Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39901
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.พนม กุณาวงค์-
dc.contributor.authorพงษวัฒน์ วิวัฒน์กมลชัยen_US
dc.date.accessioned2017-07-12T03:39:57Z-
dc.date.available2017-07-12T03:39:57Z-
dc.date.issued2557-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39901-
dc.description.abstractThe purpose of this study was to research the factors and measures of electrical energy needs that affect households in Mueang district, Chiang Mai. The study samples comprised the population of 136,054 households in Mueang district, Chiang Mai. Yamane's random sampling formula of approximately 400 households was used, with some of the samples paying for the PEA office in that area. The tools used in this study were a questionnaire on the “Factors Affecting Household's Electricity Demand in Mueang Chiang Mai District” and analysis of statistical data for researching Public Administration. Analysis using descriptive statistics was used to summarize the essence of data, which consisted of maximum and minimum frequencies, percentages, mean and standard deviations. Statistical hypothesis testing determined the Pearson correlation coefficient. The findings of this study were as follows: 1) household electricity demand, which is the unit of electricity (kilowatt - hour), was found to be less than 400 kWh (kilowatt - hour). This accounted for 81.5 percent of consumption, with the average consumption per household being 238.7 units (kilowatt - hour). 2) Households using less electricity paid per unit, which provided cheaper electricity bills. 3) Households with knowledge of saving energy had a GPA of 72.37 percent, and those in this study knew how to save energy without affecting electrical energy needs. 4) Factors affecting household electricity demand in Mueang district, Chiang Mai, included the average price of electricity, income per household, size of the household and the number of rooms and appliances in it. However, factors not affecting household electricity demand in this area included the average price of LPG and knowledge of saving electricity.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคen_US
dc.subjectการใช้พลังงานไฟฟ้าen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactor Affecting Household's Electricity Demand in Mueang Chiang Mai Districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc333.7932-
thailis.controlvocab.thashการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค-
thailis.controlvocab.thashการใช้พลังงานไฟฟ้า -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashพลังงานไฟฟ้า-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 333.7932 พ128ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อทราบปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในเขตพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ 2) เพื่อต้องการวัดระดับความต้องการพลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในเขตพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มประชากรคือ ครัวเรือนในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ จำนวน 136,054 ครัวเรือน จำนวนตัวอย่างของการศึกษาใช้สูตรของ Yamane ได้จำนวนตัวอย่าง 400 ครัวเรือน และการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยคัดเลือกตัวอย่างจากผู้ที่มาชำระค่าไฟที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ได้แก่ การไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ และการไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ 2 และเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการสรุปสาระสำคัญของข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า 1) ความต้องการไฟฟ้าของครัวเรือนซึ่งก็คือหน่วยที่ใช้ไฟฟ้า(กิโลวัตต์-ชั่วโมง) พบว่าครัวเรือนใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 400 หน่วย(กิโลวัตต์-ชั่วโมง) คิดเป็นร้อยละ 81.5 และการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 238.7 หน่วย(กิโลวัตต์-ชั่วโมง) 2) ครัวเรือนที่มีรายจ่ายค่าไฟฟ้าน้อยจะมีอัตราค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ถูกกว่าครัวเรือนที่มีรายจ่ายค่าไฟฟ้ามาก 3) ครัวเรือนมีความรู้ในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าอย่างดี มีระดับคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.37 นอกจากนั้นในการศึกษาครั้งนี้ได้ว่าความรู้ในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าไม่มีผลต่อความต้องการพลังงานไฟฟ้า 4) ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง เชียงใหม่ ได้แก่ อัตราค่าไฟ รายได้ ขนาดครัวเรือน จำนวนห้อง และจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนปัจจัยที่ไม่มีผลต่อความต้องการพลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ ราคาก๊าซ LPG และความรู้ในการประหยัดพลังงานของครัวเรือนen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT198.14 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdf APPENDIX654.84 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1374.8 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2549.39 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3308.88 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 4656.74 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdf CHAPTER 5429.39 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT345.58 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER555.76 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdf REFERENCE427.54 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.