Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39879
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.รัชชุกาญจน์ ทองถาวร-
dc.contributor.authorนิภาพร คำโพธิ์en_US
dc.date.accessioned2017-04-11T09:17:25Z-
dc.date.available2017-04-11T09:17:25Z-
dc.date.issued2015-07-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39879-
dc.description.abstractThe study of using bilingual big books to develop reading ability of preschoolers aim to construct and use bilingual big books for preschoolers who communicate in Karen language and to investigate their reading ability after using of bilingual big books in instruction. The target group of this study were twelve first-year-preschoolers, studying in the second semester in 2013 Academic year of Baan Mae Khong School, Tambon Na Gian, Omgoi District, Chiang Mai Province. The materials used in this study consist of four bilingual big books, experiential plans for developing first-year-preschoolers's reading ability using bilingual big books. There were five experiential plans for each of four units; the total of twenty plans and a reading ability test. The scores from the application of the test were calculated through percentage and compared with the 60.00% of the school's criteria of achievement. The data were presented in tables with description. The results of this study were found that: 1. The bilingual big books to develop reading ability of preschoolers were suitable. The four bilingual big books were “What do your body have?”, “Little Cute Animals”, “So Delicious” and “Transportation and Things”. 2. The investigation of the preschoolers' reading ability after using bilingual big books showed that the test scores of reception ability, understanding and used vocabularies, communication ability with symbols, alphabets identification ability and vocabularies pronunciation ability were found higher than school criteria at 60.00 percents. The scores were respectively arranged from the highest percentage as following; 90.00% of the ability of vocabularies pronunciation, 88.33% of the ability of communication with symbols and 86.67% of the ability of reception, understanding and use of vocabularies as well as the ability of alphabets identification.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการใช้หนังสือเล่มใหญ่สองภาษา เพื่อพัฒนาความสามารถทางการอ่านของเด็กปฐมวัยen_US
dc.title.alternativeUsing Bilingual Big Books to Develop Reading Ability of Preschoolersen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง การใช้หนังสือเล่มใหญ่สองภาษา เพื่อพัฒนาความสามารถ ทางการอ่านของเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและใช้หนังสือเล่มใหญ่สองภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษากะเหรี่ยงในการสื่อสาร และเพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านของเด็กปฐมวัยหลังการสอนโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่สองภาษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่โขง ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 12 คน ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย หนังสือเล่มใหญ่สองภาษา จำนวน 4 เล่ม แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถทางการอ่านโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่สองภาษาของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 4 หน่วย หน่วยละ 5 แผน รวมทั้งหมด 20 แผน และแบบทดสอบความสามารถด้านการอ่าน จำนวน 1 ชุด ผู้ศึกษาได้นำคะแนนจากการทำแบบทดสอบมาคำนวณเป็นค่าร้อยละ แล้วนำมาเทียบกับเกณฑ์การประเมินของโรงเรียน ที่กำหนดไว้ร้อยละ 60.00 แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบการบรรยาย โดยสรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า 1. ได้หนังสือเล่มใหญ่สองภาษาเพื่อพัฒนาความสามารถทางการอ่านของเด็กปฐมวัย ที่ใช้ได้อย่างเหมาะสมจำนวนทั้งหมด 4 เล่ม 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่องตัวหนูมีอะไร เรื่องสัตว์น้อยน่ารัก เรื่องอร้อย อร่อย และเรื่องยานพาหนะและสิ่งของ 2. ผลการศึกษาความสามารถทางการอ่านของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือเล่มใหญ่สองภาษา จากการทำแบบทดสอบความสามารถทางการอ่าน ด้านการรับรู้ เข้าใจ และใช้คำศัพท์ การสื่อความหมายด้วยสัญลักษณ์ การบ่งชี้ตัวพยัญชนะ และการอ่านออกเสียงคำศัพท์ นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินของโรงเรียนที่กำหนดไว้ร้อยละ 60.00 พบว่าพัฒนาการทางการอ่านแต่ละด้านได้ค่าเฉลี่ยร้อยละรวมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้เรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการอ่านออกเสียงคำศัพท์ได้เฉลี่ยร้อยละรวม 90.00 ด้านการสื่อความหมายด้วยสัญลักษณ์ ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.33 ด้านการรับรู้ การเข้าใจ และการใช้คำศัพท์ และด้านการบ่งชี้ พยัญชนะ ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละรวม 86.67en_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.docAbstract (words)190.5 kBMicrosoft WordView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract 254.89 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS6.2 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.