Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/39265
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิลาสินี ไชยกลาง | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-10-08T10:04:46Z | - |
dc.date.available | 2015-10-08T10:04:46Z | - |
dc.date.issued | 2014-01 | - |
dc.identifier.uri | http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/39265 | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.source | ว/ภน 615.14 ว372ป | - |
dc.title | ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาในผู้ป่วยนอกที่ใช้ยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาลลำพูน | en_US |
dc.title.alternative | Drug therapy problems in outpatients using Warfarin at Lumphun Hospital | en_US |
thailis.classification.ddc | 615.14 | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงพยาบาลลำพูน | - |
thailis.controlvocab.thash | วาร์ฟาริน | - |
thailis.controlvocab.thash | ยา--ขนาด | - |
thailis.controlvocab.thash | การใช้ยา | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงพยาบาล--ระบบการจ่ายยา | - |
thailis.controlvocab.thash | เภสัชกรรมของโรงพยาบาล | - |
thailis.controlvocab.thash | เลือด--การไหลเวียน | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก ประเภทปัญหาจากการใช้ยา เหตุการณ์ ไม่พึงประสงค์ด้านยา ความรุนแรงของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านยา และผลของ การให้ข้อเสนอแนะของเภสัชกรต่อแพทย์ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาในผู้ป่วยนอกที่ใช้ยาวาร์ฟารินที่มารักษาในคลินิคโรคหัวใจและหลอดเลือด แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลลำพูน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2553 รูปแบบการศึกษา เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบเก็บข้อมูลผู้ป่วย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) จากการติดตามผู้ป่วย 117 คน ติดตามผู้ป่วยทั้งหมด 351 ครั้ง พบการเกิดปัญหา จากการใช้ยา 60 ครั้ง เกิดในผู้ป่วย 48 คน จากการติดตามผู้ป่วยทั้งหมด 117 คน (ร้อยละ 41.0) พบ ปัญหาการใช้ยามากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ ปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (ร้อยละ 38.3 ) การได้รับยาขนาดสูงเกินไป (ร้อยละ 35.0) และการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาจำนวน (ร้อยละ 20.0) โดยปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยา พบว่ามีสาเหตุจากความไม่เข้าใจ เกี่ยวกับภาวะโรคและยาวาร์ฟารินมากที่สุด (ร้อยละ 91.3) และป่วยที่พบปัญหาความไม่ร่วมมือ ในการใช้ยาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 69.6) มีค่า INR เบี่ยงเบนลดลงต่ำกว่าเป้าหมายการรักษา พบการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านยาทั้งหมด 54 เหตุการณ์ เกิดในผู้ป่วย 43 คน จากการติดตามผู้ป่วย 117 คน (ร้อยละ 36.8) ความรุนแรงของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านยา เป็นความ รุนแรงระดับ D มากที่สุด (ร้อยละ 72.2) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจาก การใช้ยาวาร์ฟารินที่พบมากที่สุดคือ การเกิดค่า INR เพิ่มสูงขึ้นเกินช่วงเป้าหมาย การรักษา (ร้อยละ 48.1) การเกิดค่า INRเบี่ยงเบนลดลงต่ำกว่าช่วงเป้าหมายการรักษา (ร้อยละ29.6) และการเกิดภาวะเลือดออก (ร้อยละ 22.2) การเกิดค่า INR เบี่ยงเบนเพิ่มสูงขึ้นเกิน ช่วงเป้าหมายการรักษามีสาเหตุจากการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยามากที่สุด (ร้อยละ 61.5) การเกิดค่า INR เบี่ยงเบนลดลงต่ำกว่าช่วงเป้าหมายการรักษา มีสาเหตุมาจากปัญหาความไม่ร่วมมือ ในการใช้ยา (ร้อยละ93.8) การเกิดภาวะเลือดออกส่วนใหญ่พบเป็นภาวะเลือดออกแบบไม่รุนแรง (ร้อยละ91.7) พบการเกิดภาวะเลือดออกแบบรุนแรงที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล (ร้อยละ 8.3) การเกิดภาวะเลือดออกส่วนใหญ่ (ร้อยละ58.3) เป็นการเกิดเลือดออกบริเวณผิวหนัง เภสัชกรได้ให้ข้อเสนอแนะแพทย์ต่อการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านยาจำนวน 54 ครั้ง แพทย์ยอมรับข้อเสนอแนะและแก้ไขตามคำแนะนำทั้งหมด (ร้อยละ 40.7) โดยข้อเสนอแนะ ที่แพทย์ยอมรับมากที่สุดเป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ด้านยาและขนาดยาวาร์ฟารินไม่เหมาะสมมีขนาดยาวาร์ฟารินสูงเกินไปส่งผลให้ค่า INR เบี่ยงเบนเพิ่มสูงขึ้ เกินช่วง เป้าหมายการรักษา ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยา ปัญหาขนาดยาสูง เกินไป การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา ได้แก่ การเกิดภาวะเลือดออก เป็นปัญหาที่ที่บุคลากร ทางการแพทย์ควรให้ความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยนอกที่ใช้ยาวาร์ฟาริน การขาดความความใจ เกี่ยวกับการใช้ยาวาร์ฟารินเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยามากที่สุดและส่งผลให้เกิดค่า INRเบี่ยงเบนออกนอกช่วงเป้าหมาย ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยนอก ที่ใช้ยาวาร์ฟาริ ควรให้ ความสำคัญกับความรู้เกี่ยวกับยาวาร์ฟารินของผู้ป่วยต่อเนื่องเพื่อเป็นการเสริมพลังผู้ป่วยในการ ดูแลตัวเอง ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์มีส่วนสำคัญในการดูแลติดตามผู้ป่วยเพื่อลดการเกิดปัญหา จากการใช้ยาและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านยา | en_US |
Appears in Collections: | GRAD-Health Sciences: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 210.29 kB | Adobe PDF | View/Open |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 761.19 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 247.32 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 490.07 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 264.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 604.24 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 430.37 kB | Adobe PDF | View/Open |
CONTENT.pdf | CONTENT | 289.99 kB | Adobe PDF | View/Open |
COVER.pdf | COVER | 579.14 kB | Adobe PDF | View/Open |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 218.21 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.