Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/37676
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วรณัฐ ยอดสร้อย | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-02-03T04:35:01Z | - |
dc.date.available | 2015-02-03T04:35:01Z | - |
dc.date.issued | 2014-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/37676 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการปลูก การบริหารจัดการสวนยางพารา รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนปลูกยางพารา และปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ตัดสินใจลงทุนปลูกยางพารา จำนวน 105 ราย ในพื้นที่ 6 ตำบล อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบจำลองโลจิต แบบสองทางเลือกด้วยวิธี maximum likelihood estimation และวิธี marginal effect เป็นเครื่องมือทำการวิเคราะห์ในภาพรวมเพื่อเปรียบเทียบกับประชากรกลุ่มที่ไม่ตัดสินใจลงทุนปลูกยางพาราจำนวนเท่ากัน กำหนดตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ 5 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ ปัจจัยด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านเทคนิค และด้านการตลาด วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณา และจัดระดับความสำคัญของปัญหาอุปสรรคที่เกษตรกรพบด้วยวิธีประเมินค่าของ Likert (Likert Rating Scale) จากแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเป็น 4 ส่วน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง และจากผลการวิเคราะห์ได้พบว่า เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มส่วนใหญ่ เป็นชายมีอายุระหว่าง 51-60 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา สำหรับกลุ่มที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่มีรายได้จากการลงทุนปลูกยางพาราระหว่าง 50,001-70,000 บาทเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือน รายได้จากการประกอบอาชีพอื่นระหว่าง 30,001-50,000 บาทเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือน แสดงว่าการลงทุนทำสวนยางพาราให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรดีกว่าการลงทุนประกอบอาชีพอื่น ส่วนกลุ่มที่ไม่ปลูกยางพารา ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ รับจ้าง และค้าขาย มีรายได้จากอาชีพหลักและอาชีพรอง (คือปลูกพืชเกษตรอื่น) เท่ากันกับกลุ่มที่ปลูกยางพารา ในด้านกระบวนการปลูกและการบริหารจัดการสวนยางพาราพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกยางส่วนใหญ่ดำเนินการตามคำแนะนำการฝึกอบรมและการให้ข้อมูลข่าวสารโดยเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องและโดยสถาบันวิจัยยางพาราในพื้นที่ ในด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนปลูกยางพารา จากผลการวิเคราะห์โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 95% (α=0.05)ได้ค่า log likelihood function เท่ากับ -73.44090ค่า restricted log likelihood เท่ากับ -145.5609 ค่า chi squared เท่ากับ 144.2400 และค่าความถูกต้องของการทำนาย เท่ากับร้อยละ 88.095 อธิบายได้ว่า ในกรณีที่ค่า marginal effect มีค่าสัมประสิทธิ์เป็นบวก เกษตรกรมีโอกาสที่จะตัดสินใจลงทุนปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น ซึ่งในกรณีของปัจจัยด้านกายภาพประกอบด้วย ปัจจัยด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพภูมิอากาศ และหวังผลระยะยาวเป็นมรดกแก่บุตรหลานปัจจัยด้านสังคมประกอบด้วย การมีโอกาสได้รับข้อมูลจากข่าวสารเพียงพอจากการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราด้วยกัน และได้รับประโยชน์จากการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราด้วยกันในทางตรงกันข้ามในกรณีที่ค่าสัมประสิทธิ์เป็นลบ มีผลให้การตัดสินใจลงทุนปลูกยางพาราลดลง เช่น ปัจจัยด้านกายภาพ คือ การปลูกยางพาราเพื่อขายไม้ยาง ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ คือ ต้นทุนค่าขนส่งยางพาราไปสู่ตลาด และปัญหาจากการบริหารจัดการภายในประเทศที่ไม่มีความแน่นอน ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรคข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกยางพารามีปัญหาอุปสรรคในด้านการผลิต การบริหารจัดการและการตลาด โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และมีข้อเสนอแนะ โดยให้ความสำคัญกับเรื่องการให้ความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำสวนยางพารา รวมทั้งการให้การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต วัตถุดิบ เครื่องมือ อุปกรณ์ และการให้ความเชื่อมั่นในด้านการประกันราคา และการมีตลาดยางรองรับโดยภาครัฐและเอกชน และผลที่พบจากการศึกษาในครั้งนี้มีความสอดคล้องกับผลการศึกษาของเกรียงศักดิ์ และ ณัฐวุฒิ ที่เป็นงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนปลูกยางพาราของเกษตรกร อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Factors affecting farmers’ decision making on Para Rubber planting Investment in Fang District, Chiang Mai Province | en_US |
thailis.classification.ddc | 633.8952 | - |
thailis.controlvocab.thash | ยางพารา -- การปลูก | - |
thailis.controlvocab.thash | ยางพารา -- เชียงใหม่. อำเภอฝาง | - |
thailis.controlvocab.thash | เกษตรกร -- เชียงใหม่. อำเภอฝาง | - |
