Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80278
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฬาลักษณ์ เขมาชีวะกุล-
dc.contributor.authorรัตนาภรณ์ ครไชยศรีen_US
dc.date.accessioned2024-11-28T19:02:59Z-
dc.date.available2024-11-28T19:02:59Z-
dc.date.issued2566-05-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80278-
dc.description.abstractGreen soybean (Glycine max L.) seeds (GSS) are rich in various antioxidants and phytonutrients with procyanidin being a notable phytochemical that could treat and prevent many diseases including anti-inflammatory, and antioxidants. Green soybean is a fast-growing crop, so it is popular for cultivating and exporting frozen green soybean to Japan. Low-quality green soybean is the waste from frozen green soybean processing which also contains various nutrients. The low-quality green soybean extraction by ultrasound-assisted extraction (UAE) in the power of 125 watts for 15 min at temperature level of 40, 50, and 60˚C and solid-to-liquid ratio of 1:15, 1:20, and 1:25 for 9 were investigated. Higher extraction temperatures were found to degrade antioxidants, while increased solvent volume enhanced antioxidant content in the solution. Thus, the optimal conditions for GSS extraction were determined as 40˚C and a solid-to-liquid ratio of 1:25 that contained total phenolic compound (76.8 ± 0.46 mg GAE/ g) flavonoid (30.9 ± 0.58 mg CAE / g) procyanidin (21.4 ± 0.05 mg CAE/ g) antioxidant activity of DPPH (192 ± 0.09 μmol Trolox eq/ g) and FRAP (318 ± 0.71 μmol Trolox eq/ g) respectively. The GSS extract was dried by hot air drying (50, 60, and 70˚C), spray drying (130 and 160˚C at feed rates 2 and 3 ml/min), and freezing drying. The spray dried GSS extract at 160˚C, feed rate of 3 ml/min was the appropriate method to preserve antioxidant and antioxidant activity which contained total phenolic compound (245.23 ± 6.10 mg GAE / 100 g DW) flavonoid (15.55 ± 0.07 mg CAE / 100 g DW) procyanidin (14.05 ± 0.24 mg CAE / g DW) antioxidant activity of DPPH (8.33 ± 0.21 μmol Trolox eq/ 100 g DW) and FRAP (13.53 ± 0.53 μmol Trolox eq/ 100 g DW) respectively. The spray dried GSS extract was analyzed to water activity, moisture content, and color was 0.26, 5.03 ± 0.1%, L* (95.5 ± 0.06) a* (-2.49 ± 0.11) b* (6.3 ± 0.35) respectively. Although, freeze drying retained the highest antioxidant content and antioxidant activity freeze drying had a slower evaporation rate (0.35 ± 0.01 mg CAE/ 100 g h.) and higher drying energy (183 kWh), and specific energy consumption (12.48 ± 0.2 kWh per mg CAE/ 100 g h.) compared to spray drying. Spray drying at 160˚C, feed rate 3 ml/min has 0.66% procyanidin retention that second rang from freeze drying and high evaporation rate (3.3 ± 1.1 mg CAE / 100 g h.), energy consumption (7.03 kWh.), and specific energy consumption (0.50 ± 0.02 kWh per mg CAE/ 100 g h.). The present study also assessed the effects of storage temperature at 25, 35, and 45˚C for 3 months on antioxidant and antioxidant activity in GSS dried powder. Total phenolic content and antioxidant activity of FRAP were found to increase trend but flavonoid, procyanidin, and antioxidant activity of DPPH were found to decrease trend during storage. The dried GSS extract stored for 3 months demonstrated an increase in water activity and moisture content and the color of L* was brighter, while