Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80258
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชัยวุฒิ ตั้งสมชัย | - |
dc.contributor.author | พีรญา อินทรจักร | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-11-24T18:07:22Z | - |
dc.date.available | 2024-11-24T18:07:22Z | - |
dc.date.issued | 2567-10-26 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80258 | - |
dc.description.abstract | This independent study aimed to study the attitude of Chiang Mai University’s employees towards the investment in mutual funds. The total population of 12,103 employees which were currently working at Chiang Mai University in 2020 were used as the sample group in this study. The sample size was calculated using Taro Yamane method and 388 employees were selected. The data were collected by using a questionnaire as a tool and analyzed by using descriptive statistics, frequency, percentage and mean, and inferential statistics, ANOVA Test. The results of the study showed that the respondents were mostly female, aged 26-35 years, single, had the highest level of education of bachelor's degree, were in full-time employment, had an average monthly income of 20,001-30,000 baht, and most had never invested in mutual funds. Their current investment was on savings deposits/Government Savings Bonds. The results on Cognitive component presented that 20.83% of the respondents had knowledge and understanding about mutual funds. The most widely understood topic was Mutual funds being divided into two types: closed-end funds and open-end funds. Followed by the minimum amount required to purchase investment units which depending on the conditions of each fund management company. Also known that Savings Mutual Funds (SSF) and Retirement Mutual Funds (RMF) were funds established by the government to provide tax benefits to investors. The results on Affective component presented that the respondents agreed with investing in mutual funds at a moderate level. There were three things they agreed with the most being that the fund management company's policy and credibility had an effect on investment decisions and mutual fund investment expenses had an equal effect on decisions. Second was tax benefits as the main factor that made them interested in and chose to invest in mutual funds (SSF and RMF), and mutual funds were an investment form that provided returns that were worth the risks. The results on investment Behavioral component presented that only 39.7 percent of respondents were interested in investing in mutual funds. The factor that most influenced their choice to invest in mutual funds was satisfactory returns, followed by tax benefits and the reliability of the mutual fund company. Personal funds were the source of investment. The maximum amount of investment to be invested in mutual funds was less than 50,000 baht. Commercial banks were the most popular sources of buying mutual funds. The reasons for choosing were the reliability of the organization, the plenty branches that made it easy to choose services and the staff provided good advice. For those who were not interested in investing, the most common reasons for not being interested were not having enough knowledge, low returns and high risks. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ทัศนคติต่อการลงทุนในกองทุนรวม | en_US |
dc.subject | บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | Mutual Fund Investment | en_US |
dc.title | ทัศนคติต่อการลงทุนในกองทุนรวมของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Attitude towards mutual fund investment of Chiang Mai University employees | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -- ข้าราชการและพนักงาน | - |
thailis.controlvocab.thash | พนักงาน -- ทัศนคติ | - |
thailis.controlvocab.thash | กองทุนรวม | - |
thailis.controlvocab.thash | การลงทุน | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ทัศนคติต่อการลงทุนในกองทุนรวมของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการลงทุนในกองทุนรวมของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยประชากรที่ใช้เป็นตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ บุคลากรที่ทำงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 12,103 ราย โดยกลุ่มตัวอย่างคำนวณจากวิธีทาโร่ ยามาเน่ รวมทั้งสิ้นจำนวน 388 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ F-test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากที่สุด มีอายุ 26 – 35 ปี มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาสูงสุด คือ ปริญญาตรี เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยประจำ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท ส่วนใหญ่ไม่เคยลงทุนในกองทุนรวม และมีรูปแบบการลงทุนในปัจจุบัน คือ เงินฝาก/สลากออมสิน ผลการศึกษาองค์ประกอบด้านความรู้ความเข้าใจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนรวมคิดเป็นร้อยละ 20.83 เรื่องที่มีความรู้ความเข้าใจมากที่สุดคือ กองทุนรวมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กองทุนปิดและกองทุนเปิด รองลงมา จำนวนเงินขั้นต่ำที่กำหนดในการซื้อหน่วยลงทุน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทจัดการกองทุนแต่ละแห่ง และกองทุนรวมเพื่อการออมและกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเป็นกองทุนที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุน องค์ประกอบด้านความคิดเห็น พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยกับการลงทุนในกองทุนรวมในระดับปานกลาง โดยมีเรื่องที่เห็นด้วยมาก 3 ลำดับแรก คือ นโยบายและความน่าเชื่อถือของบริษัทจัดการกองทุน มีผลต่อการตัดสินใจลงทุน และ อัตราค่าใช้จ่ายในการลงทุนกองทุนรวม มีผลต่อการตัดสินใจเท่ากัน รองลงมาเป็น สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สนใจ และเลือกที่จะลงทุนในกองทุนรวม (SSF และ RMF) และกองทุนรวมเป็นรูปแบบการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าความเสี่ยง องค์ประกอบด้านพฤติกรรม พบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามสนใจอยากลงทุนในกองทุนรวม เพียงร้อยละ 39.7 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกลงทุนในกองทุนรวม มากที่สุด คือ ผลตอบแทนที่น่าพอใจ รองลงมาคือ สิทธิประโยชน์ทางภาษี และความน่าเชื่อถือของบริษัทจัดการกองทุนรวม และจัดหาแหล่งเงินลงทุนคือ เงินทุนส่วนตัว โดยจำนวนเงินลงทุนที่จะนำมาลงทุนในกองทุนรวม มากที่สุด คือ น้อยกว่า 50,000 บาท เลือกซื้อกองทุนรวมผ่าน ธนาคารพาณิชย์ มากที่สุด สาเหตุที่เลือกเพราะความน่าเชื่อถือของหน่วยงาน มีหลายสาขาง่ายต่อการเลือกใช้บริการ และพนักงานให้คำแนะนำเป็นอย่างดี สำหรับผู้ไม่สนใจลงทุน สาเหตุที่ไม่ให้ความสนใจมากที่สุด คือ ไม่มีความรู้เพียงพอ ผลตอบแทนต่ำ และมีความเสี่ยงสูง | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
621532120-พีรญา อินทจักร.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.