Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39873
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร.จันทนา สุทธิจารี | - |
dc.contributor.author | บุรินทร์ ใจจะนะ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-16T08:33:21Z | - |
dc.date.available | 2016-12-16T08:33:21Z | - |
dc.date.issued | 2015-06 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39873 | - |
dc.description.abstract | This independent study titled "Participation of Pga k’nyau in the Master Project of State Management of Natural Resources and Environment, Ban-Jan Sub-district, Kalayaniwatana District, Changwat Chiang Mai.” aimed at 1) analyzing the participation of Pga k’nyau, 2) analyzing problems and obstacles towards the participation of Pga k’nyau, and 3) describing and suggesting guidelines for solving problems together between the government and Pga k’nyau in Ban-Jan sub-district, Kalayaniwatana district, Changwat Chiang Mai concerning the master project of state management of natural resources and environment. This qualitative study collected data from 36 informants. Regarding the results, it was found that the government agencies set the team for propelling the implementation according to the project by integrating with every sector in order for the community to have participation with several sectors. For example, Global Positioning System (GPS) technology was used to organize lands to categorize the natural forests, usable forests, community forests, agricultural land, and dwelling land in order to identify explicit boundary lines. People took part in identifying their lands and made an agreement within the village and sub-district that they would not invade other areas in order to conserve natural resources and maintain environmental resources. The government and private sectors provided knowledge and training for people in the village. They organized a meeting in the village community, specifying the direction for development to ensure that they had the same understanding. In addition, community activities were held so that the villagers could be involved with the government and private sectors in the area, such as a forest ordination ceremony, reforestation, creating check a dam to increase moisture in the soil surface, building firebreaks, and an annual survey for the responsible area. In addition, the government and private sectors provided the village a budget for the conservation of forest resources. In terms of problems and obstacles, people lacked understanding of the forest conservation projects of government sectors. People did not understand the purpose of the project because different sectors helped them with different methods. Therefore, they were confused and their ways to solve problems were rejected from the central organization. Moreover, the local administrative organization could not support the budget as it did not have enough income. Suggestions 1. In terms of comprehension, people should try to understand the project because there are many related organisations with different understandings, objectives, and implementations. Therefore, local people are confused and guidelines for solving problems are not consistent. It should be clearly identified which sectors- policy, administrative, and operational- in the area take responsibility. Each sector should have a consistent understanding of the individual roles and functions. Furthermore, the project should be directly supported by the government. Also, a suitable project duration should be scheduled. 2. In terms of budget management, annual planning and budget disbursement of the provincial project should be distributed to the local district for the readiness on implementation. The district should also appoint the operational staff for the direct cooperation between them and other sectors. 3. There were some geographical problems, such as remote areas, steep hills, wilderness areas, etc., which were difficult to reach and caused communication problems. Another problem was about the readiness of the community to participate in creating a plan for land surveying with related organizations. 4. Public relations should be done in order for people to understand the purposes of the project. People should also be provided with knowledge about laws related to the forest. Local people must have knowledge, understanding, and sincerity to participate in the administration. They should also sincerely accept and take serious action according to the regulations or guidelines upon which the team agreed, concluded and implemented to achieve the project goals. