราค่าตอบแทนของพนักงานโรงแรมมากที่สุด ที่ตั้งของโรงแรมต่างกัน ค่าตอบแทนจะไม่เท่ากัน ส่วนของลักษณะงานด้านวิชาชีพมีความสัมพันธ์กับอัตราค่าตอบแทนในทิศทางเดียวกัน และลักษณะงานด้านการบริการมีความสัมพันธ์กับอัตราค่าตอบแทนในทิศทางตรงกันข้าม นั่นคือ ลักษณะงานด้านการบริการจะได้อัตราค่าตอบแทนน้อยกว่าลักษณะงานด้านวิชาชีพ และส่วนของสวัสดิการสำหรับพนักงานของโรงแรมจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย ชุดยูนิฟอร์ม อาหารสำหรับพนักงาน ประกันสังคม และจัดการอบรมen_US
Appears in Collections:ECON: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2Abstract.docxAbstract (words)199.67 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 249.71 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.