Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39941
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์มาลี เอื้ออำนวย | - |
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ โชติบาง | - |
dc.contributor.author | มะลิวรรณ สุตาลังกา | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-08-24T04:25:17Z | - |
dc.date.available | 2017-08-24T04:25:17Z | - |
dc.date.issued | 2558-03-02 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39941 | - |
dc.description.abstract | Appropriate developmental care of preterm infants by mothers could prevent infant developmental problems. The purpose of this study was to describe maternal care and related factors in developmental care of preterm infants consisted of: severity of preterm infants’ illness as perceived by mothers, maternal preparation for developmental care of preterm infants, and maternal opinion on the developmental care of preterm infants. The study sample included 85 mothers of preterm infants with gestational age [GA] < 37 weeks admitted to the neonatal unit of Maharaj Nakon Chiang Mai Hospital, Lampang Hospital, and Buddhachinaraj Pitsanulok Hospital, Participants were purposively selected and data were collected from April to September 2014. The study instruments were comprised of: (1) the ‘Maternal Care in Developmental Care of Preterm Infants as Perceived by Mothers’ questionnaire, (2) the ‘Severity of the Preterm Infant’s Illness as Perceived by Mothers’ scale, (3) the ‘Maternal Preparation for Developmental Care of Preterm Infants’ questionnaire, and (4) the ‘Maternal Opinion on Developmental Care of Preterm Infants’questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, and Spearman rank correlation. The results showed that: 1. Sixty-eight point two percent of mothers provided developmental care of preterm infants on overall at almost every time. Considering each dimension, it was found that mothers managed the environment of infants by reducing light and noise, promoting rest, and providing kangaroo care or skin-to-skin contact at every time by 63.5%, 58.8%, and 42.4% respectively. Regarding dimensions of positioning the infants appropriately and infants’ self-regulation promotion, it was found that mothers provided these cares at almost every time by 62.4% and 54.1% respectively. For dimension of non-nutritive sucking promotion, mothers provided the care only sometimes by 52.9%. 2. The study showed that maternal preparation for developmental care of preterm infants had statistically significant positive relation at moderate level with maternal care in developmental care of preterm infants (r = .367, p < .01). Severity of preterm infants’ illness as perceived by mothers and maternal opinion on developmental care of preterm infants indicated no significant relation with maternal care in the developmental care of preterm infants. The results of the study provides baseline information about maternal care and related factors in developmental care of preterm infants. Effective maternal preparation by nurses, can enhance maternal care in developmental care of preterm infants appropriately. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | Mothers | en_US |
dc.title | การดูแลของมารดาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด | en_US |
dc.title.alternative | Maternal Care and Related Factors in Developmental Care of Preterm Infants | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.mesh | Mothers | - |
thailis.controlvocab.mesh | Child development | - |
thailis.controlvocab.mesh | Growth and development | - |
thailis.controlvocab.mesh | Infant, premature | - |
thailis.manuscript.callnumber | W 4 ม217ก 2558 | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การดูแลของมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดอย่างเหมาะสม จะช่วยป้องกันปัญหาทางพัฒนาการของทารก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลของมารดาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดประกอบด้วย ความรุนแรงของความเจ็บป่วยของทารกเกิดก่อนกำหนดตามการรับรู้ของมารดา การได้รับการเตรียมเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด และความคิดเห็นของมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์แรกเกิดน้อยกว่า 37 สัปดาห์ และทารกเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่โรงพยาบาลลำปาง และโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จำนวน 85 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถามการดูแลของมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดตามการรับรู้ของมารดา (2) แบบประเมินความรุนแรงของความเจ็บป่วยของทารกเกิดก่อนกำหนดตามการรับรู้ของมารดา (3) แบบสอบถามการได้รับการเตรียมเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด และ (4) แบบสอบถามความคิดเห็นของมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มารดาให้การดูแลในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดโดยรวม เกือบทุกครั้งคิดเป็นร้อยละ 68.2 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มารดาให้การดูแลในด้านการจัดสิ่งแวดล้อมของทารกโดยการลดแสงและเสียง การส่งเสริมการพักหลับ และการทำแกงการู หรือการอุ้มทารกแบบเนื้อแนบเนื้อทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 63.5, 58.8 และร้อยละ 42.4 ตามลำดับ สำหรับด้านการจัดท่านอนให้เหมาะสมแก่ทารก และด้านการส่งเสริมให้ทารกปลอบโยนตนเอง พบว่า มารดาให้การดูแลเกือบทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 62.4 และร้อยละ 54.1 ตามลำดับ ส่วนด้านการส่งเสริมการดูดจุกนมหลอก มารดาให้การดูแลเพียงบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 52.9 2. การศึกษานี้ พบว่า การได้รับการเตรียมเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการดูแลของมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .367, p< .01) แต่ความรุนแรงของความเจ็บป่วยของทารกเกิดก่อนกำหนดตามการรับรู้ของมารดา และความคิดเห็นของมารดา ในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติกับการดูแลของมารดาในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการดูแลของมารดา และปัจจัย ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด การเตรียมมารดาอย่างมีประสิทธิภาพโดยพยาบาลจะทำให้มารดาสามารถให้การดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนดได้อย่างเหมาะสม | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.