Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37795
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรทัศน์ อินทรัคคัมพร | - |
dc.contributor.advisor | ดุษฎี ณ ลำปาง | - |
dc.contributor.advisor | นริศ ยิ้มแย้ม | - |
dc.contributor.author | วารุตม์ วิรัศมี | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-02-18T10:51:51Z | - |
dc.date.available | 2015-02-18T10:51:51Z | - |
dc.date.issued | 2014-07 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37795 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านความรู้และสังคม กับการเข้าร่วมกิจกรรมการเกษตร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาปัญหาและแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแม่งูด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านแม่งูด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2555 จำนวน 124 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น นักเรียนชาย จำนวนร้อยละ 51.61 ส่วนนักเรียนหญิง มีจำนวนร้อยละ 48.39 โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม พบว่ามีนักเรียนหญิงจำนวนร้อยละ 50.60 และนักเรียนชาย จำนวนร้อยละ 49.40 ส่วนในกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมนั้น พบว่ามีนักเรียนชายจำนวน ร้อยละ 56.10 นักเรียนหญิงจำนวน ร้อยละ 43.90 นักเรียนส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยในกลุ่มนักเรียนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมมีจำนวน ร้อยละ 43.37 และในกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรม มีจำนวน ร้อยละ 39.02 จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 34.15 ได้ระดับผลการเรียน 4 ในขณะที่นักเรียนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม ได้ระดับผลการเรียน 4 เพียง ร้อยละ 15.16 กลุ่มไม่เข้าร่วมกิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.52 จะประกอบอาชีพที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ส่วนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.24 ยังมุ่งหวังที่จะประกอบอาชีพเกี่ยวกับเกษตรส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนรวมกันไม่เกิน 5,000 บาท เท่านั้น มีผู้ปกครองส่วนน้อย ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนรวมกันเกิน 10,000 บาทขึ้นไปส่วนใหญ่ผู้ปกครองนักเรียนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีอาชีพ รับจ้างทั่วไป ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ร้อยละ 69.88 ในขณะที่ผู้ปกครองนักเรียนที่เข้าร่วมเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงส่วนใหญ่ มีอาชีพหลัก เป็นเกษตรกร ร้อยละ 58.54 นักเรียนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนใหญ่ มีความรู้ในระดับปานกลาง คือ มีผลคะแนนอยู่ระหว่าง 4–7 คะแนน ส่วนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ ส่วนใหญ่ มีความรู้อยู่ในระดับ ดี มีผลคะแนนอยู่ระหว่าง 8–10 คะแนนความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับความสามารถของครูเกษตร พบว่า ในเรื่องเกี่ยวกับการได้รับความรู้เพิ่มขึ้น และการได้วางแผนปฏิบัติงานร่วมกัน จากการสอนของครูเกษตรในภาคเรียนที่ผ่านมาของนักเรียนทั้งสองกลุ่ม ส่วนใหญ่ ได้รับการพัฒนาให้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและปัจจัยทางด้านความรู้และสังคมกับการเข้าร่วมกิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่านักเรียนทุกเพศ ทุกระดับการศึกษาสามารถนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได้เท่าๆกัน แม้นักเรียนจะมีอาชีพที่มุ่งหวังในอนาคตหรือไม่มีก็ตามสุขภาพ หรือจะมีความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากน้อยเพียงใดก็ไม่มีผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทุกคนสามารถนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได้ จากการสอบถามปัญหา และแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเกษตรไม่เพียงพอ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้มีการชำรุดและขาดงบประมาณในการจัดซื้อเพิ่มเติม รองลงมา คือ ปัญหาสภาพของดินไม่ดี ขาดน้ำ มีชั่วโมงในการเรียนเกษตรน้อย และเมล็ดพืชไม่งอก ผลผลิตไม่ดี ตามลำดับ โดยแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่เสนอให้ช่วยกันดูแลรักษาอุปกรณ์เกษตร หากมีการจัดซื้อเพิ่มเติมควรจะสามารถใช้งานให้ได้นานที่สุด ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับสภาพของดิน การปรับปรุงดิน ควรใช้น้ำอย่างประหยัด และอยากให้เพิ่มเวลาเรียนวิชางานเกษตร เพื่อจะได้เป็นการปลูกฝังพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งนักเรียนสามารถจะนำความรู้ ทักษะต่างๆจากการเข้าร่วมกิจกรรมการเกษตร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในดำเนินชีวิตประจำวัน และในอนาคตต่อไปได้ | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการเกษตรของนักเรียน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่งูด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Factors affecting student participation in agricultural activity following sufficiency economy philosophy, Banmaengud School, Hot District, Chiang Mai Province | en_US |
thailis.classification.ddc | 630.712 | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงเรียนบ้านแม่งูด (เชียงใหม่) | - |
