Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39993
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์สมศักดิ์ เกี่ยวกิ่งแก้ว-
dc.contributor.authorพจนา ธรรมโคร่งen_US
dc.date.accessioned2017-08-25T07:24:37Z-
dc.date.available2017-08-25T07:24:37Z-
dc.date.issued2557-09-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39993-
dc.description.abstractThe study “Problem of Labor Mobility of Electronic Industries Engineer in Lamphun Industrial Estate During 2554-2556 B.E.” aimed to investigate the problems of labor mobility of electronic industries engineer in Lamphun Industrial Estate during 2554-2556 B.E. and to examine the push and pull factors in the decisions to mobilize the labors of electronic industries engineer in Lamphun Industrial Estate. The data collection method used was a questionnaire survey. The samples were 180 engineers in Lamphun Industrial Estate during 2554-2556 B.E. In addition, 3 officials who were responsible for exporting labors were interviewed. From the analysis of the data, it was found that the overall problem to work overseas of the engineers in Lamphun Industrial Estate during 2554-2556 B.E. was at an average level. The main pull factors affecting the decisions to work overseas of the engineers were the income and rewards. Furthermore, the push factors was the low income in the country. Moreover, the main reason the engineers did not work overseas was the language and communication problem. In terms of their expectations in the labor mobility in the future, these engineer had high expectations on the roles of the government, private sectors, and related organizations concerning the supporting staff, processes, service processes, official buildings, and facilities providing the services. These engineers expected the government to support the export of the labors to decrease the possibilities in committing the offences of the recruitment agencies. Also they expected the government to investigate the performances of the labors up until their return to the country in order to solve the problems and for improvement. Therefore, it could be suggested that in terms of policies, the government, private sectors, and related organizations of labor mobility of electronic industries engineer in Lamphun Industrial Estate should cooperate in the labor exporting processes in accordance with the laws. Also local networks should be established to coordinate the news and information concerning the labor situations. In addition, there should be trainings for employers, entrepreneurs, and employers on language and communication as well as language proficiency tests for the labors before going overseas. The government should also implement measures to find fund sources with low interest for the labors who want to make a loan to go overseas in order to decrease any possible problems and high interest. Finally, the government should support professionals to work overseas. At the same time the government should have a systematic management to prevent an overwhelm number of labors or a lack of labors in the country in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแรงงานen_US
dc.titleปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานวิศวกรของโรงงานอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน ในช่วง พ.ศ. 2554 -2556en_US
dc.title.alternativeProblem of Labor Mobility of Electronic Industries Engineer in Lamphun Industrial Estate During 2554-2556 B.E.en_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc331.127-
thailis.controlvocab.thashการเคลื่อนย้ายแรงงาน -- ลำพูน-
thailis.controlvocab.thashแรงงาน-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 331.127 พ125ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง ปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานวิศวกรของโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน ในช่วง พ.ศ.2554-2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน รวมถึงศึกษาปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูด ในการตัดสินใจเคลื่อนย้ายแรงงานของวิศวกร โรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน พ.ศ.2554-2556 การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วย วิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน จำนวน 180 คน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ จำนวน 3 คน โดยการสัมภาษณ์ ผลการศึกษา พบว่า สภาพปัญหาการเดินทางไปทำงานต่างประเทศของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน พ.ศ.2554-2556 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางไปทำงานของวิศวกรส่วนใหญ่มาจากปัจจัยดึงดูดที่สำคัญคือ รายได้และผลตอบแทน ด้านปัจจัยผลักดัน ได้แก่ ระดับค่าจ้างในประเทศต่ำ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มวิศวกรที่ไม่เดินทางไปต่างประเทศเนื่องจากมีปัญหาด้าน ภาษาต่างประเทศ และการสื่อสาร และเมื่อพิจารณาถึงความคาดหวังสำหรับการเดินทางในอนาคต พบว่า วิศวกรมีความคาดหวังมากที่สุดเกี่ยวกับบทบาทของรัฐ เอกชน ตลอดจน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ ด้านอาคารสถานที่ หรือ อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานและด้านการให้บริการ นอกจากนี้วิศวกรคาดหวังว่าอยากให้รัฐบาลมีการส่งเสริมแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อลดช่องว่างในการกระทำความผิดของนายหน้าจัดหางาน และให้รัฐช่วยสอดส่องดูแล ดำเนินการติดตามผลการทำงานของแรงงานจนกระทั่งเดินทางกลับเข้ามาในประเทศ เพื่อนำปัญหาที่ได้มาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานวิศวกรของโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน โดยให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกันในการจัดส่งแรงงานไปทำงานอย่างประเทศตามขั้นตอนอย่างถูกกฎหมาย รวมถึงควรจัดตั้งหน่วยงานเครือข่ายระดับท้องถิ่น เพื่อติดต่อประสานงาน สร้างเครือข่ายในการกระจายข่าวสารข้อมูลและสถานการณ์ด้านแรงงาน มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่นายจ้างหรือผู้ประกอบการและแรงงานทางด้านภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร มีการวัดระดับภาษาของแรงงานก่อนการเดินทางไปทำงาน เพื่อลดปัญหาข้อผิดพลาดในการทำงาน รัฐบาลควรมีมาตรการในการหาแหล่งเงินทุนที่น่าเชื่อถือ ดอกเบี้ยต่ำ ให้กับแรงงานที่ต้องการกู้ยืมเงินในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อลดภาระในการกู้หนี้ยืมเงินจากสถาบันการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง นอกจากนี้รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการส่งแรงงานกลุ่มวิชาชีพไปทำงานในต่างประเทศ มากขึ้น ขณะเดียวกันรัฐบาลควรมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันปัญหาแรงงานล้นประเทศหรือปัญหาการขาดแคลนแรงงานภายในประเทศในอนาคตด้วยen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdf ABSTRACT190.63 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdf APPENDIX386.92 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1326.98 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdf CHAPTER 2310.79 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 3351.75 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 4658.67 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdf CHAPTER 5459.25 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdf CONTENT247.98 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER459.23 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdf REFERENCE183.72 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.