Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80206
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพิณ สันติธีรากุล-
dc.contributor.authorปิยวรรณ ธรรมศิลป์en_US
dc.date.accessioned2024-11-19T18:34:32Z-
dc.date.available2024-11-19T18:34:32Z-
dc.date.issued2567-08-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80206-
dc.description.abstractThis study aims to examine the impact of and responses to the COVID-19 pandemic of non-housing estate in Chiang Mai Province and investigate how these businesses have adapted to the pandemic. Primary data was collected through in-depth interviews with 15 detached house business owners in Chiang Mai Province. The analysis and presentation of the findings focused on evaluating the external environment affecting these businesses, assessing strengths, weaknesses, opportunities, and threats, and analyzing the internal business environment using concepts from business administration, success factors, and business adaptation strategies. The study also examined the alignment of seven key factors and the support measures provided by the government and relevant agencies during the COVID-19 pandemic. The study found that most business owners had around 1-9 years of experience in operating their businesses. The business model involved purchasing land, dividing it, and building no more than 9 detached houses per plot for sale to customers. The organizational structure was simple, with no clear division of responsibilities, as the business owner worked alongside the employees. Organizational strategies were set informally, based on experience and an overall view of the economy. The businesses typically used basic accounting methods and hired experienced local employees, without providing formal training or developing a unified organizational culture. The work environment emphasized mutual dependence and cooperation. Traditional construction technologies were employed, while online platforms were used to reach potential customers. Before the COVID-19 pandemic, the business operated normally, with flexibility and a high demand for houses from interested buyers. Real estate was in high demand, and there was strong buying interest from foreign nationals. However, at the onset of the COVID-19 pandemic, the most significant external factor affecting the business was the economy. Prices increased, customer purchasing power declined, and customers became more cautious with their spending due to concerns about job security and the overall economy. Internally, the biggest challenge was that employees did not fully understand the work processes, leading to tasks not being executed according to the plans. Limited financial resources also made cash flow management difficult, and the business struggled with liquidity. The strengths of the business included the aesthetic design of the houses, value for money, good locations, and the use of quality materials. However, the business faced limitations, such as limited capital and a shortage of experienced workers. Opportunities arose from government policies, such as reduced fees for the transfer of house and land ownership, lower mortgage registration fees, and interest rate reductions, which eased the burden on entrepreneurs and helped customers make quicker decisions to purchase homes. Obstacles included rising construction costs and economic concerns that caused customers to delay their purchasing decisions. Key success factors included a focus on quality and aesthetics, setting house prices that matched the customers' purchasing power, effective advertising to attract customers, and using personal capital to reduce financial pressure in business operations. During the COVID-19 pandemic, business owners were impacted by a decrease in home buyers, reduced liquidity, increased operational costs, and delays in project execution, all of which led to a decline in business revenue. As a result, entrepreneurs adapted their business models to align with the COVID-19 situation. They adjusted home designs to match customers' purchasing power, focused on building low-cost houses to keep sale prices reasonable and accelerate sales, and substituted certain materials to fit the budget and meet customer needs. In addition, in terms of operations, they shifted to online sales channels and implemented measures to monitor and prevent the spread of COVID-19. In terms of support from the government and related agencies, credit measures such as interest rate reductions and tax measures such as lowering the fees for house and land ownership transfers and mortgages have helped customers decide to purchase homes. However, these measures have not fully met the needs of business owners. Entrepreneurs still seek additional support, including the enhancement of career-related skills and knowledge, alleviation of operational costs, policies to further incentivize home purchases, tax reductions, increased efficiency in related government processes, stimulation of the economy, and control of consumer goods prices. High prices have raised operational costs, and lower costs would help ease the burden on business owners and allow customers to purchase homes at more affordable prices.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลกระทบและการปรับตัวต่อการระบาดของโควิด 19 ของธุรกิจบ้านไม่จัดสรรในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeImpact of and responses to the COVID-19 pandemic of non-housing estates in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashบ้าน -- การจัดซื้อ-
