Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39795
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชูศรี เที้ยศิริเพชร-
dc.contributor.authorเบญจวรรณ ธุงศรีen_US
dc.date.accessioned2016-12-12T13:15:12Z-
dc.date.available2016-12-12T13:15:12Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39795-
dc.description.abstractThe study aimed to evaluate the usage of village fund software of Bank for Agriculture and Agricultural Co-operatives for village and urban community fund in Lampang province using involved concepts and theories, including concepts of accounting information systems, concepts to assess the quality of valuable village fund software, general knowledge about village fund, and general information about village fund accounting system software. All data were collected by questionnaire method and required responding information was obtained from interview the 81 village fund staff members, including presidents, accounting officers, and treasurers from 30 village funds in Lampang province. Data were analyzed using descriptive statistics such as frequency, percentage, and mean. The results found that the majority of respondents were female, older than 40 years with high school or vocational educational background, and had their net working life about 1-3 years, mainly worked in accounting operation with having been trained the use of computer and village fund software. In measure the level of cognitive understanding about the village fund accounting system software, high-level of cognitive understanding in the majority of the respondents had been found, showing firstly that the highest-level of cognitive understanding of the respondents in “Share information”, “Revenue–expense accounts posting”, “Financial statements reporting”, “Download transactions”, and “Year-end ledgers closing” function menus, had been represented. Secondly, the cognitive understanding of the respondents in “Members data”, “Loans data”, “Village fund data”, “Changing passwords”, and “BAAC contact” function menus had been obtained at higher-level. Thirdly, the moderate-level of cognitive understanding of the respondents had been derived from “Deposit data” menu. Most of the respondents could easily operate basic program application of the village fund accounting software, and access the financial statements and accounts function menus. When sorting on multiple of work experiences, the results found that respondents with work experience less than 3 years and 4-5 years had a highest-level of cognitive understanding, but the respondents with work experience more than 5 years indicated a medium deep understanding on the software applications. When separating by groups of work responsibility, its results showed respectively that the respondents from village fund accounting officer position presented a highest-level work cognitive understanding and the respondents from president and treasurer positions presented cognitive knowledge and understanding at higher-levels. When separating by groups of staff who had been trained to apply village fund accounting system software, the results offered that the respondents who had not been trained to use the village fund accounting system software had a higher-levels of work understanding. Moreover, the majority of respondents showed a higher-level of their deep understanding on fundamental work of village fund accounting system software, and they could post operating transactions of revenue and expenditure accounts. Moreover, for their attitudes about the necessary features of qualify software, the respondents revealed a highest-average-level of its reliability, followed by efficiency, usability, functionality, portability and maintainability. Most of respondents agreed that the software can be easily applied to their village fund accounting system. When sorting on multiple fields of work experiences, the respondents of all levels of work experience showed their opinion about qualified features of village fund accounting system software at higher-level. Moreover, when separating by various groups of work positions, it was found that the respondents in all positions of village fund presidents, accounting officers and treasurers showed a higher-level of their impression on the village fund accounting system software’s quality. When basing on the respondents who used to be trained of fund accounting system software, both of them whether achieve any training program or not, the required quality of village fund accounting system software features was at higher-level. Finally, the majority of respondents agreed that the village fund accounting system software can be easily applied to their organization system.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectระบบบัญชีen_US
dc.subjectกองทุนหมู่บ้านen_US
dc.subjectธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรen_US
dc.titleการประเมินผลการใช้โปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้านของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำหรับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeEvaluation of applying village fund software of bank for agriculture and agricultural co-operatives for village and urban community funds in Lampang Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc657.0285-
