Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39984
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. อุดมโชค อาษาวิมลกิจ-
dc.contributor.authorประภาวิณี เป็งนาคen_US
dc.date.accessioned2017-08-25T04:30:42Z-
dc.date.available2017-08-25T04:30:42Z-
dc.date.issued2557-09-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39984-
dc.description.abstractThis research was Administrative Efficiency of Administrative Committees in Mae Hong Son Subdistrict Administrative Organizations. The objectives of this study were 1) to study the administrative efficiency of administrative committees of Subdistrict Administrative Organizations in Mae Hong Son Province 2) to study the level of knowledge and understanding about the administration of Administrative Committees of Subdistrict Administrative Organizations in Mae Hong Son Province 3) to study the management of various mission of Administrative Committees of Subdistrict Administrative Organizations in Mae Hong Son Province 4) to study the educational background and the duration of holding position that affect the administrative efficiency of Administrative Committees of Subdistrict Administrative Organizations in Mae Hong Son Province. The samples of this study were 126 administrative committees of Subdistrict Administrative Organizations (SAO) in Mae Hong Son Province that consisted of 1 Chief Executive and 2 Deputies Chief Executive of each Subdistrict Administrative Organization (SAO). 114 questionnaires were returned by the respondents (90.47%). A research instrument was a questionnaire which was divided into 3 parts; 1) general information of respondents 2) knowledge and understanding about various management processes of Administrative Committees in Subdistrict Administrative Organization (SAO) 3) the result of Assessment of Standards Performance Inspection By A Local Administrative Organization in B.E. 2556. Data were analyzed by using the computer program. Statistical analyses used in research were Frequency, Percentage, Pearson Correlation Coefficient, and One-way ANOVA. This study found that most respondents were Chief Executive of the SAO (19.30 %), First Deputy Chief Executive of the SAO (43.00 %), and Second Deputy Chief Executive of the SAO (37.70 %). The educational backgrounds of respondents were bachelor degree (46.50 %), diploma or equivalent (39.50 %), postgraduate (8.80 %), and high school diploma or equivalent (5.30 %), respectively. None of the respondent with less than high school diploma or equivalent. The duration of holding position were 2-3 years (30.70 %), 3-4 years (24.60 %), 1-2 years (24.60 %), less than 1 year (13.20 %), and more than 4 years (7.00 %), respectively. Sizes of Subdistrict Administrative Organizaion (SAO) were moderate organization (86.80 %), small organization (13.20 %), and large organization (0.00 %), respectively. Part of knowledge and understanding about the administration of Administrative Committees of Subdistrict Administrative Organizations (SAO) in Mae Hong Son Province found that respondents had 28 points in overview by most Administrative Committees had knowledge and understanding of administration at a fair level. When considering the main correct answers found that they had knowledge and understanding about budget management at a high level (89.80 %) and human resource management at a low level (24.60 %). Part of administrative efficiency of Subdistrict Administrative Organizations (SAO) in Mae Hong Son Province was in a high level (77.45 %) in overview. When considering in each aspect found that the administrative efficiency that had the most success at a high level was management (81.87 %), financial and fiscal management (79.18 %), and public service (76.45 %), respectively. Furthermore, the administrative efficiency that performed at a fair level was personnel management and council affairs (72.28 %). The analysis of relation between knowledge and understanding of management and administrative efficiency by using Pearson Correlation Coefficient found that there were no relations between those two aspects. The comparativeness between administrative efficiency of Administrative Committees of Subdistrict Administrative Organizations (SAO) in various parts and the educational background found that Administrative Committees with the different levels of education had no difference of administrative efficiency. But the duration of holding position found that administrative efficiency of Administrative Committees of Subdistrict Administrative Organizations (SAO) with different period of holding position had the difference of administrative efficiency.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการปกครองท้องถิ่นen_US
dc.titleประสิทธิภาพการบริหารงานของคณะผู้บริหารองค์การบริหาร ส่วนตำบลในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeAdministrative Efficiency of Administrative Committees in Mae Hong Son Subdistrict Administrative Organizationsen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc352.14-
thailis.controlvocab.thashองค์การบริหารส่วนตำบล -- แม่ฮ่องสอน-
thailis.controlvocab.thashการปกครองท้องถิ่น -- การบริหาร-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 352.14 ป17116ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง ประสิทธิภาพการบริหารงานของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาว่าการบริหารงานของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ 2) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารงานของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3) ศึกษาการบริหารงานในภารกิจด้านต่างๆของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน 4) ศึกษาถึงวุฒิการศึกษาและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารงานของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งละ 1 คน และรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งละ 2 คน รวมทั้งหมด 126 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 90.47 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการบริหารงานด้านต่างๆของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล 3) แบบสอบถามผลการตรวจประเมินมาตรฐานการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปี 2556 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว (One – way ANOVA) จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล คิดเป็นร้อยละ 19.3 รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล คนที่ 1 และ คนที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 43.0 และ ร้อยละ 37.7 ตามลำดับมีวุฒิการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 46.5 และที่เหลืออยู่ในระดับ อนุปริญญาหรือเทียบเท่า สูงกว่าปริญญาตรี มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 39.5, 8.8 และ 5.3 ตามลำดับและต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าไม่มี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งส่วนใหญ่อยู่ที่ ระหว่าง 2–3 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.7 และที่เหลืออยู่ระหว่าง 3 – 4 ปี และ 1 – 2 ปี ต่ำกว่า 1 ปี และมากกว่า 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.6, 24.6, 13.2 และ 7.0 ตามลำดับ และขนาดขององค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่ประจำอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง คิดเป็นร้อยละ 86.8 และที่เหลืออยู่ในขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 0.00 และ 13.2 ตามลำดับ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานในภาพรวมจากคะแนนเต็ม 28 คะแนน พบว่า คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดแม่ฮ่องสอนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อหลักที่ตอบถูก พบว่าผู้บริหารส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารงบประมาณมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 89.80 และเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 24.6 ด้านประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในภาพรวมอยู่ในระดับความสำเร็จสูง (ร้อยละ 77.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าประสิทธิภาพการบริหารงานที่มีระดับความสำเร็จมากที่สุดคือ ด้านการบริหารจัดการ (ร้อยละ 81.87) รองลงมาคือด้านการบริหารงานการเงินและการคลัง (ร้อยละ 79.18) ด้านการบริการสาธารณะ (ร้อยละ 76.45) และประสิทธิภาพการบริหารงานอยู่ในระดับปานกลาง คือด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภา (ร้อยละ 72.28) ตามลำดับ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการบริหารงานกับประสิทธิภาพการบริหารงาน โดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) พบว่าในภาพรวมความรู้ความเข้าใจไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารงาน การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในด้านต่างๆ กับระดับการศึกษา พบว่าประสิทธิภาพการบริหารงานของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีประสิทธิภาพในการบริหารงานไม่แตกต่างกัน ส่วนระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง พบว่าประสิทธิภาพการบริหารของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งต่างกัน มีประสิทธิภาพในการบริหารงานแตกต่างกันen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT175.5 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdf APPENDIX394.32 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdf CHAPTER 1328.5 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2501.17 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 3412.9 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4499.01 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5432.18 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdf CONTENT233.51 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER506.82 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE289.65 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.