Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40001
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผศ.ดร. อรรถพล สมุทคุปติ์ | - |
dc.contributor.author | อภิญญา ธาตุอินจันทร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-08-25T07:57:48Z | - |
dc.date.available | 2017-08-25T07:57:48Z | - |
dc.date.issued | 2557-08-28 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/40001 | - |
dc.description.abstract | The purposes of this study were to study the inventory management for spare parts in Furama chiangmai hotel, and to design the new layout of these spare parts. This study was conducted by interviewing Chief Engineer and a staff who responsible for spare parts inventory. The results found that each departments face with inventory management and stock management problem which lead to information analysis each type of store inventory and in the right quantities. Lack of document spectating. Add storage and inventory costs are standard. Standard storage and distribution. From the above problems, we proposed the ABC Classification and inventory Control System for 131 types of spare parts. The results were for type A, there were 8 types of spare parts in this class which the usage value of the spare parts was 26,656 baht, and this type can apply the fixed interval time system. For type B, there was 11 types of spare parts in the class which the usage value of spare parts was 4,583.50 baht and type C, there was 24 types of spare parts in this class which the usage value of spare parts was 1,529.25 baht and B, C types can use the Two Bin System. And Dead Stock was the spare parts that never been used over the period, but still kept in the inventory. For resolving operation problems, each departments designed the specific storage area, also identified in the chart storage and include the goods indicator. Result of improved, Chief Engineer can easily place their inventory, reduce the amount of inventory storage. To achieve cost reduction, inventory management. To reduce the cost of inventory management. By comparing the budget of old style with new style of managing material. We found that the new system can reduce the cost for 78.17% or 77,876.48 baht. The problem lacking of record the repair order documentation and department operational report. As the department never record the repair order documentation, the solution is design a template of document to help each department to coordinate, tracking result, collecting data and analyze data to easily control inventory also fast and accurate. In addition, a training and design a written order to reduce errors in purchasing. For the layout storage inventory. Presently, the inventory storage and management of the factory is not appropriate. The inventory placement is mixing the old and new stuff at the same place which it’s hard to find. There for to make it’s easier to find first group up the inventory and clean all the stuff before plan up the storage place. Second, calculating the storage area to match with each stuff size and also calculating the speed of transportation. Finally, technician department will apply to their work by follow the plan from the above. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | โรงแรมฟูราม่า | en_US |
dc.title | การบริหารจัดการวัสดุคงคลังประเภทอะไหล่ กรณีศึกษา โรงแรมฟูราม่า เชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Management of Spare Parts Inventory: A Case Study of Furama Chiangmai Hotel | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 658.787 | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงแรมฟูราม่า | - |