thailis.controlvocab.thash | เกษตรกรรม -- การศึกษาและการสอน | - |
thailis.controlvocab.thash | เศรษฐกิจพอเพียง--เชียงใหม่. อำเภอฮอด | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 630.712 ว274ป | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านความรู้และสังคม กับการเข้าร่วมกิจกรรมการเกษตร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาปัญหาและแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแม่งูด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านแม่งูด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2555 จำนวน 124 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น นักเรียนชาย จำนวนร้อยละ 51.61 ส่วนนักเรียนหญิง มีจำนวนร้อยละ 48.39 โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม พบว่ามีนักเรียนหญิงจำนวนร้อยละ 50.60 และนักเรียนชาย จำนวนร้อยละ 49.40 ส่วนในกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมนั้น พบว่ามีนักเรียนชายจำนวน ร้อยละ 56.10 นักเรียนหญิงจำนวน ร้อยละ 43.90 นักเรียนส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยในกลุ่มนักเรียนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมมีจำนวน ร้อยละ 43.37 และในกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรม มีจำนวน ร้อยละ 39.02 จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 34.15 ได้ระดับผลการเรียน 4 ในขณะที่นักเรียนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม ได้ระดับผลการเรียน 4 เพียง ร้อยละ 15.16 กลุ่มไม่เข้าร่วมกิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.52 จะประกอบอาชีพที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ส่วนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.24 ยังมุ่งหวังที่จะประกอบอาชีพเกี่ยวกับเกษตรส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนรวมกันไม่เกิน 5,000 บาท เท่านั้น มีผู้ปกครองส่วนน้อย ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนรวมกันเกิน 10,000 บาทขึ้นไปส่วนใหญ่ผู้ปกครองนักเรียนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีอาชีพ รับจ้างทั่วไป ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ร้อยละ 69.88 ในขณะที่ผู้ปกครองนักเรียนที่เข้าร่วมเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงส่วนใหญ่ มีอาชีพหลัก เป็นเกษตรกร ร้อยละ 58.54 นักเรียนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนใหญ่ มีความรู้ในระดับปานกลาง คือ มีผลคะแนนอยู่ระหว่าง 4–7 คะแนน ส่วนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ ส่วนใหญ่ มีความรู้อยู่ในระดับ ดี มีผลคะแนนอยู่ระหว่าง 8–10 คะแนนความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับความสามารถของครูเกษตร พบว่า ในเรื่องเกี่ยวกับการได้รับความรู้เพิ่มขึ้น และการได้วางแผนปฏิบัติงานร่วมกัน จากการสอนของครูเกษตรในภาคเรียนที่ผ่านมาของนักเรียนทั้งสองกลุ่ม ส่วนใหญ่ ได้รับการพัฒนาให้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและปัจจัยทางด้านความรู้และสังคมกับการเข้าร่วมกิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่านักเรียนทุกเพศ ทุกระดับการศึกษาสามารถนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได้เท่าๆกัน แม้นักเรียนจะมีอาชีพที่มุ่งหวังในอนาคตหรือไม่มีก็ตามสุขภาพ หรือจะมีความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากน้อยเพียงใดก็ไม่มีผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทุกคนสามารถนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได้ จากการสอบถามปัญหา และแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเกษตรไม่เพียงพอ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้มีการชำรุดและขาดงบประมาณในการจัดซื้อเพิ่มเติม รองลงมา คือ ปัญหาสภาพของดินไม่ดี ขาดน้ำ มีชั่วโมงในการเรียนเกษตรน้อย และเมล็ดพืชไม่งอก ผลผลิตไม่ดี ตามลำดับ โดยแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่เสนอให้ช่วยกันดูแลรักษาอุปกรณ์เกษตร หากมีการจัดซื้อเพิ่มเติมควรจะสามารถใช้งานให้ได้นานที่สุด ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับสภาพของดิน การปรับปรุงดิน ควรใช้น้ำอย่างประหยัด และอยากให้เพิ่มเวลาเรียนวิชางานเกษตร เพื่อจะได้เป็นการปลูกฝังพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งนักเรียนสามารถจะนำความรู้ ทักษะต่างๆจากการเข้าร่วมกิจกรรมการเกษตร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในดำเนินชีวิตประจำวัน และในอนาคตต่อไปได้ | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 194.46 kB | Adobe PDF | View/Open |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 285.79 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 253.68 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 352.16 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 232.87 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 417.16 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 256.57 kB | Adobe PDF | View/Open |
CONTENT.pdf | CONTENT | 163.09 kB | Adobe PDF | View/Open |
COVER.pdf | COVER | 554.01 kB | Adobe PDF | View/Open |
REFERRENCE.pdf | REFERENCE | 200.13 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.