greenness and yellowness faded. The activity energy (Ea) of the GSS extract dried was 69.43 kJ/mol and Q10 was 0.4. To ensure the preservation of bioactive compounds and antioxidants activity, the GSS extract powder was packed in an aluminum foil bag and stored at 45°C, which maintained its quality for 53.7 weeks with a procyanidin retention rate of over 83%. In conclusion, the optimal ultrasound-assisted extraction conditions were 40˚C and green soybean seed-to-water ratio of 1:25. The spray drying at 160˚C, feed rate of 3 ml/min was suitable for GSS extraction drying that can be preserved at 45˚C for 53.7 weeks. Extract procyanidin 4.92 mg CAE per green soybean seed 1 g. This study provides valuable insights into the preparation of procyanidin extract powder from GSS, which could find applications in functional food products.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectProcyanidinen_US
dc.subjectGreen soybeanen_US
dc.subjectUltrasonic extractionen_US
dc.subjectBioactive compoundsen_US
dc.subjectDrying processen_US
dc.subjectStorage conditionen_US
dc.titleผลของสภาวะการสกัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงและวิธีการทำแห้งต่อปริมาณโพรไซยานิดินส์และกิจกรรมการต้านออกซิเดชันของสารสกัดจากถั่วแระญี่ปุ่น (Glycine max L.)en_US
dc.title.alternativeEffect of ultrasound-assisted extraction conditions and drying methods on procyanidin content and antioxidant activities from green soybean (Glycine max L.) seeden_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashถั่วแระญี่ปุ่น-
thailis.controlvocab.thashสารสกัดจากพืช-
thailis.controlvocab.thashโพรไซยานิดินส์-
thailis.controlvocab.thashแอนติออกซิแดนท์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractถั่วแระญี่ปุ่น (Glycine max L.) เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะโพรไซยานิดินส์เป็นสารพฤษเคมีที่พบในถั่วแระญี่ปุ่น ซึ่งช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการจากโรคต่างๆ โดยช่วยลดภาวะอักเสบ ต้านการติดเชื้อและต้านอนุมูลอิสระ ถั่วแระญี่ปุ่นเป็นพืชโตเร็วจึงเป็นที่นิยมในการเพาะปลูกและมีตลาดส่งออกประเทศญี่ปุ่นรองรับเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปถั่วแระญี่ปุ่นแช่แข็ง ซึ่งในกระบวนการผลิตเกิดของเสียจากถั่วแระญี่ปุ่นที่ต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการและสามารถเพิ่มมูลค่าได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสกัดสารสำคัญจากถั่วแระญี่ปุ่นด้วยวิธีคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าเท่ากับ 125 วัตต์ เป็นเวลา 15 นาทีโดยเปรียบเทียบอุณหภูมิในการสกัดที่ระดับต่างๆ ได้แก่ 40 50 และ 60˚C และเปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่างผงถั่วและตัวทำละลายเท่ากับ 1:15 1:20 และ 1:25 ทั้งหมด 9 สภาวะการสกัด ผลการศึกษาพบว่าการสกัดที่อุณหภูมิสูงส่งผลให้ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระลดลง ในขณะที่เพิ่มตัวทำละลายส่งผลให้ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มมาก สภาวะการสกัดถั่วแระญี่ปุ่นที่อุณหภูมิ 40˚Cอัตราส่วนถั่วแระญี่ปุ่นต่อตัวทำละลายเท่ากับ 1:25 มีปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและกิจกรรมการต้านออกซิเดชันสูงที่สุด โดยพบปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด ฟลาโวนอยด์ โพรไซยานิดินส์ กิจกรรมการต้านออกซิเดชัน DPPH และ FRAP สูงสุดเท่ากับ 76.8 ± 0.46 มิลลิกรัมสมมูลกรดกาลิกต่อกรัมตัวอย่าง 30.9 ± 0.58 มิลลิกรัมสมมูลคาเทชินต่อกรัมตัวอย่าง 21.4 ± 0.05 มิลลิกรัมสมมูลคาเทชินต่อกรัมตัวอย่าง 192 ± 0.09 ไมโครโมลสมมูลโทรลอกซ์ต่อกรัมตัวอย่าง 318 ± 0.71 