Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39535
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิกุล นันทชัยพันธ์ | - |
dc.contributor.author | ยุพาวรรณ สิงห์สุภา | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-09-28T02:53:32Z | - |
dc.date.available | 2016-09-28T02:53:32Z | - |
dc.date.issued | 2558-07 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39535 | - |
dc.description.abstract | The management of patients with end stage renal disease is supportive through renal replacement therapy with hemodialysis. Hemodialysis is done through a surgically created arteriovenous fistula which is prone to complications such as thrombosis, infection, and aneurysm. Care for a permanent hemodialysis vascular access is very important for healthcare providers and patients. This operational study aimed to determine the effectiveness of implementing care guidelines for persons with permanent hemodialysis vascular access. This guideline was developed by the multidisciplinary care team of a university hospital. The participants of the study consisted of 25 patients undergoing permanent hemodialysis vascular access, 13 before and 12 after the guideline implementation. The guideline was implemented by 13 nurses who care for those patients. The process of CPGs implementation was based on the evidence implementation framework proposed by the National Health & Medical Research Council (1999). A care behavior assessment questionnaire, developed by the researcher, was used to evaluate the outcome of CPGs implementation. Data were analyzed by using descriptive statistics. The result of study revealed that among participants who did not receive care according to the guideline, 10 participants had a moderate level of care behavior and the rest had a low level. For the participants who received care according to the guidelines, 8 participants had a good level while 4 had a moderate level of care behavior. The findings of this study confirm that the developed guidelines can be used to promote better care behavior among persons with permanent hemodialysis vascular access. Further study should be done to test the effectiveness of guideline implementation over a longer period of time in order to ascertain the sustainability of the outcome. Other outcomes of using these guidelines should be tested too. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การพยาบาล | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล | en_US |
dc.title | ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลสำหรับผู้ที่ได้รับ การผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดชนิดถาวรสำหรับการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Effectiveness of implementing care guidelines for persons with permanent hemodialysis vascular access, Maharaj Nakorn Chiang Mai hospital | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.classification.ddc | 610.7306 | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล | - |
thailis.controlvocab.thash | การพยาบาล | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้ป่วย -- การดูแล | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 610.7306 ย462ป | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การจัดการผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย คือ การสนับสนุนโดยการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การฟอกเลือดทำโดยการผ่าตัดทำทางเชื่อมหลอดเลือดซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน การติดเชื้อ และหลอดเลือดโป่งพอง เป็นต้น การดูแลทางเชื่อมหลอดเลือดชนิดถาวรสำหรับการฟอกเลือดมีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ให้บริการสุขภาพและผู้ป่วย การศึกษาปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลสำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดชนิดถาวรสำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แนวปฏิบัตินี้สร้างขึ้นโดยทีมดูแลจากสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผู้ร่วมการศึกษาประกอบด้วยผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทำทางเชื่อมหลอดเลือดจำนวน 25 คน แบ่งเป็นกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติ 13 คน และ หลังใช้แนวปฏิบัติ 12 คน แนวปฏิบัติถูกนำไปใช้โดยพยาบาลที่ให้การดูแลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 13 คน กระบวนการใช้แนวปฏิบัติอิงตามกรอบการใช้แนวปฏิบัติจากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เสนอโดยสภาวิจัยด้านสุขภาพและการแพทย์ ประเทศออสเตรเลีย (National Health & Medical Research Council, 1999) ประเมินผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติด้วยแบบวัดพฤติกรรมการดูแลหลอดเลือดที่เชื่อมต่อชนิดถาวรที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าในกลุ่มผู้ร่วมการศึกษาที่ไม่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติมีจำนวน 10 คนที่มีการปฏิบัติการดูแลในระดับปานกลาง และอีก 3 คนอยู่ในระดับเล็กน้อย สำหรับผู้ร่วมการศึกษากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติมีจำนวน 8 คนที่มีการปฏิบัติการดูแลในระดับดี และอีก 4 คนอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาครั้งนี้ยืนยันได้ว่าแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลที่ดีกว่าในกลุ่มผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดชนิดถาวรสำหรับการฟอกเลือด การศึกษาครั้งต่อไปควรทำการทดสอบประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นเพื่อยืนยันความยั่งยืนของผลลัพธ์ และควรมีการทดสอบผลลัพธ์อื่นๆ ของแนวปฏิบัติด้วย | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.docx | Abstract (words) | 49.77 kB | Microsoft Word XML | View/Open Request a copy |
ABSTRACT.pdf | Abstract | 148.23 kB | Adobe PDF | View/Open |
FULL.pdf | Full IS | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.