Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39992
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร.รัชนีกร ทองสุขดี-
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร ชินชัย-
dc.contributor.authorชมพูนุช สมจันทร์en_US
dc.date.accessioned2017-08-25T07:22:57Z-
dc.date.available2017-08-25T07:22:57Z-
dc.date.issued2557-01-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39992-
dc.description.abstractThe purposes of this independent study were to 1) investigate the result of provision of inclusive education using SEAT framework of Wachirawit School and 2) examine the suggestions and how to manage the inclusive education using SEAT framework by using participatory action research process. The sample included 6 students with special needs and 10 students without special needs, four school administrators, 16 teachers, and six parents with students with special needs. Data were collected during the first and the second semester of the 2012 academic year by both quantitative and qualitative research procedure. The measuring-instruments included the participated and non-participated observing forms and questionnaires for teachers and students. The results were as follows: S : Students: Before the study, the school did not have the students screening and accepted the students with special needs to study full time with students without special needs in which the school had not prepared for the readiness in academic, emotional, social and self-reliance aspects for special need students. Moreover, students with special needs still lacked of knowledge and understandings so they have not yet helped or to contacted appropriately with their friends with special needs. After the study, it was found that there were the readiness preparation in academic, emotional, social and peer assistant system so that most of the students were aware in giving helps and could appropriately adapted themselves to their friends with special needs. There were teaching of skills that appropriate in helping friends with special needs and students with special needs were advised in self-reliance. E : Environment: Before the study, people related to the students’ environment including parents, teachers and other supporting educational personnel in the school lacked of knowledge and could not help students with special needs in a effective way. After the study, having had the planning conferences with people who were related to inclusive education, it was found that the administrators were aware of and became supportives while others had more knowledge and understandings about inclusive education. A : Activities: Before the study, teachers and administrators did not know how to manage the inclusive education for student with special needs. After the study, the result was that the teachers taught with student-centered instruction, used varieties of teaching methods, taught from easy lessons to more difficult lessons, buddy system, teaching homework and reading books for the children and designing timetable for remedial teachings including evening classes and special classes. T : Tools: Before the study, the school had no policies, visions nor missions which designated the working directions about students with special needs in the inclusive education. After the study, it was found that the school designated the working directions using SEAT framework for teachers and educational personnel in the school as in the following semester. There were a committee which composed of the academic assistant to the director and others in testing and choosing students by interviewing the parents and the students before the application in order to do the primary screening. Other than that, the school had given budget to encourage teachers to attend seminars about special education and some occasions the school invited special speakers to give lectures to teachers and parents about how to take care of the students with special needs.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโรงเรียนวชิรวิทย์en_US
dc.titleการจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีทของโรงเรียนวชิรวิทย์ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeProvision of Inclusive Education Using SEAT Framework at Wachirawit School, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc371.9046-
thailis.controlvocab.thashโรงเรียนวชิรวิทย์-
thailis.controlvocab.thashโรงเรียน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการศึกษาพิเศษ-
thailis.controlvocab.thashการเรียนร่วมของเด็กพิเศษ-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 371.9046 ช166ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีทของโรงเรียนวชิรวิทย์ จังหวัดเชียงใหม่ และ 2.) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ และแนวทางการจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีทของโรงเรียนวชิรวิทย์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ถึง ภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2555โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกต่าง ๆ เพื่อสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และแบบสอบถามสำหรับครู และนักเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เรียนที่มีความต้องพิเศษ 6 คน ผู้เรียนทั่วไป 10 คน ผู้บริหาร 4 คน ครู 16 คน และผู้ปกครอง 6 คน ผลการศึกษาที่ได้มีดังนี้ ด้านนักเรียน (S : Students) ก่อนทำการศึกษาโรงเรียนยังไม่ได้มีการคัดครองปัญหาด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนและได้รับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมในโรงเรียนเต็มเวลา ซึ่งโรงเรียนยังไม่มีการเตรียมความพร้อมในด้านวิชาการ อารมณ์และสังคม และการช่วยเหลือตนเองสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ รวมทั้งผู้เรียนทั่วไปก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่สามารถช่วยเหลือ และปฏิบัติต่อเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษได้อย่างถูกวิธี หลังจากทำการศึกษาพบว่ามีการปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการด้านอารมณ์ ด้านสังคม ระบบเพื่อนช่วยเพื่อนในห้องเรียนให้ผู้เรียนส่วนใหญ่ในห้องเรียนมีความตระหนักในการช่วยเหลือ และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมต่อเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษ มีการสอนทักษะการช่วยเหลือเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้รับการแนะนำชี้แจงเป็นพิเศษในการช่วยเหลือตนเอง ด้านสภาพแวดล้อม (E : Environment) ก่อนทำการศึกษาบุคคลที่เกี่ยวข้องใน สภาพแวดล้อมของผู้เรียนที่มีความต้องพิเศษ ได้แก่ ผู้ปกครอง ครู รวมถึงบุคลากรสนับสนุนทางการศึกษาในโรงเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจไม่สามารถช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ได้อย่างถูกวิธี หลังจากทำการศึกษาโดยได้มีการประชุมวางแผนงานร่วมกันของบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนร่วม พบว่าด้านผู้บริหารมีความตระหนัก และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ บุคลากรที่เกี่ยวข้องการจัดการเรียนร่วม มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น ด้านกิจกรรมการเรียนสอน (A : Activities) ก่อนทำการศึกษาครูและผู้บริหาร ไม่ทราบถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมในโรงเรียน หลังจากทำการศึกษาโดยการจัดให้ความรู้แก่ครู ผู้เรียนทั่วไป และผู้เรียนที่มีความต้องการจำพิเศษ พบว่า ครูมีการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดการเรียน การสอนที่หลากหลาย สอนจากง่ายไปยาก โดยใช้เทคนิคการสอน ได้แก่ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน และกิจกรรมช่วยสอนการบ้านและอ่านหนังสือให้ลูกฟัง รวมทั้งได้มีการจัดตารางเวลาให้บริการสอนเสริม ได้แก่ กิจกรรมสอนเสริมตอนเย็น และกิจกรรมห้องเรียนพิเศษ ด้านเครื่องมือ (T : Tools) ก่อนทำการศึกษาโรงเรียนยังไม่มีนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมในโรงเรียน หลังจากทำการศึกษาพบว่า โรงเรียนมีการกำหนดทิศทางในการปฏิบัติงานให้ครู และบุคลากรสนับสนุนทางการศึกษาในโรงเรียน โดยในการรับผู้เรียนเข้ามาศึกษาในภาคเรียนต่อมาโรงเรียนได้กำหนดให้มีการแต่งตั้งรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและคณะ เป็นผู้คัดเลือกสอบสัมภาษณ์ผู้ปกครองและผู้เรียนก่อนการสมัครเรียน เพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้นรวมถึงโรงเรียน ได้มีการสนับสนุน โดยการจัดสรรงบประมาณส่งเสริมให้บุคลากรครูได้ไปทำการอบรมสัมมนาเรื่องผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ และในบางโอกาสโรงเรียนได้เชิญวิทยากรพิเศษมาให้ความรู้ แก่ครู ผู้ปกครอง ในเรื่องการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ แต่ยังไม่มีการผลิตสื่อ หรือวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT245.98 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdf APPENDIX657.09 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdf CHAPTER 1298.63 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2559.72 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3335.96 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 4830.19 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdf CHAPTER 5281.82 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdf CONTENT247.68 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER630.71 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdf REFERENCE329.54 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.