Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39877
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. ชรินทร์ มั่งคั่ง-
dc.contributor.authorธนัญภรณ์ แพรสอาดen_US
dc.date.accessioned2017-04-11T09:15:59Z-
dc.date.available2017-04-11T09:15:59Z-
dc.date.issued2015-07-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39877-
dc.description.abstractThis study aimed at analyzing 1) the utilization of upstream area forest; 2) knowledge, understanding and involvement towards upstream area forest resources management; 3) guidelines for upstream area forest resources management in Ban Kobdong, Fang District, Chiang Mai Province. This study was an integration between quantitative and qualitative research. Data were collected from samples by using a questionnaire and the bulk of the sample via interviewing and focus group by using the interview form. Data were analyzed according to the guidelines for quantitative and qualitative research. The results were concluded as follow. In terms of utilization of upstream area forest in Ban Kobdong, Fang District, Chiang Mai province, it was found that the forest was mainly used to male a living. It was mostly used to be the fuel and firewood for cooking at home and in La Hu New Year festival. It was also used to be a source of animal feed because the community raised black pigs for consumption and rituals. Therefore, they had to seek for materials from the forest such as banana trees, Sa leaves which were boiled to make animal feed. Food sources such as vegetables, bamboo shoot, rattan, mushroom and forest fruits were consumed at home. In addition, they were seasonally distributed within the community and used for home reparation. Moreover, it was used to be materials for basketry used at home and agricultural devices such as basket, wicker basket (Kra-bung), tray, etc. People can get extra income by basketry and bracelet braiding from natural materials in the forest such as bamboo, rattan, and I-Bu-Kae grass. Local people had medium level of knowledge and understanding towards upstream area forest resources management. The government officers or related organization should create clearer knowledge and understanding about resources and conservation. The community should have a role or being on the stage to express their opinion and participate in conservative activities. The involvement of the community for forest resources conservation was at a medium level. Divided by the involvement, it was found that the highest level of involvement was in the implementation, planning, follow-up, and analysis on the cause of the problems, respectively. There were 3 guidelines for upstream area resource forest management of Ban Kob Dong community, 1) applying knowledge within the community for management approach which are belief, customs, old traditions, and local wisdom. 2) Applying knowledge from outside of the community management approach which is principles and concepts in the form of community forest and the community takes part in operation of activities. 3) Integration management approach is the mixture between knowledge from inside and outside the community knowledge through the process of cooperation between community and government. The community is ready to be a part of implementations and making decisions. The external organizations only take the role of supporter and assistant.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจัดการทรัพยากรป่าไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำของชุมชน บ้านขอบด้ง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeUpstream Area Forest Resources Management in Ban Kobdong Fang District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำของชุมชนบ้านขอบด้งอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมต่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำของชุมชนบ้านขอบด้ง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาแนวทางจัดการทรัพยากรป่าไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำของชุมชนบ้านขอบด้ง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพประกอบกัน โดยรวบรวมข้อมูลจากประชากรตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถาม และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม โดยใช้แบบนำสัมภาษณ์ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ผลตามแนวทางการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และสรุปผลการศึกษา ดังนี้ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำของชุมชนบ้านขอบด้ง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีการใช้ประโยชน์เป็นฐานในการยังชีพเป็นหลัก หากศึกษาถึงรายละเอียดจะพบว่า การใช้ประโยชน์ในด้านเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหรือไม้ฟืนมากที่สุด ทั้งในการประกอบอาหารในครัวเรือนและการใช้ในช่วงเทศกาลกินวอ ลำดับถัดมาคือ การใช้เป็นแหล่งอาหารสัตว์ เนื่องจากชุมชนนิยมเลี้ยงหมูดำไว้ เพื่อบริโภคและใช้ในพิธีกรรม จึงต้องอาศัยแหล่งอาหารจากป่า เช่น ต้นกล้วย ใบสา มาต้มเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ และการใช้ประโยชน์เป็นแหล่งอาหาร ทั้งประเภทผัก หน่อไม้ หวาย เห็ด และผลไม้ป่า เพื่อการบริโภคในครัวเรือนหรือจำหน่ายภายในชุมชน ในส่วนที่เหลือจากการบริโภค ซึ่งจะมีตามฤดูกาล การใช้เพื่อการก่อสร้างซ่อมแซมบ้านเรือน ประการสุดท้ายใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบในการจักสานเพื่อใช้เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือทางการเกษตร เช่น ตะกร้า กระบุง ถาด เป็นต้น รวมถึง เป็นรายได้เสริมจากการสานตะกร้าและการถักกำไล โดยใช้วัสดุธรรมชาติจากป่า เช่น ไม้ไผ่ หวาย และหญ้าอิบุแค ประชาชนในบริเวณพื้นที่ มีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำอยู่ใน ระดับปานกลาง ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรและการอนุรักษ์ให้ชัดเจนมากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีบทบาทหรือเวทีในการแสดงความคิดเห็นและเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านการอนุรักษ์มากขึ้น การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำอยู่ในระดับปานกลาง หากจำแนกตามด้านการมีส่วนร่วมจะพบว่าด้านการปฏิบัติงานมีมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการวางแผน ด้านการตรวจสอบติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และด้านการค้นหาสาเหตุของปัญหาน้อยที่สุด ตามลำดับ สำหรับแนวทางการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต้นน้ำของชุมชนบ้านขอบด้ง มี 3 แนวทางคือ (1) แนวทางการจัดการโดยอาศัยความรู้จากภายในชุมชน เป็นการใช้ความเชื่อ จารีตประเพณีดั้งเดิม การจัดการโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (2) แนวทางการจัดการโดยอาศัยความรู้จากภายนอกชุมชน เป็นการนำหลักการและแนวคิดการจัดการป่าในรูปแบบป่าชุมชน โดยที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และ(3) แนวทางการจัดการแบบบูรณาการ เป็นการจัดการที่อาศัยการผสมผสานระหว่างการใช้ความรู้จากภายในชุมชน กับความรู้จากภายนอกชุมชน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับภาครัฐในการจัดการป่าไม้ โดยชุมชนพร้อมที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติและมีอำนาจในการตัดสินใจ หน่วยงานภายนอกเป็นเพียงผู้คอยให้การสนับสนับและช่วยเหลือเท่านั้นen_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docAbstract (words)192.5 kBMicrosoft WordView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 246.02 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS5.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.