Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39614
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวเรศ เชาวนพูนผล | - |
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์ | - |
dc.contributor.author | กฤตพล สารเข้าดำ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-10-04T09:38:20Z | - |
dc.date.available | 2016-10-04T09:38:20Z | - |
dc.date.issued | 2014-10 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39614 | - |
dc.description.abstract | This research used questionnaire to collect data, conducted to find out about attitude and satisfaction of members participated I the Seed Bank of Nong Kaew Royal Development Project Center. The populations in this study were current members of the project in total of 120 samples. The objective of this research was to study the attitude of the samples toward the project measured with Likert Scale. The satisfaction was studied and defied the relationships between samples’ personal factors and satisfaction in agricultural extension, increment of return after joining the project, agricultural outcomes and samples’ expectations on problems-solving from the project using Chi square test with statistic significant at 0.05. And to find out about the problems, obstacles and recommendations from the sample, descriptive statistic and analyze mean and standard derivation were used. The result of the research shows that the samples were mostly female, aged between 21-45 years old, uneducated, earn average income below 7500 baht per month, mostly farmers, family members between 4-5 peoples, farming labor less than 2 peoples, agricultural area less than 10 rais, grows cowpea objected to increase income, primary fund source is from personal savings and mostly prefer to send back and sell seeds at the Seed Bank project. Moreover, most members had joint the project between 1-3 years. The attitude toward the project; most samples agreed that the project was established for the farmer to join as a member, to increase the members’ income, because the farmers suggested that the project always buy the seed constantly at the suitable price so they give this topic the highest average score. The result of statistical hypothesis testing found out the relationship between samples’ personal factors; the duration joining the project affected the satisfaction on staff’s suggestion. The relationship between samples’ personal factors and their satisfaction on agricultural outcome; gender, age, education, agriculture areas affect the satisfaction. The relationship between samples’ personal factors and their satisfaction on problem solving expectation; agricultural labor and objective of growing cowpea affected the satisfaction. The research found that problem and obstacles the members thought was the project staff and funding problem. The samples mostly thought how the project buy the seeds into the bank twice a year was suitable and the time around December to January was the good time to do so. The income from cowpea was satisfied, soil in agricultural area was better. But most members still did not understand the objective, rules and regulations of the project and they suggested there should be a follow up meeting after the members joining the project. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ทัศนคติและความพึงพอใจของกลุ่มเกษตรกรผู้เข้าร่วมเป็น สมาชิกในโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช ของศูนย์พัฒนา โครงการหลวงหนองเขียว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Farmers' Attitudes and Satisfactions on Participating in Seed Bank of Nong Kaew Royal Development Project Center, Chiang Dao District, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล มุ่งศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของเกษตรกรที่เป็นสมาชิก ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว ซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกปัจจุบันของโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด (ถั่วพุ่มดำ) ในพื้นที่ดังกล่าว จำนวน 120 ราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของกลุ่มเกษตรกรที่มีต่อโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช (ถั่วพุ่มดำ) วัดทัศนคติด้วยมาตรวัดของ Likert scale และศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าเป็นสมาชิกที่มีต่อโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช (ถั่วพุ่มดำ) และหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจด้านการส่งเสริมการเกษตร ด้านผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมกลุ่มฯ ด้านผลผลิตหลังจากการเพาะปลูก ด้านความคาดหวังของเกษตรกรการแก้ไขปัญหาของกลุ่มฯ โดยใช้สถิติไคสแควร์ (chi square test) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และเพื่อทราบปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช (ถั่วพุ่มดำ) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ผลการศึกษาได้พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-45 ปี ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 7,500 บาท อาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร จำนวนสมาชิกในครัวเรือนอยู่ระหว่าง 4-5 คน จำนวนแรงงานที่ใช้ในการทำการเกษตรน้อยกว่า 2 คน พื้นที่ถือครองในการทำการเกษตรน้อยกว่า 10 ไร่ จุดประสงค์การเพาะปลูกถั่วพุ่มดำปลูกเพื่อเป็นรายได้เสริม แหล่งเงินทุนในการเพาะปลูกมาจากเงินทุนจากตัวเอง และสถานที่ในการนำส่งคืนและจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์คือศูนย์ พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว นอกจากนั้นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระยะเวลาเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการฯ อยู่ระหว่าง 1-3 ปี จากการศึกษาทัศนคติของเกษตรกรผู้เป็นสมาชิกสามารถสรุปได้ว่าเกษตรกรผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ได้เห็นความสำคัญในส่วนโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชจัดตั้งขึ้นเพื่อให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรให้ทัศนคติต่อโครงการว่ามีการรับซื้อเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรปลูกแน่นอนทุกครั้ง และพอใจกับราคาที่ทางโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์ได้รับซื้อคืน จึงทำให้หัวข้อนี้มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด ผลการศึกษาการทดสอบสมมติฐานหาความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรต่อความพึงพอใจของแต่ละด้าน พบว่าระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในด้านการส่งเสริมการเกษตร สำหรับการศึกษาในด้านผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเข้าร่วมกลุ่มฯ พบว่า เพศ อายุ การศึกษา ขนาดพื้นที่เพาะปลูก การเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในด้านนี้ และสำหรับการศึกษาในด้านผลผลิตหลังจากการเพาะปลูก พบว่า อายุ รายได้ ระยะเวลาการเข้าร่วมเป็นสมาชิก แหล่งเงินทุนในการเพาะปลูก เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในด้านนี้ สำหรับการศึกษาในด้านคาดหวังของเกษตรกรเรื่องการแก้ไขปัญหาของกลุ่มฯ พบว่า จำนวนแรงงานที่ใช้ในการเพาะปลูก จุดประสงค์ของการเพาะปลูก การเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการฯ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในด้านนี้ จากการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคพบว่ากลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่มองเห็นว่าปัญหาด้านการไม่มีเงินทุนในการเพาะปลูก ควรรับซื้อผลผลิตเมล็ดถั่วพุ่มดำ 2 ครั้งต่อปี ในช่วงเดือนธันวาคม และเดือนมกราคม และด้านผลผลิตหลังจากการเพาะปลูก พบว่าผลผลิตจากถั่วพุ่มดำเป็นไปตามความต้องการของเกษตรกร หลังการเพาะปลูกสภาพดินของพื้นที่เพาะปลูกมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น และด้านความคาดหวังของเกษตรกรในการแก้ไข้ปัญหาของกลุ่มเกษตรกร พบว่าโครงการไม่มีการจัดการประชุมและติดตามผลหลังจากเกษตรกรได้เข้าร่วมกลุ่มเป็นสมาชิกธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช อีกทั้งสมาชิกยังไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช และรายละเอียดของกฎข้อบังคับโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชเท่าที่ควร | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.docx | Abstract (words) | 58.12 kB | Microsoft Word XML | View/Open |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 283.45 kB | Adobe PDF | View/Open |
FULL.pdf | Full IS | 3.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.