Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39562
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์ ดร. ดวงฤดี ลาศุขะ | - |
dc.contributor.author | กันตา รัตนคช | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-09-28T04:42:42Z | - |
dc.date.available | 2016-09-28T04:42:42Z | - |
dc.date.issued | 2557-12 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39562 | - |
dc.description.abstract | Hypertension is the most common chronic disease among the elderly which can result in dangerous complications if their blood pressure is not controlled. Self-care ability is an important factor in controlling blood pressure. This operational study aimed to evaluate the effectiveness of clinical practice guidelines implementation for promoting self-care ability among elderly with hypertension who received services at Maetha Hospital in Lampang province between May to August 2014. The subjects consisted of 3 registered nurses and 60 elderly with hypertension who had low or lowest levels of self-care ability scores. The research instrument was the Clinical Practice Guidelines (CPGs) for Promoting Self-Care Ability Among Elderly with Hypertension, developed by Somrat (2008). The effectiveness of Clinical Practice Guidelines implementation was evaluated based on clinical outcomes including self-care ability, satisfaction with care received according to the guidelines, and satisfaction of nurses. Data were analyzed using descriptive statistics. The results of this study revealed that: 1. Patients receiving usual care received low and lowest levels of self-care ability scores, 0.17 and 0.83 respectively. Comparatively, patients receiving care based on the CPGs received high and highest levels of self-care ability scores, 0.33 and 0.67, respectively. 2.All nurses had high levels of satisfaction with the CPGs. 3. All patients had high levels of satisfaction with the service received based on the CPGs. Study results indicate that the clinical practice guidelines was successful in promoting the self-care ability of the elderly with hypertension. Therefore, registered nurses are encouraged to use these CPGs to improve the quality of care of the elderly with hypertension who receive services at Maetha Hospital. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | Self care | en_US |
dc.subject | Hypertension | en_US |
dc.title | ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลแม่ทะ จังหวัดลำปาง | en_US |
dc.title.alternative | Effectiveness of clinical practice guidelines implementation for promoting self-care ability of elderly with hypertension, Maetha Hospital, Lampang province | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.classification.ddc | W 4 | - |
thailis.controlvocab.mesh | Self care -- in old age | - |
thailis.controlvocab.thash | Hypertension | - |
thailis.manuscript.callnumber | W 4 ก215ป 2557 | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถ้าไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ความสามารถในการดูแลตนเอง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยควบคุมความดันโลหิต การศึกษาเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับส่งเสริมความสามารถ ในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลแม่ทะ จังหวัดลำปาง ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557 ประชากรเป็นพยาบาลทีมผู้ดูแล จำนวน 3 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 60 คน ซึ่งมีคะแนนความสามารถในการดูแลตนเองอยู่ในระดับน้อยหรือน้อยที่สุด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงของ จิตรดา สมรัตน์ (2551) ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกประเมินจากผลลัพท์ได้แก่ ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต่อการได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติทางคลินิก และความพึงพอใจของพยาบาลทีมผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลตนเองตามปกติมีความสามารถในการดูแลตัวเองในระดับน้อย และน้อยที่สุด คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 0.17 และ 0.83 ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองตามแนวปฏิบัติทางคลินิก มีความสามารถในการดูแลตนเองในระดับมากและมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน เท่ากับ 0.33 และ 0.67 ตามลำดับ 2. ความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับมาก 3. ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง สามารถส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีความสามารถในการดูแลตนเองได้ ดังนั้น พยาบาลควรนำวิธีการนี้ ไปปรับปรุงคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่โรงพยาบาลแม่ทะ | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.docx | Abstract (words) | 184.39 kB | Microsoft Word XML | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 217.59 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
FULL.pdf | Full IS | 4.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.