thailis.controlvocab.thashการบัญชี -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์-
thailis.controlvocab.thashการบัญชี -- การประมวลผลข้อมูล-
thailis.controlvocab.thashระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ -- การบัญชี-
thailis.controlvocab.thashกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง -- ลำปาง-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 657.0285 บ532ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินผลการใช้โปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้านของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำหรับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดลำปาง โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องคือ แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินคุณลักษณะของซอฟท์แวร์ที่มีคุณภาพ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้าน และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจาก ประธานกองทุนหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่บัญชี และเหรัญญิก ของกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดลำปาง จำนวน 30 หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 81 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 40 ปี มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ปวช. อายุการทำงาน 1-3 ปี ส่วนใหญ่ทำหน้าที่ในงานบัญชี เคยผ่านการอบรมการใช้คอมพิวเตอร์และการอบรมการใช้โปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้าน ในการวัดระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้าน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจเรื่องต่อไปนี้อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ เมนูข้อมูลหุ้น เมนูการบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่าย เมนูรายงานงบการเงิน เมนูดาวน์โหลด และเมนูการปิดบัญชีสิ้นปี รองลงมาคือ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจเรื่องต่อไปนี้อยู่ในระดับมาก ได้แก่ เมนูข้อมูลสมาชิก เมนูข้อมูลเงินกู้ เมนูข้อมูลกองทุน เมนูเปลี่ยนรหัสผ่าน และเมนูติดต่อ ธ.ก.ส. ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจเรื่องต่อไปนี้อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ เมนูข้อมูลเงินฝาก โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่สามารถใช้งานพื้นฐานของโปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้านได้ และสามารถเรียกดูงบการเงินของกองทุนหมู่บ้านได้ เมื่อแยกตามกลุ่มอายุงาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุงานน้อยกว่า 3 ปีและอายุงาน 4-5 ปี มีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุงานมากกว่า 5 ปี มีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกตามกลุ่มตำแหน่งหน้าที่ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามตำแหน่งเจ้าหน้าที่บัญชี มีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามตำแหน่งประธานกองทุนและเหรัญญิก มีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกตามกลุ่มคนที่เคยอบรมการใช้งานโปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งที่เคยและไม่เคยอบรมการใช้โปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจถึงการใช้งานพื้นฐานของโปรแกรมระบบบัญชีกองทุน และสามารถบันทึกการรับ-จ่ายเงินจากการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของซอฟท์แวร์ที่มีคุณภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก พบว่า ในด้านความน่าเชื่อถือ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านประสิทธิภาพ ด้านความสามารถในการใช้งาน ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านความสามารถในการโอนย้ายระบบ และด้านความสามารถในการบำรุงรักษา โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่า โปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้านสามารถประยุกต์ใช้กับระบบงานของกองทุนหมู่บ้านได้ง่ายและตอบสนองความต้องการได้อย่างครบถ้วน เมื่อแยกตามกลุ่มอายุงาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทุกช่วงอายุงาน มีความเห็นว่า โปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้านมีคุณลักษณะของซอฟท์แวร์ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกตามกลุ่มตำแหน่งหน้าที่ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งตำแหน่งประธานกองทุน เจ้าหน้าที่บัญชีและเหรัญญิก มีความเห็นว่า โปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้านมีคุณลักษณะของซอฟท์แวร์ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกตามกลุ่มคนที่เคยอบรมการใช้งานโปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งที่เคยและไม่เคยอบรมการใช้โปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้าน มีความเห็นว่า โปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้านมีคุณลักษณะของซอฟท์แวร์ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่า โปรแกรมระบบบัญชีกองทุนหมู่บ้านสามารถประยุกต์ใช้กับระบบงานขององค์กรได้ง่ายen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdf ABSTRACT290.08 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX627.65 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1252.94 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2543.01 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 3.pdf CHAPTER 3318.17 kBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 41.22 MBAdobe PDFView/Open
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5367.32 kBAdobe PDFView/Open
CONTENT.pdfCONTENT218.72 kBAdobe PDFView/Open
COVER.pdfCOVER414.95 kBAdobe PDFView/Open
REFERENCE.pdfREFERENCE236.19 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.