ไมโครโมลสมมูลโทรลอกซ์ต่อกรัมตัวอย่าง ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบความคงตัวของสารสกัดภายหลังการทำแห้งแบบอบลมร้อน (50 60 และ70˚C) การทำแห้งแบบพ่นฝอย (130 และ 160˚C ที่อัตราการป้อนตัวอย่างที่ 2 และ 3 มิลลิลิตรต่อนาที) และการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง พบว่าการทำแห้งแบบพ่นฝอยที่ 160˚C อัตราการป้อนตัวอย่าง 3 มิลลิลิตรต่อนาทีเป็นวิธีการทำแห้งที่เหมาะสมที่สุดโดยปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด ฟลาโวนอยด์ โพรไซยานิดินส์ และกิจกรรมการต้านออกซิเดชัน DPPH และ FRAP เท่ากับ 245.23 ± 6.10 มิลลิกรัมสมมูลกรดกาลิกต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง 15.55 ± 0.07 มิลลิกรัมสมมูลคาเทชินต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง 14.05 ± 0.24 มิลลิกรัมสมมูลคาเทชินต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง 8.33 ± 0.21 ไมโครโมลสมมูลโทรลอกซ์ต่อ 100 กรัมหนักแห้ง และ 13.53 ± 0.53ไมโครโมลสมมูลโทรลอกซ์ต่อ 100 น้ำหนักแห้ง ตามลำดับ และมีวอเตอร์แอคทีวิตี้ ปริมาณความชื้น และค่าสี L* a* b* เท่ากับ 0.26 ± 0.00 5.03 ± 0.1% และ 95.5 ± 0.06 -2.49 ± 0.11 6.3 ± 0.35 ตามลำดับ แม้ว่าการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งจะมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและกิจกรรมการต้านออกซิเดชันสูงที่สุด แต่มีอัตราการระเหยน้ำต่อชั่วโมงที่ต่ำ ใช้พลังงานการทำแห้งและดัชนีชี้วัดการใช้พลังงานสูงเท่ากับ 0.35 ± 0.01 มิลลิกรัมสมมูลคาเทชินต่อ100 กรัมชั่วโมง 183 kWh และ 12.48 ± 0.2 kWh ต่อมิลลิกรัมสมมูลคาเทชินต่อ 100 กรัม ตามลำดับ ในขณะที่การทำแห้งแบบพ่นฝอยที่ 160˚C อัตราการป้อนตัวอย่าง 3 มิลลิลิตรต่อนาทีมีอัตราการระเหยน้ำสูง พลังงานการทำแห้งและดัชนีชี้วัดการใช้พลังงานเพียง 3.3 ± 1.1 มิลลิกรัมสมมูลคาเทชินต่อ100 กรัมชั่วโมง 7.03 และ 0.50 ± 0.02 kWh ต่อมิลลิกรัมสมมูลคาเทชินต่อ100 กรัม ตามลำดับ และมีโพรไซยานิดินส์หลงเหลือเท่ากับ 0.66% ± 0.02 อยู่ในลำดับที่สองรองจากการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง จากผลการศึกษาอายุการเก็บรักษาสารสกัดผงที่อุณหภูมิ 25 35 และ 45˚C เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยพบปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด กิจกรรมการต้านออกซิเดชัน FRAP มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ปริมาณฟลาโวนอยด์ โพรไซยานิดินส์และกิจกรรมการต้านออกซิเดชัน DPPH มีแนวโน้มที่ลดลง และวอเตอร์แอคทีวิตี้ และปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้นและคงที่จนถึงสัปดาห์ที่ 12 ค่าความสว่าง (L*) เพิ่มขึ้น สีเขียว (a*) และ สีเหลือง (b*) จางลง ภายหลังการเก็บรักษาสารสกัดนาน 3 เดือน สารสกัดที่ผ่านการทำแห้งแบบพ่นฝอยมีพลังงานกระตุ้นเท่ากับ 69.43 kJ/mol และมีค่า Q10 เท่ากับ 0.4 โดยสามารถเก็บสารสกัดถั่วแระญี่ปุ่นได้ดีที่อุณหภูมิ 45˚C ในถุงอลูมิเนียมฟลอยด์สุญญากาศเป็นระยะเวลา 53.7 สัปดาห์ โดยที่ยังคงรักษาปริมาณโพรไซยานิดินส์ไม่ต่ำกว่า 83% จากผลการทดลองทั้งหมดสรุปได้ว่าสภาวะเหมาะสมในการสกัดถั่วแระญี่ปุ่นด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงคือที่อุณหภูมิ 40˚C อัตราส่วนระหว่างถั่วแระญี่ปุ่นและน้ำเท่ากับ 1:25 และการทำแห้งแบบพ่นฝอยที่อุณภูมิ 160˚C อัตราการป้อน 3 มิลลิลิตรต่อนาทีเป็นวิธีการทำแห้งที่เหมาะสมที่สุด โดยสามารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์สารสกัดถั่วแระญี่ปุ่นผงที่อุณหภูมิ 45˚C เป็นระยะเวลา 53.7 สัปดาห์ โดยถั่วแระญี่ปุ่นสด 1 กรัมสามารถสกัดโพรไซยานิดินส์ได้เท่ากับ 4.92 มิลลิกรัมสมมูลคาเทชิน สารสกัดจากถั่วแระญี่ปุ่นผงสามารถนำไปต่อยอดได้ในผลิตภัณฑ์อาหารเชิงหน้าที่เพื่อเพิ่มประโยชน์และมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์en_US
Appears in Collections:AGRO: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.