Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37845
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รุจ ศิริสัญลักษณ์ | - |
dc.contributor.advisor | ดุษฎี ณ ลำปาง | - |
dc.contributor.advisor | อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง | - |
dc.contributor.author | วราขวัญ บุญยัง | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-03-01T05:21:33Z | - |
dc.date.available | 2015-03-01T05:21:33Z | - |
dc.date.issued | 2014-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37845 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจ และสังคม ของเกษตรกร ผู้เลี้ยงไส้เดือนดิน 2) ศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการเลี้ยงไส้เดือนดิน และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้เลี้ยงไส้เดือนดินในเขตพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงไส้เดือนดินใน 4 จังหวัดของพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง ได้แก่ 1) โครงการขยายผลโครงการหลวงคลองลาน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร2) โครงการขยายผลโครงการหลวงห้วยเป้า ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 3) โครงการขยายผลโครงการหลวงโป่งคำ ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่านและ 4) โครงการขยายผลโครงการหลวงห้วยเขย่ง ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรีจำนวน 120 รายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรร้อยละ 58.3 เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 51 - 60 ปีจบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่ามีสมาชิกในครัวเรือน 1 - 3 มีแรงงานในครัวเรือน 1 - 3 คน มีรายได้ภาคการเกษตรอยู่ในช่วง 50,000 - 100,000 บาทต่อปี มีรายได้รวม 50,000 - 100,000 บาทต่อปี มีขนาดที่ดินที่ใช้ทำการเกษตร 1 - 5 ไร่ และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน ส่วนการศึกษาด้านการเลี้ยงไส้เดือนดิน การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน และน้ำหมักมูลไส้เดือนดินของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรทุกคนได้รับข่าวสาร การอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการเลี้ยงไส้เดือนดิน และพันธุ์ไส้เดือนดินจากเจ้าหน้าที่โครงการขยายผลโครงการหลวงเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงไส้เดือนดินในโรงเรือนขนาดเล็ก ใช้มูลสัตว์และขยะอินทรีย์เป็นอาหารของไส้เดือนดินปัจจุบันมีไส้เดือนดินมากกว่า 3,000 ตัว มีอัตราการผลิตปุ๋ยหมักน้อยกว่า 1 กิโลกรัม/ไร่/เดือนและผลิตน้ำหมักมูลไส้เดือนดินได้ น้อยกว่า 1 ลิตร/ไร่/เดือน ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักมูลไส้เดือนดินในการปลูกผัก เกษตรกรมีประสบการณ์ในการเลี้ยงไส้เดือนดินมา 1 ปี โดยใช้ทุกครั้งที่ปลูกพืช เกษตรกรทุกคนใช้น้ำหมักมูลไส้เดือนดินฉีดพ่นทางใบ ใช้ช่วงที่พืชเจริญเติบโต หลังจากใช้น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน เกษตรกรร้อยละ 74 มีการใช้ปุ๋ยเคมีที่ลดลง โดยลดลงจากเดิม1 - 5 กิโลกรัมต่อไร่เกษตรกรมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 - 50 และยังไม่มีรายได้จากการจำหน่ายปุ๋ยหมักหรือน้ำมูลหมักไส้เดือนดิน จากการศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการเลี้ยงไส้เดือนดิน พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจมากในทุกประเด็นหลัก ได้แก่ ด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้รับ ด้านการจัดการในการเลี้ยงไส้เดือนดิน ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเลี้ยงไส้เดือนดิน ด้านประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักไส้เดือนดินในการผลิตพืช และด้านการส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่ แต่เมื่อพิจารณาแยกตามประเด็นย่อย พบว่า ประเด็นหลักด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเลี้ยงไส้เดือนดิน โดยประเด็นย่อยเรื่องรายได้จากการจำหน่ายปุ๋ยหมักและน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน เกษตรกรมีความพึงพอใจระดับน้อย ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ เก็บปุ๋ยไส้เดือนดินได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ และยังขาดความรู้เรื่องอัตราการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน จึงต้องการขยายการเลี้ยงไส้เดือนดินให้มีบ่อขนาดใหญ่มากขึ้น ต้องการให้จัดทำเอกสารที่อ่านเข้าใจง่าย มีการจัดฝึกอบรมและศึกษาดูงานในสถานที่เลี้ยงเป็นอาชีพอยากให้ถ่ายทอดสู่เกษตรกรให้แพร่หลาย ตลอดจนอยากให้มีตลาดที่สามารถจำหน่ายไส้เดือนดินมากขึ้น | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ระดับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการเลี้ยงไส้เดือนดินในเขตพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง | en_US |
dc.title.alternative | Farmers' level of satisfaction towards earthworm raising in Extend Areas of the Royal Project | en_US |
thailis.classification.ddc | 639.75 | - |
thailis.controlvocab.thash | ไส้เดือนดิน -- การเลี้ยง | - |
