Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39702
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปิยะลักษณ์ พุทธวงศ์ | - |
dc.contributor.advisor | จารึก สิงหปรีชา | - |
dc.contributor.author | อรรถพันธ์ สารวงศ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-08T08:18:41Z | - |
dc.date.available | 2016-12-08T08:18:41Z | - |
dc.date.issued | 2557 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39702 | - |
dc.description.abstract | Wetlands are very important natural resources that provide a wide range of services and make human well-being. In Thailand, wetlands are under pressure about losing and degeneration because some wetlands were converted to support social and economic development activities. To support public decision making, policy makers need to know the environmental value of wetland in order to assess the social cost of wetland conversion. However, there are several important wetlands in Thailand have not been valuated yet because a primary study of environmental valuation is budget and time-consuming. This study aimed to assess a recreational value of wetlands in Thailand using value transfer method which is secondary approach. This study collected 54 wetland valuation studies in Thailand and Asia during 1989 - 2012. The selected studies yielded 98 observations in total. For analysis, the recreational values of wetland was standardized to US$ per person per visit price 2012. The mean and median values were 76.79 and 10.44 US$ per person per visit respectively. The meta-regression was estimated by a multilevel modelling approach in order to control for authorship effects. In this study, it was proved that authorship effect was 18% of total variance in values. This implied that the variation in valued can be highly attributed to differences among authors. The estimated regression showed that the factors determining a recreational value of wetlands were (1) site characteristics, (2) socio-economic characteristics and (3) valuation methods. The size of wetland had significantly positive impact on the value. It was found that for types of recreational activities, boating tended to provide significantly lower value estimates. For socio-economic characteristic, it was shown that tourists’ income has a significantly positive relationship to the estimated value. For valuation method, Travel Cost Method (TCM) provided significantly high value estimates than other methods. Compared to other studies, the average transfer error from our meta-regression function was relatively high (147 %). For estimated meta-regression, it can use to estimate recreational value of wetland in Thailand, the values have range between 8.97 US$ - 60.72 US$ per person per visit or about 278.63 Baht - 1,887.30 Baht per person per visit. Therefore, benefit transferred values from our model should be carefully used and policy makers should consult experts if any modification is necessary. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | พื้นที่ชุ่มน้ำ | en_US |
dc.title | การประเมินมูลค่าเชิงนันทนาการของพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย โดยวิธีการโอนมูลค่า | en_US |
dc.title.alternative | Recreational value of Wetlands in Thailand using value transfer method | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 338.521 | - |
thailis.controlvocab.thash | พื้นที่ชุ่มน้ำ | - |
thailis.controlvocab.thash | สิ่งแวดล้อม -- แง่เศรษฐกิจ | - |
thailis.controlvocab.thash | มูลค่า (เศรษฐศาสตร์) | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว 338.521 อ177ก | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | พื้นที่ชุ่มน้ำ ถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณประโยชน์ที่หลากหลายต่อมนุษย์ รวมถึงคุณประโยชน์ทางด้านนันทนาการ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นทรัพยากรมีลักษณะเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม ทำให้มักจะถูกประเมินมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็นในการตัดสินใจต่างๆ ที่มีกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณและคุณภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำ สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันพบว่าพื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่งกำลังถูกคุกคามด้วยกิจกรรมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม นำไปสู่การลดลงและความเสื่อมโทรมของพื้นที่ชุ่มน้ำ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะมีการประเมินมูลค่าพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อนำข้อมูลมูลค่าที่ได้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจและปรับปรุงนโยบายการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่งในประเทศไทยยังไม่ได้ถูกประเมินมูลค่าเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านต้นทุนการประเมินมูลค่าแบบปฐมภูมิที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและใช้ระยะเวลานานในการประเมินผล การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าเชิงนันทนาการของพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทยด้วยวิธีการประเมินแบบการโอนมูลค่า โดยได้รวบรวมข้อมูลมูลค่าความยินดีจ่ายเชิงนันทนาการจำนวน 98 มูลค่า จากงานการศึกษาปฐมภูมิทั้งหมด 54 งาน โดยมุ่งเน้นงานการศึกษาที่ประเมินมูลค่าทางด้านนันทนาการของพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมูลค่าถูกปรับให้เป็นหน่วยเดียวกัน คือ หน่วยดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อครั้ง ณ ราคาอ้างอิงปี พ.ศ. 2555 มีค่าเฉลี่ยมูลค่าเท่ากับ 76.79 และ 10.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณแบบจำลอง Meta-Regression โดยใช้การวิเคราะห์พหุระดับ (Multilevel Modeling) ผลการศึกษาพบว่า รายได้นักท่องเที่ยวและขนาดของพื้นที่ชุ่มน้ำมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับมูลค่าเชิงนันทนาการของพื้นที่ชุ่มน้ำ วิธีการประเมินมูลค่าแบบจำลองต้นทุนการท่องเที่ยวมีแนวโน้มจะให้มูลค่าความยินดีจ่ายสูงกว่าวิธีประเมินมูลค่ารูปแบบอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ตัวแปรกิจกรรมเชิงนันทนาการ พบว่ากิจกรรมล่องเรือมีแนวโน้มที่จะให้มูลค่าค่อนข้างต่ำอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับอิทธิพลของผู้แต่ง (Authorship effect) มีผลต่อความแปรปรวนของมูลค่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่ามีความแปรปรวนที่เกิดขึ้นกับมูลค่าเป็นผลมาจากผู้แต่งที่แตกต่างกันประมาณร้อยละ 18 นอกจากนี้ผลการทดสอบความคลาดเคลื่อนของการโอนมูลค่า พบว่ามีค่าความคลาดเคลื่อนค่อนข้างสูง เฉลี่ยร้อยละ 147 จากแบบจำลอง Meta-regression ที่ประมาณได้ จะสามารถคำนวณมูลค่าความยินดีจะจ่ายเชิงนันทนาการของพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทยโดยรวมได้ โดยมีมูลค่าอยู่ระหว่าง 8.97 - 60.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อครั้ง หรือประมาณ 278.63 - 1,887.30 บาทต่อคนต่อครั้ง สำหรับการนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในประเมินมูลค่า อาจจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ประกอบกัน เช่น วิจารณญาณของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบและยอมรับผลการโอนมูลค่า ในการประเมินมูลค่าด้วยวิธีการโอนมูลค่ายังคงมีความต้องการงานการศึกษาแบบปฐมภูมิที่มีคุณภาพเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และเพื่อผลการโอนมูลค่าที่มีความถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น | en_US |
Appears in Collections: | ECON: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 214.78 kB | Adobe PDF | View/Open |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 572.36 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 420.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 852.26 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 636.02 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 707.35 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 326.65 kB | Adobe PDF | View/Open |
CONTENT.pdf | CONTENT | 271.9 kB | Adobe PDF | View/Open |
COVER.pdf | COVER | 554.41 kB | Adobe PDF | View/Open |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 464.54 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.