Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80186
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุกิจ กันจินะ | - |
dc.contributor.advisor | บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล | - |
dc.contributor.advisor | พิมพ์ใจ สีหะนาม | - |
dc.contributor.author | สังวาน อินทะวง | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-11-19T00:58:17Z | - |
dc.date.available | 2024-11-19T00:58:17Z | - |
dc.date.issued | 2024-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80186 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research were 1) to study some personal, economic, and social characteristics of vegetable growers in Pakxong District, Champasak Province, Lao People's Democratic Republic (Lao PDR); 2) to examine factors affecting the adoption of Good Agricultural Practices (GAP) by vegetable growers; and, 3) to explore problems, needs, and recommendations regarding GAP implementation among vegetable growers. The study employed a structured interview to collect data from 240 vegetable growers in Pakxong District, Champasak Province, Lao PDR, between November and December 2023. Statistical analysis included frequency, maximum and minimum values, percentage, mean, and standard deviation. Multiple regression analysis was also performed to determine factors influencing GAP adoption among vegetable growers in the study area. Results showed that many vegetable growers were male (64.58%), with an average age of 51.09 years, and one-third completed upper secondary education. Vegetable growers had an average of 24.55 years of experience in vegetable cultivation and an average of 3.74 household members being agricultural laborers. In 2023, vegetable growers earned an average income of 68.85 million kip/year (approximately 108,094 Thai baht/year) from vegetable cultivation, with an average cultivation area of 19.18 rai. The average production cost was 33.85 million kip/year (approximately 53,144 Thai baht/year). Most vegetable growers (88.75%) had a single sale channel, with intermediaries being the primary outlet. All vegetable growers received the information via GAP training for sources of GAP information. In addition, they acquired GAP information from other sources, such as YouTube and other farmers. Regarding government support for GAP implementation, it was found that a large number of vegetable growers (48.75%) received support in terms of knowledge about chemical fertilizer use and related regulations. They were also provided with advice on fertilizer application methods and consultation on plot management. Vegetable growers' knowledge of GAP was high (X ̅ = 18.74), while their implementation of GAP was moderate (X ̅ = 1.67). Regression analysis revealed that information sources and government suppor significantly influenced GAP adoption at 0.01 level. To facilitate more GAP adoption, relevant government agencies, including Agricultural Cooperatives Department and Clean Agriculture Development and Plant growing agency in Pakxong District, Champasak Province, should seek or create suitable communication channels to disseminate GAP information. They should also increase the frequency of field visits to meet vegetable growers to boost their confidence and provide helpful advice. The agencies should regularly organize training to enhance vegetable growers' knowledge of plant diseases and pests, which, in turn, would help reduce their concern about these problems. Demonstrations should also be arranged to show the improvement achieved by new methods in vegetable cultivation. These measures would improve vegetable growers' understanding of and confidence in GAP, which ultimately would lead to more adoption and practice of GAP. In addition, government agencies at the policy level, such as Department of Rural Development and Cooperatives and Ministry of Industry and Trade, should collectively plan and introduce concrete measures to support the agricultural sector, such as price support and price control for production factors to reduce vegetable growers' cultivation costs. They should also continually introduce policies that support GAP. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของผู้ปลูกผักในอำเภอปากซอง จังหวัดจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | en_US |
dc.title.alternative | Factors affecting vegetable growers’ adoption of good agricultural practices in Pakxong District, Champasak province, Lao People’s Democratic Republic | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ผัก -- การปลูก -- ลาว | - |