thailis.controlvocab.thash | ไส้เดือนดิน | - |
thailis.controlvocab.thash | เกษตรกร -- ไทย (ภาคเหนือ) | - |
thailis.controlvocab.thash | โครงการหลวง | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 639.75 ว172ร | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจ และสังคม ของเกษตรกร ผู้เลี้ยงไส้เดือนดิน 2) ศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการเลี้ยงไส้เดือนดิน และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้เลี้ยงไส้เดือนดินในเขตพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงไส้เดือนดินใน 4 จังหวัดของพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง ได้แก่ 1) โครงการขยายผลโครงการหลวงคลองลาน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร2) โครงการขยายผลโครงการหลวงห้วยเป้า ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 3) โครงการขยายผลโครงการหลวงโป่งคำ ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่านและ 4) โครงการขยายผลโครงการหลวงห้วยเขย่ง ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรีจำนวน 120 รายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรร้อยละ 58.3 เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 51 - 60 ปีจบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่ามีสมาชิกในครัวเรือน 1 - 3 มีแรงงานในครัวเรือน 1 - 3 คน มีรายได้ภาคการเกษตรอยู่ในช่วง 50,000 - 100,000 บาทต่อปี มีรายได้รวม 50,000 - 100,000 บาทต่อปี มีขนาดที่ดินที่ใช้ทำการเกษตร 1 - 5 ไร่ และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน ส่วนการศึกษาด้านการเลี้ยงไส้เดือนดิน การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน และน้ำหมักมูลไส้เดือนดินของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรทุกคนได้รับข่าวสาร การอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการเลี้ยงไส้เดือนดิน และพันธุ์ไส้เดือนดินจากเจ้าหน้าที่โครงการขยายผลโครงการหลวงเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงไส้เดือนดินในโรงเรือนขนาดเล็ก ใช้มูลสัตว์และขยะอินทรีย์เป็นอาหารของไส้เดือนดินปัจจุบันมีไส้เดือนดินมากกว่า 3,000 ตัว มีอัตราการผลิตปุ๋ยหมักน้อยกว่า 1 กิโลกรัม/ไร่/เดือนและผลิตน้ำหมักมูลไส้เดือนดินได้ น้อยกว่า 1 ลิตร/ไร่/เดือน ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักมูลไส้เดือนดินในการปลูกผัก เกษตรกรมีประสบการณ์ในการเลี้ยงไส้เดือนดินมา 1 ปี โดยใช้ทุกครั้งที่ปลูกพืช เกษตรกรทุกคนใช้น้ำหมักมูลไส้เดือนดินฉีดพ่นทางใบ ใช้ช่วงที่พืชเจริญเติบโต หลังจากใช้น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน เกษตรกรร้อยละ 74 มีการใช้ปุ๋ยเคมีที่ลดลง โดยลดลงจากเดิม1 - 5 กิโลกรัมต่อไร่เกษตรกรมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 - 50 และยังไม่มีรายได้จากการจำหน่ายปุ๋ยหมักหรือน้ำมูลหมักไส้เดือนดิน จากการศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการเลี้ยงไส้เดือนดิน พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจมากในทุกประเด็นหลัก ได้แก่ ด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้รับ ด้านการจัดการในการเลี้ยงไส้เดือนดิน ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเลี้ยงไส้เดือนดิน ด้านประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักไส้เดือนดินในการผลิตพืช และด้านการส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่ แต่เมื่อพิจารณาแยกตามประเด็นย่อย พบว่า ประเด็นหลักด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเลี้ยงไส้เดือนดิน โดยประเด็นย่อยเรื่องรายได้จากการจำหน่ายปุ๋ยหมักและน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน เกษตรกรมีความพึงพอใจระดับน้อย ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ เก็บปุ๋ยไส้เดือนดินได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ และยังขาดความรู้เรื่องอัตราการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน จึงต้องการขยายการเลี้ยงไส้เดือนดินให้มีบ่อขนาดใหญ่มากขึ้น ต้องการให้จัดทำเอกสารที่อ่านเข้าใจง่าย มีการจัดฝึกอบรมและศึกษาดูงานในสถานที่เลี้ยงเป็นอาชีพอยากให้ถ่ายทอดสู่เกษตรกรให้แพร่หลาย ตลอดจนอยากให้มีตลาดที่สามารถจำหน่ายไส้เดือนดินมากขึ้น | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 295.56 kB | Adobe PDF | View/Open |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 401.99 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 253.99 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 737.7 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 332.49 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 362.87 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 273.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
CONTENT.pdf | CONTENT | 396.61 kB | Adobe PDF | View/Open |
COVER.pdf | COVER | 624.63 kB | Adobe PDF | View/Open |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 162.05 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.