Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39427
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ชูศรี เที้ยศิริเพชร-
dc.contributor.authorปรีชญา ธรรมลังกาen_US
dc.date.accessioned2016-07-14T08:49:55Z-
dc.date.available2016-07-14T08:49:55Z-
dc.date.issued2558-11-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39427-
dc.description.abstractThe purpose of this independent study was to study and compare the investment tax incentives of Thailand and Myanmar. The study collected data from tax laws and investment laws of Thailand and Myanmar from related journal articles, websites, and interviews with the board of investment of Thailand’s officers. The data were compared to determine the tax incentives in each country. The results from this study show that in regard to personal income tax, Thailand offers more tax benefits for tax exemption than Myanmar by exempting tax for higher income than Myanmar. In regard to benefits for tax rates, for incomes lower than 2 million baht, Thailand offers more benefits than Myanmar. However, for incomes higher than 2 million baht, Myanmar offers more benefits than Thailand. In terms of corporate income tax, Thailand offers more benefits than Myanmar because the tax rate of Thailand is lower than Myanmar. Also, Thailand reduces tax rates for SMEs and gives benefits to deduct expenses from research and development (200%) and deducts depreciation at a special rate. Myanmar offers more benefits of profit transferring abroad than Thailand because Myanmar has no rules for profit transferring abroad while the tax rate of profit transferring abroad in Thailand is 10%. For withholding tax, Myanmar offers more benefits for interest and dividends than Thailand. Myanmar has no withholding tax on interest payments to their residents or on dividend payments to both residents and non-residents. Thailand and Myanmar have different consumption tax. Thailand imposed value added tax at a rate of 0% - 7%, and exempted the value added tax for 19 types of goods (not export goods) and services whereas Myanmar imposed commercial tax at a rate of 0% - 120%, depending on the goods and service type and exempted commercial tax for 79 types of goods and 23 types of services. As for the tax incentives for promoting investment, Thailand offers more benefits than Myanmar in tax exemption term and losses term to deduct expenses. However Myanmar offers more benefits than Thailand in tax rate deduction term, tax exemption for reinvestment, tax exemption for export profits, and import duty exemption. The benefits of Double Tax Agreements (DTA) between Thailand and Myanmar demonstrate that income from dividends, interest and royalties impose ceiling tax rates. The method for the elimination of double taxation is Ordinary Tax Credit.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ทางภาษีการลงทุนระหว่างประเทศไทยและเมียนมาร์en_US
dc.title.alternativeA Comparative Study of Investment Tax Incentives of Thailand and Myanmaren_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ทางภาษีการลงทุนระหว่างประเทศไทยและเมียนมาร์ โดยเก็บข้อมูลจากกฎหมายภาษี กฎหมายการส่งเสริมการลงทุน ของประเทศไทยและเมียนมาร์ รวมถึงวารสาร บทความและเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการลงทุน แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบเพื่อให้ทราบสิทธิประโยชน์ทางภาษีการลงทุนในแต่ละประเทศ ผลการศึกษาพบว่าด้านการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประเทศไทยให้สิทธิประโยชน์ด้านการยกเว้นภาษีเงินได้มากกว่าประเทศเมียนมาร์ โดยยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ในจำนวนที่มากกว่า ส่วนสิทธิประโยชน์ในด้านอัตราภาษี หากมีเงินได้ต่ำกว่า 2 ล้านบาท ประเทศไทยจะให้สิทธิประโยชน์มากกว่า หากเงินได้เกิน 2 ล้านบาทประเทศเมียนมาร์จะให้สิทธิประโยชน์มากกว่า ด้านการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลพบว่าประเทศไทยให้สิทธิประโยชน์ในด้านอัตราภาษีมากกว่าประเทศเมียนมาร์ โดยประเทศไทยจัดเก็บในอัตราที่ต่ำกว่าประเทศเมียนมาร์ และประเทศไทยมีการลดอัตราภาษีสำหรับกิจการที่เป็น SMEs และให้สิทธิประโยชน์ในการหักค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาได้ 2 เท่า และสามารถหักค่าเสื่อมราคาได้ในอัตราพิเศษ ซึ่งประเทศเมียนมาร์ไม่ได้กำหนด ส่วนการโอนกำไรไปต่างประเทศเมียนมาร์ให้สิทธิประโยชน์มากกว่าเนื่องจากไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการจำหน่ายกำไรจึงไม่เสียภาษีหากมีการโอนกำไรไปต่างประเทศ ขณะที่ประเทศไทยให้เสียภาษีโดยหักภาษีในอัตราร้อยละ 10 ด้านการจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย พบว่า ประเทศเมียนมาร์ให้สิทธิประโยชน์สำหรับดอกเบี้ยและเงินปันผล โดยยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับดอกเบี้ยแก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศเมียนมาร์ และยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผล ซึ่งประเทศไทยไม่ได้ยกเว้น ประเทศไทยและประเทศเมียนมาร์มีการจัดเก็บภาษีจากการบริโภคที่แตกต่างกัน โดยประเทศไทยจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนประเทศเมียนมาร์จัดเก็บภาษีการค้า โดยประเทศไทยจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 - 7 และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้า (ที่มิใช่การส่งออก) หรือการให้บริการรวม 19 รายการ ส่วนประเทศเมียนมาร์จัดเก็บภาษีการค้าในอัตรา ร้อยละ 0 – 120 ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้าและบริการ และยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้า 79 รายการ และการให้บริการ 23 รายการ สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและเขตเศรษฐกิจพิเศษ พบว่า ไทยให้สิทธิประโยชน์มากกว่าในด้านระยะการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และระยะเวลาการนำผลขาดทุนมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ส่วนเมียนมาร์ให้สิทธิประโยชน์มากกว่าในด้านระยะเวลาการลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การยกเว้นภาษีหากนำกำไรกลับมาลงทุนใหม่ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรจากการส่งออก และการยกเว้นอากรขาเข้า ด้านสิทธิประโยชน์จากอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างไทยและเมียนมาร์ พบว่า มีการกำหนดเพดานอัตราภาษีสำหรับเงินได้ประเภท เงินปันผล ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ มีการขจัดภาษีซ้อนโดยวิธีเครดิตภาษีธรรมดา ผู้ที่มีเงินได้จากทั้ง 2 ประเทศได้รับสิทธิประโยชน์ในการนำภาษีที่เสียไปในประเทศแหล่งมาได้มาเป็นเครดิตหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในประเทศถิ่นที่อยู่en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.docxAbstract (words)56.77 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 166.93 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.