Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39939
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น | - |
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์ มาลี เอื้ออำนวย | - |
dc.contributor.author | ดลก์พร มาตยาบุญ | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-08-24T04:22:25Z | - |
dc.date.available | 2017-08-24T04:22:25Z | - |
dc.date.issued | 2558-04-02 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39939 | - |
dc.description.abstract | The developmental systems, especially the central nervous system (CNS), of a preterm infant are incomplete. An undesirable environment in the neonatal intensive care unit (NICU) can induce negative effects on the preterm’s growth and development. Appropriate nursing care practices in developmental care can reduce such effects. The purpose of this correlational descriptive research study was to investigate the nurses’ developmental care practices and related factors in preterm infant care. The population of this study included 148 nurses from the neonatal intensive care units at 7 tertiary hospitals in northern Thailand. The data were collected from August to October 2014. The study instruments comprised of: (1) the nurses’ practicesin developmental care of preterm infant’s questionnaire;(2) the related factors of nursing practices questionnaires,which recorded the nurses’ knowledge and opinion of developmental care and its policies,and the extent of guidelines and support from administratorsregardingdevelopmental care practice. The data were analyzed usingdescriptive statistics, Pearson product moment correlation coefficient and Spearman rank correlation coefficient. The result of this study showed that: Most of the nurses (66.90%) practice frequently in developmental care for preterm infants. Also, the factors related to nurses’ developmental care practice for preterm infants were as follows: 1. The nursing factors; it was found that knowledge, provision of training courses for nurses, and nurses’ opinion about developmental care for preterm infants have a positive correlation with nurses’ developmental care practices (r= .219, r= .260, r=.364, p< .01). 2. The organizational factor; it was found that policy, guidelines and administrators’ support regarding developmental care practice for preterm infants have a positive correlation with nurses’ developmental care practice(r= .387, r= .253, r= .337, p< .01). The findings of this study provides useful information about the practices of nurses and related factors in developmental care for preterm infants, and can be used to promote nurses’ developmental care practicesregardingpreterm infants among nurses. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | Child development | en_US |
dc.title | การปฏิบัติของพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด | en_US |
dc.title.alternative | Practices of Nurses and Related Factors on Developmental Care for Preterm Infants | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.mesh | Child development | - |
thailis.controlvocab.thash | Infant, premature | - |
thailis.controlvocab.thash | Nursing | - |
thailis.manuscript.callnumber | W 4 ด17ก 2558 | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | พัฒนาการของระบบต่างๆโดยเฉพาะประสาทส่วนกลางของทารกเกิดก่อนกำหนดยังไม่สมบูรณ์ การถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกเกิดก่อนกำหนด การปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดสามารถลดผลกระทบดังกล่าว การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติของพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด ประชากรในการศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 148 คนที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในเขตภาคเหนือ จำนวน 7 แห่งรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่(1) แบบสอบถามการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด(2)แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด ประกอบด้วย ความรู้ความคิดเห็นของพยาบาลต่อการปฏิบัติการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดและนโยบาย แนวปฏิบัติและการสนับสนุนของผู้บริหารในการส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดของพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลส่วนมาก (ร้อยละ 66.90) ปฏิบัติบ่อยครั้งในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด มีดังนี้ 1. ปัจจัยด้านพยาบาล พบว่า ความรู้ การอบรม/การเข้าร่วมประชุมวิชาการที่เกี่ยวข้องและความคิดเห็นของพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ(r= .219, r= .260, r= .364, p< .01) 2. ปัจจัยด้านองค์กร พบว่านโยบาย แนวปฏิบัติและการสนับสนุนของผู้บริหารในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ (r= .387, r= .253, r= .337, p< .01)ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติของพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด ซึ่งสามารถนำไปใช้ส่งเสริมการปฏิบัติการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดของพยาบาลต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 4.36 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.