Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39502
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กนกพร สุคำวัง-
dc.contributor.authorจุติพงษ์ ศรีตนไชยen_US
dc.date.accessioned2016-08-19T08:56:42Z-
dc.date.available2016-08-19T08:56:42Z-
dc.date.issued2015-03-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39502-
dc.description.abstractMild cognitive impairment is a common disorder in the aging process during which the elderly will gradually suffer from memory loss. Regular memory training is one strategy to promote cognitive function and delay impairment. The purpose of this operational design study was to evaluate the effectiveness of a memory training program among the elderly with mild cognitive impairment, Pua District, Nan Province. The model of the Registered Nurses Association of Ontario (RNAO, 2012) was used as a framework for this study. The study was conducted during November, 2013 to January, 2014. Thirty elderly with mild cognitive impairment were purposely recruited and equally separated into experimental and control groups ensuring the similarity of age educational level and memory score. The experimental group was subjected to the Memory Program of Wilawan Chaiwong (2005), whereas the control group did not receive a memory training program. The instruments for data collection consisted of the Demographic Data Recording Form for the elderly with mild cognitive impairment, the Demographic Data Recording Form for the Health Care Team, a Memory Scale, and a Satisfaction Questionnaire for the Elderly and a Satisfaction Questionnaire for the Health Care Team. The data were analyzed using descriptive statistics. The results of this study revealed that: 1. The elderly with mild cognitive impairment who received the memory training program 11 from 15 (73.33%) had increased memory on the first day and all of them (100 %) had increased memory by the fourteenth day. Whereas 5 from 15 (33.33%) elderly with mild cognitive impairment who did not receive the memory training program had increased memory on the first day and only 2 from 15 (13.33%) showed an increased at the fourteenth day. 2. All of the elderly who received the memory training program were highly satisfied with the program . 3. All of health care team were highly satisfied with the memory training program implementation. The results of this study confirmed the effectiveness of the memory training program implementation for improving memory among elderly with mild cognitive impairment. It was suggested that the program should be used for promoting memory ability of the elderly.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมฝึกความจำในผู้สูงอายุ ที่มีภาวะความจำบกพร่องเล็กน้อย อำเภอปัว จังหวัดน่านen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of Memory Training Program Implementation Among Elderly with Mild Cognitive Impairment, Pua District, Nan Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractภาวะความจำบกพร่องเล็กน้อยเป็นความผิดปกติที่พบได้ในกระบวนผู้สูงอายุโดยผู้สูงอายุจะค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงของความจำ การฝึกความจำอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นกลวิธีที่ช่วยให้ผู้สูงอายุ มีความจำดีขึ้นและชะลอความจำเสื่อมได้ การศึกษาเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมฝึกความจำในผู้สูงอายุที่มีภาวะความจำบกพร่องเล็กน้อย ณ ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยใช้กรอบแนวคิดการประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกของสมาคมพยาบาลออนทาริโอ (RNAO, 2012) ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 30 ราย แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย โดยทั้ง 2 กลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุ ระดับการศึกษา และระดับคะแนนความจำ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฝึกความจำของ วิลาวัณย์ ไชยวงศ์ (2548) ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมฝึกความจำ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุที่มีภาวะความจำบกพร่องเล็กน้อย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของทีม แบบวัดความจำ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุ และแบบประเมินความพึงพอใจของทีมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้สูงอายุ 11 คน จาก 15 คน (ร้อยละ 73.33) ที่ได้รับโปรแกรมฝึกความจำ มีความสามารถในการจำเพิ่มขึ้นในวันที่ 1 และภายหลังการได้รับโปรแกรม วันที่ 14 ทุกคนมีความจำเพิ่มขึ้น (ร้อยละ100) ในขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับโปรแกรมฝึกความจำ 5 คน จาก 15 คน (ร้อยละ 33.33) มีความสามารถในการจำเพิ่มขึ้นในวันที่ 1 และภายหลังการได้รับโปรแกรมวันที่ 14 เพิ่มขึ้นจำนวน 2 คน (ร้อยละ 13.33) 2. ผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมฝึกความจำทุกคน (ร้อยละ 100) มีความพึงพอใจต่อการได้รับการดูแลตามโปรแกรมฝึกความจำในระดับมาก 3. ทีมผู้ดูแลทั้งหมด (ร้อยละ 100) มีความพึงพอใจต่อการนำโปรแกรมฝึกความจำไปใช้ในระดับมาก ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมฝึกความจำสำหรับการส่งเสริมความสามารถในการจำของผู้สูงอายุที่มีภาวะความจำบกพร่องเล็กน้อย สามารถส่งเสริมความสามารถด้านความจำของผู้สูงอายุที่มีภาวะความจำบกพร่องเล็กน้อย ณ ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน ได้ ดังนั้น จึงควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการส่งเสริมความจำในผู้สูงอายุที่มีภาวะความจำบกพร่องเล็กน้อยต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)176.01 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract169.81 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS4.14 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.