Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39307
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. ชูชีพ พุทธประเสริฐ-
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.สุวรรณ หมื่นตาบุตร-
dc.contributor.authorศศิวิมล คำลือen_US
dc.date.accessioned2016-06-24T08:45:40Z-
dc.date.available2016-06-24T08:45:40Z-
dc.date.issued2558-04-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39307-
dc.description.abstractThe purposes of this research were: 1) to study the state and problems for the internal quality assurance procedure in child development center under the Local Administration, Hangdong District, Chiang Mai Province. 2) to study the guidelines for the internal quality assurance procedure in child development center under the local administration, Hangdong District, Chiang Mai Province. The samples of this research were the educational executives or educational officers and the child attendants who were responsible for the quality assurance. The instruments were the structured interview forms according to the purposes of this research, data collection froms; the document procedure according to the indicators of the quality assurance and the internal quality assurance audit form of the child development center under the Local Administration, Hangdong District, Chiang Mai Province. The data was analyzed by using descriptive analysis and presenting data in composition. The research findings were as followed: The procedure was as the guidelines and quality assurance of the Office for National Standards and Quality Assessment. The procedure was as the systematic and proceeded as standards for development child center plan, the learners have learnt as the experience arrangement plan that in accordance with the Local Administration Department’s curriculum. The foundation of educational institutions were consisted of the target, strategy and the operation guidelines in accordance with Pre-school Education Curriculum as the educational standard plan. There was the child center educational standard broadcasting of the Local Administration, formulated and created the educational standard of the center, formulated administrative structure as the field, followed up the procedure in order to achieve as the improvement plan during 3 years, and the action plan as the child center formulated by creating annual report and following up to audit the educational quality. The problems for the procedure found that the procedure was not continual, there were staff transferences, lacked of clearness for administrative policy, the center head selection, the educational improvement plan creation were delayed, lacked of the participation, there were a few educational officers but more tasks, the child attendants lacked of knowledge for the internal quality assurance, There was no system and category for data collection of child cares, The procedure wasn’t as the plan, creating procedure report, following up to evaluate and included the learners’ development problem aspect. The procedure development guidelines, there should be studied increasingly about the procedure, researched, analyzed together, formulated the procedure guidelines in order to be the concerted procedure, increased knowledge training for child attendants, used technology for creating educational improvement plan, supported the budgets for administration, followed up the evaluation, created the educational improvement plan that derived from the main policy of the executives, modulated functional structure appropriately, and there should be followed up practically and incessantly in order to apply the data to improve the procedure of the child development center efficiently.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeInternal Quality Assurance Procedure in Child Development Center Under The Local Administration Organization, Hang Dong District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยนักบริหารงานการศึกษาหรือ นักวิชาการศึกษา หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ดูแลเด็กที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างตามวัตถุประสงค์การศึกษา แบบบันทึกการศึกษาข้อมูลจากเอกสารการดำเนินงานตามมาตรฐานตัวบ่งชี้การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในและแบบตรวจสอบแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์พรรณนาและนำเสนอข้อมูลเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาการดำเนินงานเป็นไปตามระบบและดำเนินตามแผนมาตรฐานการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กและด้านผู้เรียน เด็กได้รับการเรียนรู้ตามแผนการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นฐานของสถานศึกษาประกอบด้วย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามแผนมาตรฐานการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเผยแพร่มาตรฐานการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปกำหนดและจัดทำเป็นมาตรฐานการศึกษาของศูนย์มีการจัดโครงสร้างการบริหารจัดการตามสายงาน มีการกำกับติดตามการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาระยะสามปีและแผนปฏิบัติการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกำหนด โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีและการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ปัญหาในการดำเนินงาน พบว่า มีการดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร ทำให้ขาดความชัดเจนในด้านนโยบายการบริหารงาน การคัดเลือกหัวหน้าศูนย์ การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษามีความล่าช้า ขาดการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง บุคลากรทางการศึกษาน้อยแต่มีภาระงานมาก ครูผู้ดูแลเด็กเล็กไม่มีความรู้ความเข้าใจในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการดูแลเด็กเล็กไม่มีการจัดเก็บข้อมูล ให้เป็นระบบ เป็นหมวดหมู่การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแบบแผน การจัดทำรายงานการดำเนินงาน กระบวนการติดตามประเมินผลและปัญหาด้านพัฒนาการของผู้เรียน แนวทางพัฒนาการดำเนินงานควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงานควรมีการค้นคว้าร่วมวิเคราะห์ กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อเป็นข้อปฏิบัติร่วมกัน เพิ่มการอบรมให้ความรู้ของครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา สนับสนุนงบประมาณในการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาที่มาจากนโยบายหลักของผู้บริหาร ปรับโครงสร้างหน้าที่ในการดำเนินงานให้เหมาะสม และควรมีการติดตามประเมินผลอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)179.43 kBMicrosoft Word XMLView/Open    Request a copy
ABSTRACT.pdfAbstract (words)227.17 kBAdobe PDFView/Open
full.pdfFull IS3.88 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.