Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39272
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorดำรงค์ คงเดชen_US
dc.date.accessioned2016-01-04T04:41:03Z-
dc.date.available2016-01-04T04:41:03Z-
dc.date.issued2557-11-24-
dc.identifier.urihttp://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39272-
dc.description.abstractThe case study on the : Results of Using LINE Application as Communication and Commanding Channel of Mobile Development Unit 31, Nan Province. The purposes of this study were : (1) To analyze results of using LINE application as communication and commanding channel of Mobile Development Unit 31 Nan province. (2) To explore and measure the basic knowledge and understanding of Mobile Development Unit 31 is officer towards Line application (3) To analyse any problem and obstacle of implementation of Line application as communication and command channel on Mobile Development Unit 31 Nan province. The data was collected from 3 sample groups. These being (1) The high-ranking officer 2 persons (2) The middle-ranking officer 14 persons (3) The subordinate 123 persons Total 139 persons These data was collected to find frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation. The results of using LINE application as communication and commanding channel of Mobile Development Unit 31, Nan province indicates that all sample groups have a good basic knowledge and understanding of Line application’s functions with the average score of 12.14 out of 13 (13 being total score). This can be concluded that the high-ranking officer, the middle-ranking officer, and the subordinates of Mobile Development Unit 31, Nan province fully understand the functions of Line application. Moreover, the study on the results of using LINE application as communication and commanding channel of Mobile Development Unit 31, Nan province shows an excellent result for both groups, the officer and subordinate, with the average score of 4.23. This is due to the various important factors. These being the commander is capable of receiving useful information continuously and consistently, which help to make a decision on an operation. Also, when working in a remote area, the subordinates can communicate with their commander through Line application by sending text, picture, as well as other reliable information. This allows the commander to be able to resolve any rising problems in timely manner, which helps saving time and reducing work procedures. However, with the average score of 3.90 in the study of problem and obstacle of implementation of Line application as communication and command channel on Mobile Development Unit 31, Nan province. This shows that there is major problem and obstacle in the implementation Line application in the unit. The main problem is Line application requires Wi-Fi signal or a mobile network be able to work. This causes an increase in operational expenditure. Moreover, in some remote areas, the phone signal coverage are poor and the phone will not be able to get a reception. In turn, this can cause a delay and loss in communication. Furthermore, Line application users need to consistently check for incoming message. Without doing so, the user will not know about the ongoing operation update and status and this delay can jeopardise the whole operation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectไลน์en_US
dc.titleผลสัมฤทธิ์ของการนำโปรแกรมประยุกต์ไลน์ มาใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารและสั่งการในหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 จังหวัดน่านen_US
dc.title.alternativeResults of using LINE application as communication and commanding channel of Mobile Development Unit 31, Nan Porvinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc302.2-
thailis.controlvocab.thashการสื่อสาร-
thailis.controlvocab.thashไลน์-
thailis.manuscript.callnumberว 302.2 ด217ผ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง ผลสัมฤทธิ์ของการนำโปรแกรมประยุกต์ไลน์ มาใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารและสั่งการในหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 มีวัตถุประสงค์คือ (1)เพื่อวิเคราะห์ถึงผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 จากการนำโปรแกรมประยุกต์ไลน์ มาใช้ในการติดต่อสื่อสารในองค์กร (2) เพื่อสำรวจถึงความรู้ ความเข้าใจของกำลังพลของหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 31 เกี่ยวกับหลักและวิธีการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ไลน์ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการนำโปรแกรมประยุกต์ไลน์ มาใช้ในการติดต่อสื่อสารและสั่งการบังคับบัญชาหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บังคับบัญชาระดับสูง จำนวน 2 คน กลุ่มผู้บังคับบัญชาระดับกลาง จำนวน 14 คน และกลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชา จำนวน 123 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 139 คน โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการใช้โปรแกรมประยุกต์ไลน์ ในการติดต่อสื่อสารของกลุ่มตัวอย่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาในหน่วยพัฒนาการ เคลื่อนที่ 31 พบว่า ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และวิธีการใช้โปรแกรมประยุกต์ไลน์ในการติดต่อสื่อสารในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 12.14 คะแนน จากคะแนนเต็ม 13 คะแนน ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 เข้าใจหลักเกณฑ์และวิธีการใช้โปรแกรมประยุกต์ไลน์ในการติดต่อสื่อสารเป็นอย่างดี สำหรับผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 จากการนำโปรแกรมประยุกต์ไลน์ มาใช้ในการติดต่อสื่อสารในองค์กร พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ในภาพรวมมีผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ทั้งนี้ มีปัจจัยสำคัญเนื่องมาจากผู้บังคับบัญชาได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน รวมทั้งผู้บังคับบัญชาได้รับข้อมูลจากการติดต่อสื่อสารผ่านไลน์อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอจากผู้ใต้บังคับบัญชา และการปฏิบัติงานในพื้นที่ห่างไกลสามารถติดต่อสื่อสาร กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ หากผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน ต่าง ๆ จะสามารถส่งผ่านข้อความและรูปภาพ รวมทั้งข้อมูลต่างๆ ที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้ให้กับผู้บังคับบัญชา ทำให้ผู้บังคับบัญชาสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ทันท่วงที ซึ่งสามารถประหยัดระยะเวลาและลดขั้นตอนในการทำงาน ด้านปัญหาและอุปสรรคในการนำโปรแกรมประยุกต์ไลน์มาใช้ในการติดต่อสื่อสาร พบว่า ยังคงมีปัญหาและอุปสรรคอยู่ในระดับค่อนข้างมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 โดยมีปัญหาที่สำคัญ คือ การใช้ไลน์ ต้องใช้สัญญาณ wifi หรือใช้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ทำให้ ต้องมีค่าใช้จ่าย รวมทั้งการใช้ไลน์ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารที่หน่วยต้องไปปฏิบัติงานสัญญาณโทรศัพท์อาจจะไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทำให้บางครั้งไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ นอกจากนี้ ต้องตรวจเช็คข้อความอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าบางครั้งไม่ได้เปิดไลน์ดูก็จะไม่ทราบว่ามีการดำเนินการหรือสั่งการในเรื่องอะไรอยู่ หรือถ้าเปิดอ่านล่าช้าอาจทำให้เรื่องที่ต้องปฏิบัติเกิดความเสียหายได้en_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdf ABSTRACT251.62 kBAdobe PDFView/Open
APPENDIX.pdfAPPENDIX291.33 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdf CHAPTER 1234.77 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdf CHAPTER 2445.21 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3207.49 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4512.3 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5269.46 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdf CONTENT195.1 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER567.47 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE178.8 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.