Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40003
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์ สริตา ธีระวัฒน์สกุล | - |
dc.contributor.author | พิรุณลักษณ์ วงวรรณ | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-08-25T08:00:39Z | - |
dc.date.available | 2017-08-25T08:00:39Z | - |
dc.date.issued | 2557-09-15 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40003 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this descriptive study were to examine the risk of stroke, the knowledge on its risk factors, and its warning signs, as well as to compare the knowledge between different risk groups. The sample group consisted of 239 patients receiving treatment at the hypertension and diabetes clinic, Ban Huay Boh Tong sub-district health promotional hospital, Maepong Sub-district, Doi Saket district, Chiang Mai Province. The data were collected by means of an interview, a questionnaire on risk factors and warning signs of stroke, and the color chart risk assessment form approved by the Ministry of Public Health. The analysis utilized descriptive statistics, independent T-test, and Chi-Square test. The results showed that a majority (70.3 percent) of the sample group were female. Of the sample group, 41.4 percent were hypertension, 8.8 percent were afflicted with diabetes, and the remaining display co-morbidity between hypertension, diabetes, and hypercholesterolemia. Additionally, 5.9 percent smoke, 13 percent drank alcohol occasionally, 1.3 percent drank daily, 46 percent were overweight and obese, and 28 percent had experienced transient ischemic attack. The stroke risk assessment for the next ten years found no samples with hazardous risk level. Samples with very high, high, and medium risk levels were found in 0.4 percent, 1.3 percent, and 8.3 percent respectively. A majority (90 percent) of the samples had low risk. The sample group averages the score of 7.75 out of 12 (SD ± 3.65) or 64.58 percent for the stroke risk factor knowledge test, with the correct answer ratio per item at 32-83 percent. As for the stroke warning signs test, the group averages 4.14 out of 10 (SD ± 2.21) or 41.40 percent, with the correct answer ratio per item of 8-78 percent. No significant difference was found between the low risk groups and medium to high risk groups in their levels of knowledge of stroke risk factors and warning signs. The results demonstrate that regardless of risk level, the sample group exhibits low level of knowledge of stroke risk factors and warning signs. Even though a majority of the sample group have low risk of stroke, 28 percent of them have had transient ischemic attack. It is, therefore, necessary for those concerned to improve upon surveillance and education on stroke in order to provide an effective solution to the problem. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ความเสี่ยงและอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Stroke Risk and Warning Signs in Patients with Chronic Disease, Maepong Sub-district, Doi Saket District, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 616.81 | - |
thailis.controlvocab.thash | หลอดเลือดสมอง -- โรค -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | หลอดเลือดสมอง -- โรค -- ผู้ป่วย | - |
thailis.controlvocab.thash | หลอดเลือดสมอง -- โรค | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 616.81 พ374ค | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง รวมทั้งเปรียบเทียบความรู้ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจำนวน 239 คน ที่มารับบริการคลินิกโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยบ่อทอง ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง และแบบประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ตารางสี (Color Chart) ของกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบ Independent T- test และ Chi-Square test ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.3 เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 41.4 เบาหวาน ร้อยละ 8.8 ที่เหลือเป็นผู้ป่วยที่มีโรคร่วมระหว่างความดันโลหิตสูง เบาหวาน และภาวะไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยยังคงสูบบุหรี่ ร้อยละ 5.9 ดื่มสุราเป็นครั้งคราว ร้อยละ 13 และดื่มทุกวันร้อยละ 1.3 มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ร้อยละ 46 อีกทั้งยังพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้เคยมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ถึงร้อยละ 28.0 ผลการประเมินโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ใน 10 ปีข้างหน้า ไม่พบผู้ที่มีความเสี่ยงในระดับสูงอันตราย ส่วนความเสี่ยงระดับสูงมาก ระดับสูง และระดับปานกลางพบเพียง ร้อยละ 0.4 1.3 และ 8.3 ตามลำดับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเสี่ยงระดับต่ำ พบร้อยละ 90.0 คะแนนความรู้เกี่ยวกับ ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มตัวอย่าง คิดเป็นค่าเฉลี่ย 7.75 (SD ± 3.65) จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 64.58 โดยมีสัดส่วนของการตอบถูกรายข้อระหว่างร้อยละ 32 -8 3 ส่วนคะแนนความรู้เกี่ยวกับอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองคิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.14 (SD ± 2.21) จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนหรือคิดเป็น ร้อยละ 41.40 และมีสัดส่วนของการตอบถูกรายข้อ คิดเป็นร้อยละ 8-78 เท่านั้น อีกทั้งไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ในกลุ่มตัวอย่างที่ความเสี่ยงระดับต่ำ และความเสี่ยงระดับปานกลางถึงสูง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ไม่ว่ากลุ่มตัวอย่างจะมีความเสี่ยงระดับใด ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองมีค่อนข้างต่ำ แม้พบว่ากลุ่มตัวอย่างความเสี่ยงระดับต่ำ แต่กลับพบผู้ที่เคยมีอาการภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวสูงถึงร้อยละ 28 การเฝ้าระวังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและการให้ความรู้ที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องควรนำไปพิจารณาหามาตรการในการแก้ไขปัญหาต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | GRAD-Health Sciences: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 302.07 kB | Adobe PDF | View/Open |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 301.21 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 573.6 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 181.78 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 605.56 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 284.6 kB | Adobe PDF | View/Open |
CONTENT.pdf | CONTENT | 265.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
COVER.pdf | COVER | 686.04 kB | Adobe PDF | View/Open |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 422.71 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.