Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39895
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ บุญเชียง-
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวพร อึ้งวัฒนา-
dc.contributor.authorอัจฉรา พรหมเสนen_US
dc.date.accessioned2017-06-08T03:17:09Z-
dc.date.available2017-06-08T03:17:09Z-
dc.date.issued2557-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39895-
dc.description.abstractContinuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) is treatment for people who suffer from end stage renal failure. There are many problems associated with ambulatory peritoneal dialysis, including infection and wrong practices. This study aimed to make situational analysis of the care of persons with CAPD in Dok Khamtai Sub-district, Dok Khamtai District, Phayao Province. System theory (Von Bertalunffiy, 1968) was used in the study, consisting of a procedure of input, process and output. The study was conducted with, 1) persons with continuous ambulatory peritoneal dialysis, 2) 10 caregivers caring for persons with continuous ambulatory peritoneal dialysis, and 3) 3 health personnel who work in the division of continuous ambulatory peritoneal dialysis. Instruments used in the study were guidelines for focus group discussion and individual interview scripts. Accuracy of content validity and appropriateness of language were approved by 3 experts. Data were analyzed by using descriptive statistics and content organization. Results from the study showed that: 1. Input factors including rooms built for the ambulatory peritoneal dialysis were convenient and suitable. However, there were not enough cleaning tools to respond to the patient’s needs. Attendants received documents and guide books with complete content on CAPD, and they had books recording fluid intake and outtake from the patient’s bodies. Attendants had knowledge of wound care and catheter treatment, but they did not clean wounds or catheter joints well enough. Moreover, they forgot the procedures of peritoneal ambulatory dialysis, and were not give important on eating habit. Health personnel at Phayao Hospital, inclusive of 1 specialist and 2 CAPD nurses, were responsible for taking care of 127 CAPD patients. Therefore, CAPD staffs responsibilities were beyond their working capacity. In addition a health team normally visits the patients at home once a year, and personnel, attendants and patients should receive knowledge about peritoneal ambulatory dialysis once a year also. 2. Process factors showed that patients and attendants had knowledge about how to do ambulatory peritoneal dialysis and wound care around the catheter exit site. However, they had incorrect knowledge and practices, such as using non-sterile cotton swabs, not washing their hands, performing dialysis too quickly, and with a lack of equipment for wound care and dialysis. Patients demonstrated symptoms of stomachache, fever, turbid peritoneal dialysis solution, pus, swelling, and red wounds. 3. In terms of output, from the 45 persons with end stage renal failure it was found that 22% (or 10 persons) had complications and infections. They experienced stomachache, fever, turbid peritoneal dialysis solution, pus, swollen, and red wounds. Therefore, they had to see doctors and stay at the hospital. Results from this study can be used to develop effective treatment systems for patients who have continuous ambulatory peritoneal dialysis in Dok Khamtai Sub-district, Dok Khamtai District, Phayao Province.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectPeritoneal dialysisen_US
dc.titleการวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ที่ได้รับการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยาen_US
dc.title.alternativeSituational analysis of the care of persons with continuous ambulatory peritoneal dialysis, Dok Khamtai District Phayao provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.nlmcW 4-
thailis.controlvocab.thashPeritoneal dialysis-
thailis.manuscript.callnumberW 4 อ212ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องเป็นวิธีการรักษาผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายซึ่งจะพบปัญหาต่างๆ ในการล้างไตทางช่องท้องได้ เช่น การติดเชื้อ การปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยาตามกรอบแนวคิดทฤษฎีระบบ (von Bertalunffly, 1968) ประกอบด้วยการศึกษาด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์ โดยศึกษาในกลุ่มประชากร ได้แก่ 1) ผู้ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง 10 ราย 2) ผู้ดูแลผู้ได้รับการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง 10 ราย และ 3) บุคลากรทีมสุขภาพที่ปฏิบัติงานที่หน่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง จํานวน 3 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แนวคําถามในการสนทนากลุ่มและแบบสัมภาษณ์รายบุคคลซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และความเหมาะสมของภาษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการจัดหมวดหมู่เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. ด้านปัจจัยนำเข้าใช้มีห้องที่สร้างขึ้นเพื่อล้างไตสะดวกเหมาะสมในการล้างไต แต่ยังพร่องในเรื่องการทำความสะอาด อุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการผู้ป่วย และผู้ดูแลได้รับเอกสารคู่มือตัวหนังสือมีเนื้อหาครบถ้วนมีสมุดจดบันทึกน้ำเข้า-น้ำออกผู้ป่วย และผู้ดูแลมีความรู้เรื่องการดูแลแผลและดูแลสายยางแต่การรักษาความสะอาดของร่างกายแผล และข้อต่อสายยาง ยังไม่เพียงพอ และลืมขั้นตอนในการล้างไต ไม่เคร่งครัดการรับประทานอาหารบุคลากรถูกจำกัดในการจัดทำโครงการบุคลากร ทีมสุขภาพโรงพยาบาลพะเยาที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วย CAPD มีจำนวน 3 คน ได้แก่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านไต 1 คน และพยาบาลเฉพาะทาง CAPD อีกจำนวน 2 คน ต่อจำนวนผู้ป่วย CAPD ที่ต้องดูแล คือ 127 คน มีภาระงานที่มากกว่าอัตรากำลัง นอกจากนี้บุคลากรทีมสุขภาพจะไปเยี่ยม ที่บ้านอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยบุคลากร ผู้ดูแลและผู้ป่วยจะได้รับการพัฒนาความรู้ในการล้างไตทางช่องท้องปีละ1 ครั้ง 2. ด้านกระบวนการ พบว่าผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความรู้ในการปฏิบัติการล้างไตทางช่องท้องและดูแลแผลทางออกของสายยาง แต่ยังมีความรู้ที่ไม่ถูกต้อง เช่น นำไม้พันสำลีที่ไม่ปราศจากเชื้อ มาใช้ ลืมล้างมือ ล้างไตลัดขั้นตอน เตรียมอุปกรณ์ในการทำแผลและการล้างไตไม่ครบ สามารถสังเกตอาการผิดปกติ เช่น อาการปวดท้อง มีไข้ น้ำยาล้างไตที่ออกจากช่องท้องมีลักษณะขุ่น แผลมีหนองซึม บวม แดง 3. ด้านผลลัพธ์ พบว่าผู้ที่ได้รับการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องในอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา มีจำนวนทั้งหมด 45 ราย พบว่ามีภาวะแทรกซ้อน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 22 และมีประวัติการติดเชื้อเคยมีอาการปวดท้อง มีไข้ น้ำยาล้างไตที่ออกจากช่องท้องมีลักษณะขุ่น แผลมีหนองซึม บวม แดง ทำให้ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลและต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ที่ได้รับการล้างไต ทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยาให้มีประสิทธิภาพต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdf ABSTRACT154.65 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX393.12 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1258.3 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdf CHAPTER 2404.04 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3203.48 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 4774.29 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5159.52 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT132.93 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdf COVER579.6 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE225.86 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.