thailis.controlvocab.thash | การควบคุมสินค้าคงคลัง -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | การจัดการวัสดุ | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 658.787 อ163ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสินค้าคงคลังของโรงแรมฟูราม่า และเพื่อจัดวางผังการจัดเก็บในคลังสินค้าให้เหมาะสม จากการศึกษาระบบการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และการสัมภาษณ์หัวหน้าแผนกช่างและพนักงานปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับวัสดุคงคลังประเภทอะไหล่ ผลการศึกษาพบว่าทางแผนกประสบปัญหาระบบการจัดเก็บการปฏิบัติงาน และการควบคุมวัสดุคงคลัง ส่งผลให้ดำเนินการบริหารจัดการ วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บวัสดุคงคลังแต่ละประเภทและในปริมาณที่เหมาะสม ขาดระบบเอกสารในการปฏิบัติงานตรวจรับ จัดเก็บและหยิบจ่ายวัสดุคงคลังที่เป็นมาตรฐาน จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ได้เสนอแนวทางในการแก้ปัญหาโดยแบ่งประเภทวัสดุคงคลังเป็น 3 กลุ่มตามหลักการ ABC และได้นำเสนอแนวทางในการควบคุมวัสดุคงคลังประเภทอะไหล่แต่ละประเภท มีผลการศึกษาดังนี้คือ ประเภท A มีวัสดุคงคลังอยู่ 8 ชนิด มีมูลค่าสูงสุดประมาณ 80% ของมูลค่าวัสดุคงคลังทั้งหมด หรือ 26,656 บาท ซึ่งใช้ระบบการควบคุมคงคลังคือระบบควบคุมการสั่งซื้อระยะเวลาคงที่ วัสดุคงคลังประเภท B มีวัสดุคงคลังอยู่ 11 ชนิด มีมูลค่าสูงสุดประมาณ 15% ของมูลค่าวัสดุคงคลังทั้งหมด หรือ 4,583.50 บาท และวัสดุคงคลังประเภท C มีวัสดุคงคลังอยู่ 24 ชนิด มีมูลค่าสูงสุดประมาณ 5% ของมูลค่าวัสดุคงคลังทั้งหมด หรือ 1,529.25 บาท ใช้ระบบสองตะกร้า และประเภทสุดท้ายที่ไม่มีการเบิกใช้คือ อะไหล่ที่ไม่มีการเบิกใช้ในรอบการวิเคราะห์แต่ยังมีเก็บไว้ในคลังสินค้า สำหรับการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน ทางแผนกกำหนดพื้นที่ของการจัดเก็บวัสดุคงคลังที่แน่นอน อีกทั้งให้มีการระบุในผังการจัดเก็บ และทำป้ายบ่งบอกตำแหน่งของสินค้า เพื่อให้พนักงานปฎิบัติการที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลของการปรับปรุงระบบ หัวหน้าแผนกช่างสามารถจัดวางวัสดุคงคลังให้มีระเบียบมากขึ้นหยิบจ่ายได้ง่ายขึ้น ลดปริมาณการจัดเก็บวัสดุคงคลังที่มากเกินไป เพื่อให้เกิดต้นทุนในการบริหารจัดการวัสดุคงคลังลดลง โดยเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการจัดเก็บวัสดุคงคลังแบบเดิมกับรูปแบบการบริหารจัดการวัสดุคงคลังแบบใหม่ พบว่าลดต้นทุนการจัดเก็บวัสดุคงคลังได้ 78.17% หรือ 77,876.48 บาท ส่วนปัญหาถัดมาของการขาดระบบเอกสารในการบันทึกการแจ้งซ่อมเพื่อการควบคุมและการรายงานผลการดำเนินงานของแผนก เนื่องจากทางแผนกไม่เคยมีการจดบันทึกรายการแจ้งซ่อมในแต่ละวัน ซึ่งในการแก้ไขปัญหาได้มีการออกแบบระบบเอกสารใหม่เพื่อใช้ในคลังสินค้า คือ รายการการแจ้งซ่อม เอกสารที่ถูกออกแบบมาใหม่นี้จะช่วยให้ทางแผนกช่างสามารถการประสานงาน ติดตามผล เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อควบคุมวัสดุคงคลังได้ง่ายขึ้น ถูกต้องและรวดเร็ว นอกจากนี้ได้มีการอบรมและออกแบบวิธีการเขียนใบสั่งซื้อเพื่อลดข้อผิดพลาดในการซื้อสินค้า สำหรับการวางผังการจัดเก็บวัสดุคงคลัง จากสภาพการจัดเก็บวัสดุคงคลังในปัจจุบันของโรงงานยังไม่เหมาะสมในเรื่องการจัดเก็บและการดูแลรักษา การจัดวางวัสดุคงคลังปะปนกันทั้งอะไหล่เก่าและใหม่ ไม่มีระเบียบ และยากต่อการค้นหา หยิบจ่ายวัสดุคงคลัง โดยทางแผนกช่างจัดทำกิจกรรม 5 ส ในการสะสางวัสดุคงคลังให้เป็นหมดหมู่เพื่อความสะดวก สะอาดของพื้นที่ทำงาน ก่อนทำการวางผังการจัดเก็บ จากนั้นคำนวณขนาดพื้นที่ของการจัดเก็บในแต่ละตู้วางและของวัสดุคงคลังแต่ละชนิดให้เหมาะสม แล้วจึงทำการวางผัง โดยใช้หลักการสงวนเนื้อที่ หลักการความรวดเร็วในการขนย้าย หลักการความมั่นคง หลักการความเป็นระเบียบ ซึ่งผังการจัดเก็บวัสดุคงคลังใหม่นี้ทางแผนกช่างจะนำไปปรับใช้ต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | ENG: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 207.14 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
APPENDIX 1.pdf | APPENDIX 1 | 221.32 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
APPENDIX 2.pdf | APPENDIX 2 | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
APPENDIX 3.pdf | APPENDIX 3 | 218.19 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
APPENDIX 4.pdf | APPENDIX 4 | 637.69 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 232.16 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 395.72 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 245.57 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 2.88 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 209.29 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
CONTENT.pdf | CONTENT | 241.25 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
COVER.pdf | COVER | 537.97 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 213.25 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.