thailis.controlvocab.thash | การปลูกพืช -- ปากซอง (จำปาสัก) | - |
thailis.controlvocab.thash | เกษตรกร -- ลาว | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมบางประการของผู้ปลูกผักในอำเภอปากซอง จังหวัดจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรกรที่ดีของผู้ปลูกผัก และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา ความต้องการ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของผู้ปลูกผัก โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (structured interview) ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นเกษตรผู้ปลูกผักในอำเภอปากซอง จังหวัดจำปาสัก สปป. ลาว จำนวน 240 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (simple random sampling) โดยการจับสลากแบบไม่ใส่กลับคืน และทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2566 ส่วนสถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าสูงสุด-ต่ำสุด (maximum and minimum) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis) เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรผู้ปลูกผัก ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกผักจำนวนมากเป็นเพศชาย (ร้อยละ 64.58) มีอายุเฉลี่ย 51.09 ปี เกษตรกรผู้ปลูกผักหนึ่งในสามจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีประสบการณ์ในการปลูกผักเฉลี่ย 24.55 ปี และมีสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นแรงงานเกษตรเฉลี่ย 3.74 คน ในปี พ.ศ. 2566 เกษตรกรผู้ปลูกผักมีรายได้จากการปลูกผักเฉลี่ย 68.85 ล้านกีบ/ปี (ประมาณ 108,094 บาท/ปี) และมีขนาดพื้นที่ปลูกผักเฉลี่ย 19.18 ไร่ สำหรับต้นทุนการปลูกผักพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกผักมีต้นทุนเฉลี่ย 2.09 ล้านกีบ/ไร่ (ประมาณ 3,284 บาท/ไร่) ในส่วนของแหล่งจำหน่ายผักพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกผักส่วนใหญ่ (ร้อยละ 88.75 ) มีแหล่งจำหน่ายแหล่งเดียว โดยแหล่งจำหน่ายที่สำคัญ คือ พ่อค้าคนกลาง สำหรับแหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกผักทั้งหมดได้รับข้อมูลข่าวสารดังกล่าวจากการฝึกอบรมด้านการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) นอกจากนี้เกษตรกรผู้ปลูกผักยังได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) จากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ อาทิ ยูทูป (YouTube) และเพื่อนเกษตรกร ในด้านของการสนับสนุนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) จากหน่วยงานภาครัฐ พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกผักจำนวนมาก (ร้อยละ 48.75 ) ได้รับการสนับสนุนด้านความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเคมีและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนในด้านอื่นๆ เช่น คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้ปุ๋ยเคมี และการให้คำปรึกษาและการแนะนำวิธีการจัดการแปลงปลูก สำหรับความรู้ในการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรผู้ปลูกผักโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 18.74) และมีการปฏิบัติเกษตรที่ดี (GAP) อยู่ในระดับปานกลาง ((X ) ̅ = 1.67) จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรผู้ปลูกผัก พบว่า แหล่งข้อมูลข่าวสาร และการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐมีผลต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เพื่อสนับสนุนให้มีการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) มากขึ้น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง คือ หน่วยงานส่งเสริมเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานมาตรฐานเกษตรสะอาด และหน่วยงานปลูกพืช อำเภอปากซอง จังหวัดจำปาสัก ควรสร้างหรือแสวงหาช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมในการถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) รวมทั้งควรเพิ่มความถี่ในการลงพื้นที่เพื่อพบปะเกษตรกรโดยตรง เพื่อสร้างความมั่นใจและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ และควรจัดอบรมอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการจัดการเรื่องโรค แมลง และศัตรูพืช เพื่อช่วยลดความกังวลของเกษตรกร รวมทั้งการสาธิตเพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่ดีขึ้นของวิธีการใหม่ในการปลูกผัก การดำเนินการเหล่านี้จะช่วยสร้างความเข้าใจและความมั่นใจให้กับเกษตรกร นำไปสู่การยอมรับและการปฏิบัติตามแนวทางเกษตรที่ดี (GAP) มากขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานในระดับนโยบาย เช่น กรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ควรวางแผนร่วมกันในการกำหนดมาตรการที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนภาคเกษตรกรรม เช่น การพยุงราคาพืชผล และการควบคุมราคาปัจจัยการผลิตเพื่อลดต้นทุนให้แก่เกษตรกร รวมทั้งนอกจากนี้ ควรมีนโยบายในการส่งเสริมระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) อย่างต่อเนื่อง | en_US |
Appears in Collections: | AGRO: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
650831042 Sangvan INTHAVONG.pdf | 2.91 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.