Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39404
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. ดาราวรรณ ต๊ะปินตา-
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. วรนุช กิตสัมบันท์-
dc.contributor.authorสันติ พรมนิมิตรen_US
dc.date.accessioned2016-07-13T09:55:05Z-
dc.date.available2016-07-13T09:55:05Z-
dc.date.issued2559-03-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39404-
dc.description.abstractCare of patients with amphetamine induced psychotic disorders affect the caregivers’ physical and psychological state as well as their social and economic status. The impact caused cognitive errors and negative feelings to the caregivers themselves then effected for caring of patient with amphetamine induced psychotic disorders. A positive self-talk can help to reduce depression. This study was one-group pre-test/post-test quasi-experimental study aimed to examine the effect of a positive self-talk training program on depression among caregivers of patients with amphetamine induced psychotic disorders. The sample in this study was thirteen caregivers with amphetamine induced psychotic disorders and depression with mild to moderate levels who took the patients admitted into an in-patients at Suan Prung Psychiatric Hospital, Chiang Mai Province, between September - December 2015. Research instruments consisted of: 1) Demographic Data Form, 2) 9-Item Thai Patient Health Questionnaire (Thai PHQ-9), and 3) the Positive Self-talk Training Program was modified from a Positive Self-talk Training Program by Kwanjit Mahakittikun (2005), based on the concept of Nelson-Jones (1990). The data was analyzed with descriptive statistics and the Wilcoxon Matched Pair Signed-Ranks Test. The results of this study found that scores of the depression of the caregivers of patients with amphetamine induced psychotic disorders after implemented the Positive Self-talk Training Program was significantly lower than the pre-test depression score (p < .05). The results of this study indicated that a Positive Self-talk Training Program could help to reduce depression in caregivers of patients with amphetamine induced psychotic disorders in Suan Prung Psychiatric Hospital, Chiang Mai Province. Therefore, it can used to test for caring caregivers of patients with amphetamine induced psychotic disorders.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวกต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตจากแอมเฟตามีน โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeEffect of Positive Self-talk Training Program on Depression Among Caregivers of Patients with Amphetamine Induced Psychotic Disorders, Suan Prung Psychiatric Hospital, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตจากแอมเฟตามีนส่งผลกระทบต่อผู้ดูแล ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ จากผลกระทบดังกล่าวทำให้ผู้ดูแลมีความคิดที่บิดเบือนและมีความคิดทางลบต่อตนเอง ทำให้ประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตจากแอมเฟตามีนลดลง การพูดกับตัวเองทางบวกสามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าลงได้ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวกต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตจากแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตจากแอมเฟตามีนที่มีภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ที่พาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนกันยายน–ธันวาคม 2558 จำนวน 13 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าฉบับภาษาไทย (Thai PHQ-9) 3) โปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวก ที่ได้ดัดแปลงใบงานในส่วนของกิจกรรมของขวัญจิต มหากิตติคุณ (2548) โดยใช้กรอบแนวคิดของนีลสัน-โจนส์ (Nelson-Jones, 1990) ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Wilcoxon Matched Pair Signed-Ranks Test ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าคะแนนภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตจากแอมเฟตามีนหลังได้รับโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวกต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวกสามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตจากแอมเฟตามีน โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ได้ ดังนั้น โปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวกจึงเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้ช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตจากแอมเฟตามีนen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.docAbstract (words)66.5 kBMicrosoft WordView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract 171.66 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS4.17 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.