Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39296
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. ลินจง โปธิบาล-
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทศพร คำผลศิริ-
dc.contributor.authorฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์en_US
dc.date.accessioned2016-05-19T08:36:01Z-
dc.date.available2016-05-19T08:36:01Z-
dc.date.issued2557-09-29-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39296-
dc.description.abstractHeart failure is a major chronic illness frequently found in the elderly. To maintain quality of life, the patients need to effectively self-manage. This two group pretest-posttest experimental research aimed to investigate the effect of self-management enhancement on quality of life and rehospitalization rate among the elderly with heart failure attending the outpatient department at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital during May-August, 2014. The sample included 44 elderly participants randomly selected from those who met the inclusion criteria. The participants were randomly assigned equally into experimental and control groups. The experimental group received 6-weeks of self-management enhancement with 2.5 hours of weekly activities. The control group received usual nursing care. Data were collected a using Personal Data Recording Form, Minnesota Living with Heart Failure Questionnaire, and Rehospitalization Recording Form. Data were analyzed using descriptive statistics, t-test and Z-test. The result of this study revealed that, after receiving the self-management enhancement plan the quality of life of the elderly with heart failure was significantly higher than those receiving usual nursing care. The elderly receiving the self-management enhancement plan had better quality of life than those receiving usual nursing care (p < .001), while the rehospitalization rate tended to be decreasing but not with statistical significance (p > .001). The results from this study indicate that self-management enhancement helps increase quality of life and tends to decrease rehospitalization rate in the elderly with heart failure. Therefore, nurses can administer the self-management enhancement plan in this elderly group to help them effectively self-manage, prevent complications, and attain better quality of life.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectAgingen_US
dc.titleผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อคุณภาพชีวิตและอัตราการกลับมารักษาซ้ำของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวen_US
dc.title.alternativeEffects of Self-management Enhancement on Quality of Life and Rehospitalization Rate Among Elderly with Heart Failureen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddcW 4-
thailis.controlvocab.thashSelf -- management-
thailis.controlvocab.thashQuality of life-
thailis.controlvocab.thashAging-
thailis.controlvocab.thashHeart failure-
thailis.manuscript.callnumberW 4 ฐ234ผ 2557-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นความเจ็บป่วยเรื้อรังที่สำคัญที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ การจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อคุณภาพชีวิตและอัตราการกลับมารักษาซ้ำของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2557 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ที่คัดเลือกโดยการสุ่มจากผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดจำนวน 44 ราย สุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง 22 ราย กลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองระยะเวลา 6 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 2 ชั่วโมง 30 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวของมินนิโซต้า และแบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบค่าที และสถิติทดสอบค่าซี ผลการวิจัยพบว่าหลังได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีคุณภาพชีวิตดีกว่าก่อนได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองมีคุณภาพชีวิตดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ส่วนอัตราการกลับมารักษาซ้ำต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .001) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมการจัดการตนเองทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีแนวโน้มที่จะลดการกลับมารักษาซ้ำ ดังนั้นพยาบาลสามารถใช้วิธีการส่งเสริมการจัดการตนเองของการศึกษาครั้งนี้มาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถดูแลตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT162.53 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX849.64 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1221.9 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2435.6 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3300.34 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4423.31 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5168.82 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT147.04 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER595.73 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE252.93 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.