Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39390
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผศ.ดร.รสริน โอสถานันต์กุล-
dc.contributor.advisorผศ.ดร.กัญญ์สุดา นิ่มอนุสสรณ์กุล-
dc.contributor.authorวิสุวัฒน์ วรรณมะกอกen_US
dc.date.accessioned2016-07-12T09:23:14Z-
dc.date.available2016-07-12T09:23:14Z-
dc.date.issued2558-12-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39390-
dc.description.abstractThis research aims to study welfare provided by schools for English teachers who are both Thais and Foreigners and factors affecting the happiness of English teachers at schools where they provide English programs to students in Mueang District, Chiang Mai, Thailand. Therefore, this study in terms of controlling conditions of research is by survey , in terms of time is cross- sectional and in terms of purpose is applicable .The sample consisted of 343 individuals (12 English school teachers) of the statistical population whom were surveyed at random, but we collected a sample of 276 (80%) out of 343 English teachers. Search-tools included a demographic questionnaire, including individual and job characteristics, economic and non-economic factors.The data was analyzed by using descriptive statistics. We used the Likert scale to measure happiness levels of English teachers ,and analyzed the difference of all factors between Thai English teachers and Foreign English teachers by using T-test .This study found that most English teachers were satisfied with their welfare ,and the three components that English teachers wanted most were healthcare, training benefits and holiday entitlement respectively. The less-satisfied economic factor that influenced on happiness was debt factor ,and the strong-satisfied non-economic factor that influenced on happiness was relationships in the workplace .In comparisons between Thai English teachers and Foreign English teachers, the mean difference score between Thai English teachers and Foreign English teachers over salary satisfaction, saving satisfaction, the safety environment in workplace, teaching satisfaction, government policy, and welfare satisfaction were insignificant.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อความสุขของครูสอนวิชาภาษาอังกฤษในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors Affecting on Happiness of English Teachers in Mueang District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสวัสดิการที่โรงเรียนได้จัดสรรให้กับครูสอนวิชาภาษาอังกฤษและศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความสุขของครูสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนแบบ English program ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือครูสอนวิชาภาษาอังกฤษทั้งหมด 276 คน จาก 12 โรงเรียน โดยแบ่งเป็นครูชาวไทย 100 คน และ ครูชาวต่างชาติ 176 คน และใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และ ปัจจัยที่ไม่ใช่ด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อระดับความสุขของครูสอนวิชาภาษาอังกฤษ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลจะใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) อธิบายลักษณะทั่วไปของข้อมูลที่เก็บรวมรวมได้ โดยนำเสนอเป็นตารางแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนการวิเคราะห์ระดับความสุขของครูจะใช้มาตราวัดของ ลิเคิร์ท (Likert Scale) และ ใช้วิธีรวมค่าคะแนนความสุขจากตัวชี้วัด 2 ปัจจัย นั้นคือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และ ปัจจัยที่ไม่ใช่ด้านเศรษฐกิจ และ การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างครูที่สอนวิชาภาษาอังกฤษชาวไทยและชาวต่างชาติกับความคิดเห็นในปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อความสุขของครูสอนวิชาภาษาอังกฤษจะใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์ Independent Sample T-test ผลการวิจัยพบว่า ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ทั้งชาวไทยและต่างชาติมีความพึงพอใจกับสวัสดิการที่ทางโรงเรียนจัดสรรให้ และ สวัสดิการที่ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษต้องการ 3 อันดับแรกคือ สวัสดิการรักษาพยาบาล สวัสดิการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม สวัสดิการสิทธิการลาเช่นลาป่วย ลาคลอด ลากิจ ลาพักผ่อน ลาไปศึกษาต่อ และโบนัสคิด ตามลำดับ โดยจากการสำรวจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของครูแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยใหญ่ คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และ ปัจจัยที่ไม่ใช่ด้าน เศรษฐกิจผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือปัจจัยด้านหนี้สินโดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.46 และ ปัจจัยที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยลำดับแรกคือปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในที่ทำงานมีอิทธิพลที่ทำให้ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษมีความสุขมากที่สุดโดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.55 นอกจากนั้นผลการศึกษาการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อความสุข ระหว่างครูสอนวิชาภาษาอังกฤษระหว่างชาวไทยและชาวต่างชาติโดยใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์ T-test โดยผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความสุขของ ค่าตอบแทนที่ได้รับมีความเหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ความพึงพอใจกับรายได้อื่นๆนอกเหนือจากเงินเดือนประจำ รายได้ที่ได้รับมีความเพียงพอในการดำรงชีวิตประจำวัน ความพึงพอใจกับรายได้โดยรวมที่ได้รับ ความพึงพอใจกับการออมเงินในแต่ละเดือน สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนเอื้อต่อการเรียนการสอน ความพึงพอใจในการสอน นโยบายของรัฐ และระดับความพึงพอใจกับสวัสดิการที่โรงเรียนจัดสรรให้กับครูสอนวิชาภาษาอังกฤษของครูทั้งสองกลุ่มมีค่าคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งหมายความว่าครูสอนวิชาภาษาอังกฤษทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมีความเห็นพร้องกันกับประเด็นเหล่านี้ และเมื่อแปลผลระดับความสุขของทั้งสองกลุ่มตัวอย่างพบว่าครูสอนวิชาภาษาอังกฤษชาวไทยมีความสุขน้อยกว่า ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษชาวต่างชาติen_US
Appears in Collections:ECON: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract WATERMARK.docxAbstract (words)287.98 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract 253.82 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.