Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39880
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัชชุกาญจน์ ทองถาวร | - |
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์วีณา วโรตมะวิชญ | - |
dc.contributor.author | มยุรา ประดิษฐ์ษร | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-04-11T09:20:20Z | - |
dc.date.available | 2017-04-11T09:20:20Z | - |
dc.date.issued | 2015-07 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39880 | - |
dc.description.abstract | The study of preparing mathematics readiness of preschoolers using Thai folk plays aimed to construct and implement learning experiential plans to prepare preschoolers' mathematics readiness using Thai folk plays. The target group of this study was ten second-year kindergartners, studying in the second semester of 2556 (B.E.) Academic Year at Ban Sop Lan school, Omkoi district, Chiang Mai province. The instruments used in this study were eight experience provision plans of three units for preparing mathematics readiness of those second-year kindergartners using Thai folk plays, as well as a test on counting, numbering, comparing and ordering. The researcher compared the scores, after using Thai Fold Play experience provision plans, with school set criteria of 60.00 percent. The findings were presented through tables with description. The results of the study were as followed: 1. The construction of the experience provision plans for preparing mathematics readiness of preschoolers using Thai folk plays began with the study and analysis of the Early Childhood Curriculum, Thai folk plays and theory to create a theoretical framework for applying in this study. Then the analysis of Thai folk plays' contents and play methods was made to harmonize them with the desired characteristics and mathematics learning contents for designing learning units. Eight experience provision plans from three units were counting, estimation and spatial relations. 2. The result of implementing the experiential learning plans for preparing mathematics readiness of preschoolers using Thai folk plays was found students’ average scores at 82.00 percent on the four areas, which were numbering, counting, comparing and ordering. The indicated average score was higher than the school set criteria at 60.00 percent. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย | en_US |
dc.title.alternative | Preparing Mathematical Readiness of Preschoolers Using Thai Folk Plays | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาเรื่อง การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและใช้แผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย และเพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อม ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านสบลาน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 3 หน่วย รวมทั้งหมด 8 แผน และแบบทดสอบเรื่อง การนับ ตัวเลข การเปรียบเทียบ และการเรียงลำดับ จำนวน 1 ชุด ผู้วิจัยได้นำคะแนนจากการทำแบบทดสอบมาคำนวณเป็นค่าร้อยละ แล้วนำมาเทียบกับเกณฑ์การประเมินของโรงเรียนที่กำหนดไว้ร้อยละ 60.00 แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบการบรรยาย โดยสรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า 1. การสร้างแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อม ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย ได้สร้างโดยเริ่มจากการศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย การละเล่น และทฤษฎีที่เหมาะสมเพื่อสร้างกรอบคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา จากนั้นจึงวิเคราะห์การละเล่นพื้นบ้านไทย ในด้านเนื้อหาและวิธีการเล่น หาความสัมพันธ์กับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสาระที่ควรรู้ในการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ จัดกลุ่มหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทักษะทางคณิตศาสตร์ โดยจัดให้แบ่งออกเป็น 3 หน่วยใหญ่ ได้แก่ การนับสิ่งต่าง ๆ การคาดคะเนสิ่งต่าง ๆ และมิติสัมพันธ์ รวมทั้งหมดจำนวน 8 แผน 2. ผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อม ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทยพบว่านักเรียนที่ได้คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 82.00 จากการทำแบบทดสอบ ในเรื่องตัวเลข การนับ การเปรียบเทียบ และการเรียงลำดับ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60.00 ที่ได้กำหนดไว้ | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.doc | Abstract (words) | 204.5 kB | Microsoft Word | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 243.01 kB | Adobe PDF | View/Open |
FULL.pdf | Full IS | 3.71 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.