Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39965
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.มาลินี คุ้มสุภา-
dc.contributor.authorแพรวา วุฒิการณ์en_US
dc.date.accessioned2017-08-25T02:56:42Z-
dc.date.available2017-08-25T02:56:42Z-
dc.date.issued2557-05-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39965-
dc.description.abstractThis study entitled, “Debates on Jurisdiction of the Constitutional Court of the Kingdom of Thailand in Case of Political Party Dissolution B.E. 2550”, aimed at analyzing debates regarding the legal status of Constitutional Court in case of the dissolution of a political party code 3-5/2550 and analyzing the constitutional court decision ruling toward the institution of Thai political parties. Importance of this study began with the power of trial of constitutional court and a ruling of the case number 3-5/2550 of constitutional tribunal 2549 B.E., which was appointed by Council For Democratic Reform (Under Constitutional Monarchy) after the announcement using the constitution of the Kingdom of Thailand (Interim) B.E. 2549,section 35, enacted as follows. “Any matters prescribed by law that is under the authority of the constitutioal court or problems regarding whether any law is or is not in contravention of the constitute shall be considered as under the purview of the constitutional tribunal, which consists of the President of the Supreme Court of Justice as President, the President of the Supreme Administrative Court as Vice President, five judges of the Supreme Court of Justice holding a position not lower than Judge of the Supreme Court of Justice and elected at a general meeting of the Supreme Court by secret ballot as constitutional tribunal and two judges of the Supreme Administrative Court elected at a general meeting of the Supreme administrative Court by secret ballots as members. Therefore, all of constitutional tribunal is legal authorities. Any case or other matter still pending under the purview of the Constitutional Court prior to 19 September B.E. 2549 shall be transferred to the authority and responsibility of the constitutional tribunal.” Therefore, the origin of constitutional tribunal from the constitution of the Kingdom of Thailand (Interim) B.E. 2549, is a part of the judicial power that can affect to the legislative power and executive power in practice. Results from the study showed that legal status of constitutional tribunal and judicial power of the constitutional court were certified by the constitution of the Kingdom of Thailand (Interim) B.E. 2549, section 35 as mentioned. From the act identified that cases pending in constitutional court will be transferred to be under the power of consstitutional tribunal. Constitutional tribunal has a power to consider case number 3-5/2550 without violating to the legal state. However, it affected the seperation of powers because the constitutional court judged that the political parties had to be dissoluted, it caused political changes in the parliamentary system, especially to the imbalance among legislative, executive and judicial power, along with Thai political institution. Therefore, the dissolution of political parties, especially parties that were elected from people ruined chances of Thai political parties to develop to be strong institutions in Thai political system. Following were suggestions from the research study. 1. There should be organizations examining the use of judicial power of the Constitutional Court. 2. There should be a clear procedure for consideration on the Constitutional Court in order to be a norm for further court decision ruling. 3. Constitutional tribunal in terms of politics should be increased for more fair trial.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectศาลรัฐธรรมนูญไทยen_US
dc.titleข้อถกเถียงว่าด้วยอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญไทยในการยุบพรรคการเมือง พ.ศ.2550en_US
dc.title.alternativeDebates on Jurisdiction of the Constitutional Court of the Kingdom of Thailand in Case of Political Party Dissolution B.E. 2550en_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc324.2593-
thailis.controlvocab.thashพรรคการเมือง -- ไทย-
thailis.controlvocab.thashศาลรัฐธรรมนูญ -- ไทย-
thailis.controlvocab.thashไทย -- การเมืองและการปกครอง-
thailis.manuscript.callnumberว 324.2593 พ777ข-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษางานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษา เรื่อง “ข้อถกเถียงว่าด้วยอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญไทยในการยุบพรรคการเมือง พ.ศ.2550” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อถกเถียงเรื่องสถานะทางกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญในการยุบพรรคการเมืองคดีที่ 3-5/2550 และวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีต่อความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองไทย ความสำคัญของการศึกษาตั้งต้นจากอำนาจในการวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยคดีที่ 3-5/2550 ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549 ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 35 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ให้บรรดาการใดที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญหรือมีปัญหาว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้เป็นอํานาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน ผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับจํานวนห้าคนเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับจํานวนสองคนเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจึงมาจากนักกฎหมายทั้งหมด และให้บรรดาอรรถคดีหรือการใดที่อยู่ในระหว่างดําเนินการของศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 ให้โอนมาอยู่ในอํานาจและความรับผิดชอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” ดังนั้นที่มาของตุลาการรัฐธรรมนูญจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 นี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจตุลาการที่สามารถส่งผลกระทบต่ออำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารในทางปฏิบัติ ผลการศึกษาพบว่า สถานะทางกฎหมายของตุลาการรัฐธรรมนูญและอำนาจในการวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญนั้นถูกรับรองด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 35 ข้างต้น จากบทบัญญัติที่กำหนดให้โอนคดีที่ค้างพิจารณาในศาลรัฐธรรมนูญมาอยู่ในอํานาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจึงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีที่3-5/2550 โดยไม่ขัดต่อหลักนิติรัฐ แต่ได้ส่งผลกระทบต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ เนื่องจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองและตัดสิทธิของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระบบรัฐสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อภาวะความไม่สมดุลในการคานอำนาจระหว่างนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ความเป็นสถาบันทางการเมืองไทยของพรรคการเมืองไทย ดังนั้นการยุบพรรคการเมืองโดยเฉพาะพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนได้ทำลายโอกาสที่พรรคการเมืองไทยจะพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็งในระบบการเมืองไทย ข้อเสนอแนะของงานวิจัยมี ดังนี้ 1. ควรมีองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการของศาลรัฐธรรมนูญ 2. ควรมีวิธีพิจารณาความศาลรัฐธรรมนูญที่ชัดเจน เพื่อที่จะเป็นบรรทัดฐานในการวินิฉัยต่อไป 3. ควรเพิ่มจำนวนตุลาการรัฐธรรมนูญด้านรัฐศาสตร์ให้มากขึ้น เพื่อทำให้การพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการเมืองเป็นไปด้วยความถูกต้องชอบธรรมมากยิ่งขึ้นen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdf ABSTRACT181.9 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX438.56 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1234.28 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2903.79 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 3216.22 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 41.97 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdf CHAPTER 5314.18 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT192.43 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER2.56 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE310.84 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.