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การมีส่วนร่วมของชาวปกาเกอะญอต่อโครงการต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรัฐ ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Participation of the Pga K'nyau Towards the Master Project of State Management of Natural Resources and Environment, Tumbon Ban-Jan, Ampher Kalayaniwatana, Changwat Chiang Mai | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของชาวปกาเกอะญอต่อโครงการต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรัฐ ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชาวปกาเกอะญอต่อโครงการต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา 2. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการมีส่วนร่วมของชาวปกาเกอะญอต่อการบริหารจัดการโครงการต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. เพื่ออธิบายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างรัฐกับชาวปกาเกอะญอในพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา ต่อโครงการต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนการหาคำตอบในการวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการศึกษาผู้ให้ข้อมูล รวมจำนวนทั้งสิ้น 36 คน สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ จากผลการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมของชาวปกาเกอะญอต่อโครงการต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา โดยหน่วยงานของรัฐตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการนี้โดยบูรณาการกับทุกภาคส่วนเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับหน่วยต่างๆ เช่น มีการจัดระเบียบที่ดินให้เป็นโซนๆ เพื่อแยกป่าสงวนแห่งชาติ ป่าใช้สอย ป่าชุมชน พื้นที่ทำกิน พื้นที่อาศัย ออกมาเป็นรายแปลง เพื่อให้รู้แนวเขตที่ชัดเจนโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) โดยราษฎรมีส่วนร่วมเป็นผู้ชี้จุดตำแหน่งที่ดินของตน จากนั้นก็มีข้อตกลงร่วมกันในระดับหมู่บ้าน ตำบล ว่าจะไม่รุกพื้นที่เพิ่มเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ไม่หมดไป หน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้าน โดยจัดประชุมประชาคมหมู่บ้าน กำหนดทิศทางการพัฒนา เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน จัดกิจกรรมของชุมชนเพื่อให้มีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนในพื้นที่มีการบวชป่า การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าที่เสื่อมโทรม การสร้างฝายแม้วเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวดิน การทำแนวกันไฟ และมีการเดินตรวจป่าในเขตรับผิดชอบตลอดทุกปีและในส่วนหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนได้ให้การสนับสนุนงบประมาณให้แก่หมู่บ้านในการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ ปัญหาอุปสรรค ที่พบคือ ประชาชนขาดการทำความเข้าใจต่อโครงการหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาป่าไม้ประชาชนไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ เนื่องจากมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่แตกต่างวิธีการ ทำให้ชุมชนในพื้นที่เป้าหมายเกิดความสับสน ทำให้แนวทางในการแก้ไขไม่ได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณได้ เนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะ 1. ด้านการทำความเข้าใจ ควรมีการทำความเข้าใจต่อโครงการ เนื่องจากมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและต่างมีความเข้าใจ ในวัตถุประสงค์ ที่มีการดำเนินงานแตกต่าง ทำให้ชุมชนในพื้นที่เป้าหมายเกิดความสับสน ทำให้แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในการทำความเข้าใจกับหน่วยงานระดับนโยบาย ระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ ในพื้นที่ควรมีการระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจนตลอดจนบทบาทหน้าที่ที่แต่ละหน่วยงานจะต้องทำความเข้าใจและรับทราบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและควรได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากรัฐบาล และการกำหนดระยะเวลาโครงการให้เหมาะสม 2. การบริหารจัดการด้านงบประมาณ ควรจะมีการกระจายงานด้านการกำหนดแผนงานประจำปี การเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการในระดับจังหวัดมาให้กับอำเภอท้องที่ เพื่อความรวดเร็วในการปฏิบัติงานและควรให้อำเภอจัดเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานโดยตรงเพื่อการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยต่างๆ 3. ปัญหาด้านภูมิศาสตร์ เช่น พื้นที่อยู่ห่างไกล ภูเขาสูงชัน ทุรกันดาร ซึ่งยากแก่การเดินทางและการเข้าถึงพื้นที่เป้าหมาย ปัญหาความคลาดเคลื่อนในการติดต่อสื่อสารนอกจากนั้น ในเรื่องของปัญหาความพร้อมของชุมชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนเพื่อร่วมกันตรวจพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการและประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้ให้ชุมชนได้รับทราบ ประชากรในพื้นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและจริงใจที่จะมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและยอมรับ และปฏิบัติตามมติหรือกติกา หรือแนวทางที่คณะทำงานได้มีมติสรุปและดำเนินการอย่างจริงจัง การดำเนินงานจึงจะประสบความสำเร็จ | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.docx | Abstract (words) | 177.89 kB | Microsoft Word XML | View/Open |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 321.1 kB | Adobe PDF | View/Open |
FULL.pdf | Full IS | 3.79 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.