Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39733
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญประภา ศิวิโรจน์-
dc.contributor.authorศิลิลทิพย์ ธงยี่สิบen_US
dc.date.accessioned2016-12-09T08:23:48Z-
dc.date.available2016-12-09T08:23:48Z-
dc.date.issued2557-11-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39733-
dc.description.abstractThe objective of this study was to investigate the relationship between overweight perception, body image, and body satisfaction with body weight control among female adolescents. This study was done on 310 female high school students in Phare province. The tools used in this study weretaken from The Body Shape Questionnaire Scale and the Body Satisfaction Scale.The data was analyzed using the descriptive statistics, Chi- square, and t-test. The results are summarized below: 1. Almost students had slim body mass index (61%). Body weight perception of students was the most satisfied in the range 34-40 kg. (43.5%), followed by overweight (19.7%), quite thin (7.4%) and getting fat (6.8%), respectively. 2. Most students who studying in grade 5 had overweight perception; think that they are getting fat (91.4%) and grade 4 students think that they are slim had 53.5%. While the comparison between theoverweight perceptionswithBMI found,the students who consider themselves overweight compared with BMI were in the range of had slim number of 131 peoples (63.9%). 3. Perceived their body image of female students’ interpretation and no worried in shape. If classified according to a range of anxiety in shape, it was found that the majority of students had no anxiety about their body shape (67.4%), follow by low anxiety (20.0%), medium anxiety (9.7%), and high anxiety (2.9%), respectively. 4. In regard to satisfaction with the body shape, the most of students were satisfied with their overall shape was low. When considering the head, students were satisfied at a low level in terms of the face, mouth and nose (5.1%, 4.8% and4.8% respectively). The body satisfaction was low in the abdomen (5.4%) and the limb wassatisfied at a low level in terms of the legs and arms (5.1% and 5.1% respectively). 5. The weight control found that most studentshad weight loss (71.3%), and 28.7% had no control weighting by using diet to control (63.9%), followed by controlled by exercise (51.0%) and control by others means, with the use of diet pill (16.8%), used a weight loss product (11.0%) and had used liposuction (0.6%), respectively. 6. The relationship between overweight perceptions, body image, and body satisfaction with weight control of female students found that the perception of overweightwas associated with weight control statistically significantly at 0.05.While the mean scores between the bodyimage, body satisfaction with weight control had no significant difference of 0.05 significantly level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectน้ำหนักเกินen_US
dc.subjectรูปร่างen_US
dc.subjectวัยรุ่นหญิงen_US
dc.titleการรับรู้ภาวะน้ำหนักเกิน ภาพลักษณ์และความพึงพอใจต่อรูปร่างของวัยรุ่นหญิงen_US
dc.title.alternativeOverweight perception body image and satisfaction among female adolescentsen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc616.398-
thailis.controlvocab.thashสตรีน้ำหนักเกิน-
thailis.controlvocab.thashโรคอ้วน-
thailis.manuscript.callnumberว 616.398 ศ373ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะน้ำหนักเกิน ภาพลักษณ์รูปร่างและความพึงพอใจต่อรูปร่างกับการควบคุมน้ำหนักของวัยรุ่นหญิงทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งหนึ่งในจังหวัดแพร่ จำนวน 310 คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นด้วยตนเอง และนำมาจากแบบวัดThe Body Shape Questionnaire และแบบวัดความพึงพอใจต่อรูปร่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าไคส์แควร์ และ t-test ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกายสมส่วน (ร้อยละ 66.1) ส่วนน้ำหนักตัวที่ตนเองพอใจมากที่สุดคืออยู่ในช่วง 34-40 กิโลกรัม (ร้อยละ 43.5) รองลงมาคือ ท้วม (ร้อยละ 19.7) ค่อนข้างผอม (ร้อยละ 7.4) และเริ่มอ้วน (ร้อยละ 6.8) ตามลำดับ 2. นักเรียนส่วนใหญ่มีการรับรู้ต่อภาวะน้ำหนักเกินคือคิดว่าตัวเองเริ่มอ้วนและเป็นผู้ที่เรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ร้อยละ 91.4) และที่คิดว่าตัวเองมีรูปร่างสมส่วนแล้วเรียนอยู่ในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 53.5 ตามลำดับ ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างการรับรู้ภาวะน้ำหนักเกินกับค่าดัชนีมวลกายพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่คิดว่าตนเองอ้วนแต่เมื่อเปรียบเทียบกับค่าดัชนีมวลกายแล้วพบว่า เป็นผู้ที่อยู่ในช่วงของความสมส่วนมีจำนวน 131 คน (ร้อยละ 63.9) 3. การรับรู้ภาพลักษณ์รูปร่างของตนเองของนักเรียน แปลผลแล้วไม่มีความกังวลในรูปร่าง หากจำแนกตามช่วงของความวิตกกังวลในรูปร่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีความวิตกกังวลในรูปร่าง(ร้อยละ 67.4) รองลงมาคือ มีความวิตกกังวลในรูปร่างต่ำ (ร้อยละ 20.0) มีความวิตกกังวลในรูปร่างปานกลาง (ร้อยละ 9.7) และมีความวิตกกังวลในรูปร่างสูง (ร้อยละ 2.9)ตามลำดับ 4. ความพึงพอใจต่อรูปร่างของตนเองของนักเรียนพบว่า ส่วนใหญ่พึงพอใจต่อรูปร่างของตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ เมื่อแยกเป็นส่วนหัวมีความพึงพอใจอยู่ในระดับต่ำในเรื่องของ ใบหน้า ปาก จมูก (ร้อยละ 5.1 4.8 และ 4.8) ตามลำดับ ส่วนลำตัวมีความพึงพอใจอยู่ในระดับต่ำในเรื่องของหน้าท้อง (ร้อยละ 5.4) และส่วนรยางค์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับต่ำในเรื่องของแขน ขา ร้อยละ 5.1 และ 5.1) ตามลำดับ 5. นักเรียนส่วนใหญ่เคยควบคุมน้ำหนัก (ร้อยละ 71.3) และที่ไม่เคยควบคุมน้ำหนักมีร้อยละ 28.7 โดยเป็นการควบคุมด้วยวิธีการควบคุมอาหารมากที่สุด (ร้อยละ 63.9) รองลงมาคือควบคุมด้วยการออกกำลังกาย (ร้อยละ 51.0)ส่วนการควบคุมด้วยวิธีอื่นมีเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น ได้แก่การใช้ยาลดน้ำหนัก (ร้อยละ 16.8) การใช้ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก (ร้อยละ 11.0) และการดูดไขมัน (ร้อยละ 0.6) ตามลำดับ 6. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะน้ำหนักเกิน ภาพลักษณ์รูปร่างและความพึงพอใจต่อรูปร่างกับการควบคุมน้ำหนักของนักเรียนพบว่า การรับรู้ภาวะน้ำหนักเกินมีความสัมพันธ์กับการควบคุมน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างภาพลักษณ์รูปร่างและความพึงพอใจต่อรูปร่างกับการควบคุมน้ำหนักไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en_US
Appears in Collections:GRAD-Health Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)55.98 kBMicrosoft Word XMLView/Open
FULL.pdfFull IS3.74 MBAdobe PDFView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract249.99 kBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.