Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39588
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล | - |
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดชา ทำดี | - |
dc.contributor.author | วัชเรนทร์ ถามา | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-09-28T09:10:33Z | - |
dc.date.available | 2016-09-28T09:10:33Z | - |
dc.date.issued | 2015-07 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39588 | - |
dc.description.abstract | The implementation of community diet and physical activity clinics is a service designed to change the health behaviors of people in the community according to the regulations of the Public Health Department. This descriptive study aimed to analyze diet and physical activity clinic implementation among people with pre-diabetes in the Nong Daeng sub-district community. The study was conducted with 20 facilitators and 72 acceptors. Data were collected via interviews and questionnaires. The questionnaires had a content validity index of 0.86 and reliability of 0.91. Data were analyzed by using descriptive statistics and content categorization. In terms of policy and place, it was found that 1) the community did not participate in defining implementation policy, 2) the plan and project conformed to the policy, 3) the policy was not widely or continually publicized in all services areas, and 4) people easily accessed the clinic, but in uncertain ratios. In terms of staff and personnel, it was revealed that 1) the structure and responsibilities of the staff were explicit, 2) there were at least 2-3 operator in the clinic, 3) 37.5 percent of the operators passed the training criteria, and 4) not every operators attended annual knowledge improvement events. In terms of service, supervision, follow-up, and evaluation, it was found that 1) the service procedures complied with the regulations of the Public Health Department, 2) the data record was not detailed enough for planning to change behavior, 3) there was a lack of continuous follow-up, and 4) the evaluation did not cover the criteria. This independent study provides basic information which could help the creation of an effective development plan for diet and physical activity clinics designed to serve people with pre-diabetes, especially regarding policy specification and propagation, clinic location selection in community, team work formation, man power arrangement and personnel development, service systems and procedure improvements, provision, follow-up, and evaluation. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานคลินิกไร้พุงในผู้ที่มีภาวะ ก่อนเบาหวาน ในชุมชนตำบลหนองแดง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน | en_US |
dc.title.alternative | Situational Analysis of Diet and Physical Activity Clinic Implementation Among Persons with Prediabetes in Nong Daeng Sub-district Community, Mae Charim District, Nan Province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การดำเนินงานคลินิกไร้พุงในชุมชน เป็นบริการที่ออกแบบสำหรับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน ตามแนวปฏิบัติของกรมอนามัย การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานคลินิกไร้พุงในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน ในชุมชนตำบลหนองแดง ศึกษาจากประชากรกลุ่มผู้ให้บริการ 20 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการ 72 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น โดยแบบสอบถามมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.86 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการจัดหมวดหมู่เนื้อหา ผลการศึกษา ด้านนโยบายและสถานที่พบว่า 1)ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดนโยบายการดำเนินงาน 2)แผนงานและโครงการสอดคล้องกับนโยบาย 3)การเผยแพร่นโยบายไม่ต่อเนื่องและไม่ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ 4)ที่ตั้งของคลินิกไร้พุงในชุมชนประชาชนเข้าถึงง่าย แต่ไม่เป็นสัดส่วน ด้านทีมงานและบุคลากรพบว่า 1)มีโครงสร้างและหน้าที่ของผู้รับผิดชอบงานชัดเจน 2)มีผังผู้ปฏิบัติงานคลินิกไร้พุงในแต่ละชุมชน อย่างน้อย 2 – 3 คน 3)ผู้ปฏิบัติงานร้อยละ 37.5 ผ่านการอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด 4)ผู้ปฏิบัติงานเข้ารับการฟื้นฟูความรู้ทุกปีแต่ไม่ครบทุกคน ด้านการให้บริการ ดูแลกำกับ ติดตามและประเมินผลพบว่า 1)ขั้นตอนการให้บริการสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของกรมอนามัย แต่ขาดการประเมินความพร้อมของผู้รับบริการก่อนให้บริการ 2)การบันทึกข้อมูลบริการไม่ละเอียดพอที่จะนำมาวางแผนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3)ขาดความต่อเนื่องในการติดตามผู้รับบริการ 4)การประเมินผลไม่ครอบคลุมตามเกณฑ์ที่กำหนด การศึกษาครั้งนี้ ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาคลินิกไร้พุงสำหรับผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานในชุมชน โดยเฉพาะการกำหนดและเผยแพร่นโยบาย การคัดเลือกที่ตั้งคลินิกในชุมชน การสร้างทีมงาน การจัดอัตรากำลังและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การปรับปรุงระบบและขั้นตอนการให้บริการ การดูแลกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.docx | Abstract (words) | 178.86 kB | Microsoft Word XML | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 271.96 kB | Adobe PDF | View/Open |
FULL.pdf | Full IS | 4.35 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.