thailis.manuscript.callnumber | ว/ภน 633.8952 ว174ป | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการปลูก การบริหารจัดการสวนยางพารา รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนปลูกยางพารา และปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ตัดสินใจลงทุนปลูกยางพารา จำนวน 105 ราย ในพื้นที่ 6 ตำบล อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบจำลองโลจิต แบบสองทางเลือกด้วยวิธี maximum likelihood estimation และวิธี marginal effect เป็นเครื่องมือทำการวิเคราะห์ในภาพรวมเพื่อเปรียบเทียบกับประชากรกลุ่มที่ไม่ตัดสินใจลงทุนปลูกยางพาราจำนวนเท่ากัน กำหนดตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ 5 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ ปัจจัยด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านเทคนิค และด้านการตลาด วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณา และจัดระดับความสำคัญของปัญหาอุปสรรคที่เกษตรกรพบด้วยวิธีประเมินค่าของ Likert (Likert Rating Scale) จากแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเป็น 4 ส่วน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง และจากผลการวิเคราะห์ได้พบว่า เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มส่วนใหญ่ เป็นชายมีอายุระหว่าง 51-60 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา สำหรับกลุ่มที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่มีรายได้จากการลงทุนปลูกยางพาราระหว่าง 50,001-70,000 บาทเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือน รายได้จากการประกอบอาชีพอื่นระหว่าง 30,001-50,000 บาทเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือน แสดงว่าการลงทุนทำสวนยางพาราให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรดีกว่าการลงทุนประกอบอาชีพอื่น ส่วนกลุ่มที่ไม่ปลูกยางพารา ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ รับจ้าง และค้าขาย มีรายได้จากอาชีพหลักและอาชีพรอง (คือปลูกพืชเกษตรอื่น) เท่ากันกับกลุ่มที่ปลูกยางพารา ในด้านกระบวนการปลูกและการบริหารจัดการสวนยางพาราพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกยางส่วนใหญ่ดำเนินการตามคำแนะนำการฝึกอบรมและการให้ข้อมูลข่าวสารโดยเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องและโดยสถาบันวิจัยยางพาราในพื้นที่ ในด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนปลูกยางพารา จากผลการวิเคราะห์โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 95% (α=0.05)ได้ค่า log likelihood function เท่ากับ -73.44090ค่า restricted log likelihood เท่ากับ -145.5609 ค่า chi squared เท่ากับ 144.2400 และค่าความถูกต้องของการทำนาย เท่ากับร้อยละ 88.095 อธิบายได้ว่า ในกรณีที่ค่า marginal effect มีค่าสัมประสิทธิ์เป็นบวก เกษตรกรมีโอกาสที่จะตัดสินใจลงทุนปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น ซึ่งในกรณีของปัจจัยด้านกายภาพประกอบด้วย ปัจจัยด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพภูมิอากาศ และหวังผลระยะยาวเป็นมรดกแก่บุตรหลานปัจจัยด้านสังคมประกอบด้วย การมีโอกาสได้รับข้อมูลจากข่าวสารเพียงพอจากการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราด้วยกัน และได้รับประโยชน์จากการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราด้วยกันในทางตรงกันข้ามในกรณีที่ค่าสัมประสิทธิ์เป็นลบ มีผลให้การตัดสินใจลงทุนปลูกยางพาราลดลง เช่น ปัจจัยด้านกายภาพ คือ การปลูกยางพาราเพื่อขายไม้ยาง ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ คือ ต้นทุนค่าขนส่งยางพาราไปสู่ตลาด และปัญหาจากการบริหารจัดการภายในประเทศที่ไม่มีความแน่นอน ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรคข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกยางพารามีปัญหาอุปสรรคในด้านการผลิต การบริหารจัดการและการตลาด โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และมีข้อเสนอแนะ โดยให้ความสำคัญกับเรื่องการให้ความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำสวนยางพารา รวมทั้งการให้การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต วัตถุดิบ เครื่องมือ อุปกรณ์ และการให้ความเชื่อมั่นในด้านการประกันราคา และการมีตลาดยางรองรับโดยภาครัฐและเอกชน และผลที่พบจากการศึกษาในครั้งนี้มีความสอดคล้องกับผลการศึกษาของเกรียงศักดิ์ และ ณัฐวุฒิ ที่เป็นงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | ABSTRACT | 299.62 kB | Adobe PDF | View/Open |
APPENDIX.pdf | APPENDIX | 661.12 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 1.pdf | CHAPTER 1 | 227.19 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 2.pdf | CHAPTER 2 | 501.97 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 3.pdf | CHAPTER 3 | 611.42 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 4.pdf | CHAPTER 4 | 690.73 kB | Adobe PDF | View/Open |
CHAPTER 5.pdf | CHAPTER 5 | 248.1 kB | Adobe PDF | View/Open |
CONTENT.pdf | CONTENT | 276.67 kB | Adobe PDF | View/Open |
COVER.pdf | COVER | 878.74 kB | Adobe PDF | View/Open |
REFERENCE.pdf | REFERENCE | 189.71 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.