thailis.controlvocab.thashที่อยู่อาศัย -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashบ้าน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการเลือกซื้อสินค้า-
thailis.controlvocab.thashผู้ประกอบการ -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020--
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อการระบาดของโควิด 19 ของการธุรกิจบ้านไม่จัดสรรในจังหวัดเชียงใหม่ และศึกษาการปรับตัวต่อการระบาดของโควิด 19 ของธุรกิจ บ้านไม่จัดสรรในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการธุรกิจบ้านไม่จัดสรรในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 15 ราย เพื่อนำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการศึกษา โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของธุรกิจ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจโดยใช้แนวคิดหน้าที่ ทางการบริหารธุรกิจ แนวคิดปัจจัยสู่ความสำเร็จ แนวคิดในการปรับตัวของผู้ประกอบการ และวิเคราะห์ความสอดคล้องของปัจจัยทั้ง 7 ประการ ตลอดจนมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 จากการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบการส่วนมากมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจประมาณ 1-9 ปี ลักษณะธุรกิจเป็นการซื้อที่ดินเพื่อนำมาแบ่งแยกและสร้างบ้านขายให้แก่ลูกค้าครั้งละไม่เกิน 9 หลัง ต่อแปลง โดยโครงสร้างองค์กรเป็นแบบง่าย ไม่มีการแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบที่ชัดเจน เจ้าของกิจการลงมือปฏิบัติงานร่วมกับพนักงาน การกำหนดกลยุทธ์องค์กรไม่เป็นทางการ อาศัยประสบการณ์และมองภาพรวมเศรษฐกิจ การจัดทำบัญชีอย่างง่าย การคัดเลือกพนักงาน ที่มีประสบการณ์โดยเน้นพนักงานในพื้นที่ ไม่มีการอบรมพนักงานอย่างเป็นทางการและ การออกแบบวัฒนธรรมองค์ร่วมกัน เน้นการทำงานร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การใช้เทคโนโลยีรูปแบบเดิมในการก่อสร้างและใช้ช่องทางออนไลน์ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด 19 ธุรกิจดำเนินงานตามปกติ คล่องตัว และมีกลุ่มลูกค้าที่สนใจต้องการซื้อบ้านเป็นจำนวนมากอสังหาริมทรัพย์เป็นที่ต้องการ เกิดกระแสแรงซื้อจากชาวต่างชาติ ทั้งนี้ ในช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของโควิด 19 ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อธุรกิจมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างมีราคาแพงขึ้น กำลังซื้อของลูกค้าลดลง ลูกค้าระมัดระวังเรื่องการใช้จ่าย ลูกค้าเกิดความกังวลด้านความมั่นคงทางหน้าที่การงานและระบบเศรษฐกิจ โดยปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากที่สุด คือ พนักงานมีทักษะในการทำงานต่ำ ตลอดจนเงินทุนที่มีจำกัดทำให้การบริหารทางการเงินทำได้ยาก ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ทั้งนี้ ธุรกิจมี จุดแข็ง ได้แก่ รูปแบบการสร้างบ้านมีความสวยงาม คุ้มค่า ทำเลดีและใช้วัสดุที่มีคุณภาพด้านข้อจำกัด ได้แก่ เงินทุนและแรงงานที่มีประสบการณ์มีจำกัด ด้านโอกาส ได้แก่ นโยบายการลดค่าธรรมเนียม การโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดิน การจดจำนอง รวมทั้งการลดอัตราดอกเบี้ย ช่วยลดภาระให้กับผู้ประกอบการและช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อบ้านได้เร็วขึ้น ด้านอุปสรรค ได้แก่ ต้นทุนในการก่อสร้างสูงขึ้น ความกังวลด้านเศรษฐกิจทำให้ลูกค้าชะลอการตัดสินใจซื้อบ้าน ด้านปัจจัยสู่ความสำเร็จ ได้แก่ การใส่ใจเรื่องคุณภาพ ความสวยงาม การตั้งราคาขายบ้านที่เหมาะสมกับกำลังซื้อของลูกค้า การโฆษณาเพื่อดึงดูดลูกค้า ตลอดจนการใช้เงินทุนของตนเองในการทำธุรกิจทำให้ลดแรงกดดัน ในการดำเนินธุรกิจ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบ ได้แก่ จำนวนผู้ซื้อบ้านลดลง สภาพคล่องของธุรกิจลดลง ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น ตลอดจนถึงการดำเนินงานล่าช้า ส่งผลให้รายได้ของธุรกิจลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงได้ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด 19 โดยการปรับรูปแบบการสร้างบ้านให้เข้ากับกำลังซื้อของลูกค้า การสร้างบ้านต้นทุนต่ำเพื่อให้ราคาขายบ้านไม่สูงจนเกินไปและขายได้เร็วขึ้น การปรับเปลี่ยนวัสดุบางอย่างให้สอดคล้องกับงบประมาณ และความต้องการของลูกค้า ในด้านการทำงานมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขายผ่านช่องทางออนไลน์ตลอดจนมีการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโควิด 19 ด้านการช่วยเหลือจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านมาตรการสินเชื่อ ได้แก่ การลดอัตราดอกเบี้ยและด้านภาษี ได้แก่ การลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดิน การจดจำนอง มีช่วยในการตัดสินใจซื้อบ้านของลูกค้าแต่ยังไม่ตอบสนองต่อเท่าที่ควรผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังมีความต้องการให้ช่วยเหลือด้านการเพิ่มทักษะความรู้ที่ข้องกับอาชีพ การแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย การออกนโยบายการเพื่อจูงใจการซื้อบ้านเพิ่มขึ้น การลดอัตราภาษี การเพิ่ม ความรวดเร็วในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การกระตุ้นเศรษฐกิจ การควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เนื่องจากราคาสินค้าที่แพงกระทบต่อต้นทุนการในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้นทุนถูกจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประกอบการและทำให้ลูกค้าซื้อบ้านได้ในราคาที่ถูกลงen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631532067-ปิยวรรณ ธรรมศิลป์.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.