Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39359
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์รัตนา ณ ลำพูน-
dc.contributor.authorโชคอนันต์ ตันหนิมen_US
dc.date.accessioned2016-07-05T03:04:40Z-
dc.date.available2016-07-05T03:04:40Z-
dc.date.issued2558-04-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39359-
dc.description.abstractThe objective of this study was to develop the knowledge management system for Education Roster of Registrar Division, Mae Fah Luang University. A knowledge management process was completed by using SECI model. Tacit knowledge of personnel in the Education Roster such as class and examination schedule setting, registration, leave of absence, re-entering students and etc. were converted to explicit form. Combining with the former explicit knowledge, they were classified, processed, verified and managed into a simple language and format. The tools for the system development were Joomla version 3.3 and adopted adaptive waterfall model. The model consisted of planning, analyzing, designing, developing, implementing and maintenance. Facebook was a channel for the knowledge distribution. For a system evaluation, a total 644 questionnaires were distributed to 29 personnel in the Registrar Division, and the sample groups of 227 academic personnel and 387 students. The knowledge management system website (www.kmregmfu.com) was developed into two parts. Part 1: back end system, the administrator was responsible for managing domain name system and the data management administrator was responsible for install and uninstalls system software and also managing content. Part 2: front end system, registered users have permission to browse and search for information, add, delete and modify web menu. Unregistered users can only access the site to browse and search for information. For the system efficiency, personnel in the Registrar Division presented that it was at the high level (x ̅ = 4.00). Additionally, the academic personnel and students found that the efficiency of the system was at the high level (x ̅ = 3.88) and the system administrators also evaluated that it was also at the high level (x ̅ = 4.06). Upon an evaluation of the knowledge management effectiveness, personnel in the Education Roster, academic personnel and students as well as personnel in other 4 sections: General Management and Education Services; Admission; Education Records; and Evaluation and Examination declared that it was at the high level with respective average points (x ̅ = 3.99, 3.97, 3.67).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ฝ่ายทะเบียนการศึกษา ส่วนทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Knowledge Management System for Education Roster, Registrar Division, Mae Fah Luang Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความรู้ฝ่ายทะเบียนการศึกษา ส่วนทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผู้ศึกษาใช้โมเดล SECI ในการดำเนินกระบวนการจัดการความรู้ โดยจัดความรู้ฝังลึกของบุคลากรฝ่ายทะเบียนการศึกษา อาทิ งานจัดตารางสอนตารางสอบ งานลงทะเบียนเรียน งานลาพักการศึกษา งานขอกลับเข้าศึกษา ให้เป็นความรู้ชัดแจ้ง และผสานกับความรู้ชัดแจ้งที่หน่วยงานมีอยู่เดิม ได้แก่ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี ข้อมูลการศึกษาและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานทะเบียนการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ฯลฯ แล้วนำไปจัดหมวดหมู่ ประมวลผล ตรวจสอบความรู้และจัดให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ คือ โปรแกรมจูมลา เวอร์ชัน 3.3 ใช้วงจรการพัฒนาระบบ แบบน้ำตกที่ย้อนกลับขั้นตอนได้ ประกอบด้วย การวางแผน การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนาและติดตั้ง การบำรุงรักษา ใช้เฟซบุ๊กในการเผยแพร่ความรู้ เครื่องมือที่ใช้ประเมินระบบคือแบบสอบถาม ประชากรที่ประเมินระบบ บุคลากรส่วนทะเบียนและประมวลผล จำนวน 29 คน และกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย บุคลากรสายวิชาการ จำนวน 227 คนและนักศึกษา จำนวน 387 คน ผู้ศึกษาได้พัฒนาระบบการจัดการความรู้ในลักษณะเว็บไซต์ (www.kmregmfu.com) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ส่วนของผู้ดูแลระบบ ได้แก่ จัดการระบบโดเมนเนม จัดการข้อมูลของผู้ดูแลระบบ จัดการติดตั้งและยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมเสริมที่ใช้ในการพัฒนาระบบ และจัดการรูปแบบเว็บไซต์ 2) ส่วนของผู้ใช้งานทั่วไป ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ใช้งานที่เป็นสมาชิก สามารถล็อกอินเข้าสู่ระบบเพื่อเรียกดู เพิ่ม ลบและแก้ไขข้อมูลได้ทุกเมนู และผู้ใช้งานที่ไม่เป็นสมาชิก สามารถเรียกดูและค้นหาข้อมูลตามสิทธิ์ที่กำหนดเท่านั่น ผลการประเมินระบบพบว่า บุคลากรส่วนทะเบียนและประมวลผลเห็นว่าการใช้งานระบบมีประสิทธิภาพในระดับมาก (x ̅ = 4.00) บุคลากรสายวิชาการและนักศึกษาเห็นว่าการใช้งานระบบมีประสิทธิภาพในระดับมาก (x ̅ = 3.88) สำหรับผู้ดูแลระบบเห็นว่าการใช้งานระบบมีประสิทธิภาพในระดับมาก (x ̅ = 4.06) เช่นกัน ผลการประเมินความคิดเห็นต่อการจัดการความรู้ พบว่า บุคลากรฝ่ายทะเบียนการศึกษา บุคลากรสายวิชาการและนักศึกษา และบุคลากรอีก 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริการการศึกษาและจัดการทั่วไป ฝ่ายระเบียนการศึกษา ฝ่ายประมวลผลการศึกษาและจัดสอบ และฝ่ายรับนักศึกษา เห็นว่ามีประสิทธิผลในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยตามลำดับ (x ̅ = 3.99, 3.97, 3.67)en_US
Appears in Collections:GRAD-Sciences and Technology: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)176.92 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract323.58 kBAdobe PDFView/Open
full.pdfFull IS7.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.