Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39940
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น | - |
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์มาลี เอื้ออำนวย | - |
dc.contributor.author | ศศิธร กิ่งนาละ | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-08-24T04:23:44Z | - |
dc.date.available | 2017-08-24T04:23:44Z | - |
dc.date.issued | 2558-03-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39940 | - |
dc.description.abstract | Preterm infants frequently experience oral feeding problems which affect their breastfeeding performance. Oral stimulation is an important activity that may enhance the neuromuscular maturity needed for sucking. This quasi-experimental research study (two group, pretest-posttest design) aimed to examine the effects of oral stimulation on preterm infants’ breastfeeding behaviors between an experimental and a control group. The sample consisted of 20 preterm infants with postconceptional age 30-32 weeks, who were hospitalized at the Neonatal Intensive Care Unit (NICU) and the Nursery Unit of Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital during May to October 2014. The sample was selected through a purposive sampling method which matched pairs by postconceptional age, body weight, and duration of endotracheal intubation. The subjects were randomly assigned into either the experiment group (n=10) or control group (n=10). The experiment group received oral stimulation once a day for 10 days and the control group received routine care. The instrument used for conducting in this study was an oral stimulation program. Instruments used for data collecting consisted of the demographic data form and the Preterm Infants’ Breastfeeding Behavior Scale (PIBBS). The data were analyzed by using descriptive statistics, Fisher’s exact test, Independent t-test, and Paired t-test. The results of this study revealed that the score of preterm infants’ breastfeeding behavior in the experimental group was statistically significantly higher than the control group (p < .01). After the experiment, the score of preterm infants’ breastfeeding behavior in both the experimental and the control group was statistically significantly higher than before the experiment (p < .01). The findings of this study show that the implemention of oral stimulation can improve preterm infants’ breastfeeding behaviors. Therefore, nursing staff should utilize oral stimulation to promote good breastfeeding behaviors. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | Behavior | en_US |
dc.title | ผลของการกระตุ้นการดูดกลืนต่อพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด | en_US |
dc.title.alternative | Effect of Oral Stimulation on Preterm Infants’ Breastfeeding Behaviors | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.mesh | Behavior | - |
thailis.controlvocab.mesh | Infant, premature | - |
thailis.controlvocab.mesh | Breast feeding | - |
thailis.manuscript.callnumber | W 4 ศ182ผ 2558 | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ทารกเกิดก่อนกำหนดมักมีปัญหาด้านการดูดกลืนบ่อย ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด การกระตุ้นการดูดกลืนเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญซึ่งอาจทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อในการดูดกลืนมีวุฒิภาวะสมบูรณ์มากขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มเปรียบเทียบวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดระหว่างทารกกลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นการดูดกลืนและทารกกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกำหนดอายุหลังปฏิสนธิ 30-32 สัปดาห์ ที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิดและหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จำนวน 20 ราย โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ โดยการจับคู่ในด้านอายุหลังปฏิสนธิ น้ำหนัก ณ วันที่ทำการศึกษา และระยะเวลาในการใส่ท่อหลอดลมคอ แล้วสุ่มให้เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 ราย กลุ่มทดลองได้รับการกระตุ้นการดูดกลืนวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 10 วัน และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ แผนการกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของทารกเกิดก่อนกำหนดและมารดา และแบบประเมินพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด (The Preterm Infant Breastfeeding Behavior Scale: PIBBS) สร้างโดยนิควิส และ อีวาลด์ (Nyqvist & Ewald, 1999) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติฟิชเชอร์ สถิติทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มอิสระต่อกัน และสถิติทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มไม่อิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า คะแนนพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และหลังการทดลองคะแนนพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การกระตุ้นการดูดกลืนช่วยให้ทารกเกิดก่อนกำหนดมีพฤติกรรมการดูดนมมารดาดีขึ้น ดังนั้นพยาบาลจึงควรทำการกระตุ้นการดูดกลืนให้แก่ทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.