Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80155
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิจิตร ประพงษ์ | - |
dc.contributor.author | แพรวขนิษฐ์ คำวงษ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-11-14T00:42:58Z | - |
dc.date.available | 2024-11-14T00:42:58Z | - |
dc.date.issued | 2024-10 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80155 | - |
dc.description.abstract | Following the Thai government's decision to remove cannabis from the list of narcotics, there has been a societal surge of both opposition and support for legal cannabis. Amidst this confusing and tumultuous situation, this research aims to study the new meanings attributed to recreational cannabis in Thai society, focusing specifically on the perspectives of recreational cannabis users. The objectives are: 1) To understand the process of constructing meanings or discourses about cannabis as a narcotic that has continuously and long-lastingly affected people's understanding in Thai society; 2) To demonstrate the impact on the daily lives of recreational cannabis users resulting from this meaning construction; 3) To examine how recreational cannabis users contest the meanings associated with cannabis. The research employs three methodologies: semi-structured in-depth interviews, participant observation, and documentary research. The study reveals three significant findings Firstly, the construction of cannabis meaning as a narcotic is primarily a result of interference from powerful nations, with Thai social institutions, including legal institutions, educational institutions, and mass media, serving as crucial mechanisms in creating and disseminating negative images of cannabis. Secondly, the stigmatization of cannabis users affects lifestyles to varying degrees, depending on frequency of use, patterns of use, and social status. However, Thai society generally stigmatizes cannabis users severely due to harsh legal penalties, ranging from contemptuous looks to ruined futures following legal prosecution. Thirdly, recreational cannabis users have created new meanings for cannabis, divided into two main approaches. One views cannabis as a tool for emotional management, used to manage stress, enhance daily activities, and create mental tranquility. The other sees cannabis as a component of identity and lifestyle, becoming an integral part of life, a source of income, and creativity. These new meanings that recreational cannabis users attribute to cannabis differ from the original image that viewed cannabis users as violent, reckless, dangerous, and intellectually inferior individuals. In the perspective of recreational cannabis users, cannabis has been elevated from a symbol of failure and addiction to a symbol of peace, happiness, and creativity. This study reflects the complexity of the phenomenon of recreational cannabis use in Thai society and highlights the need to review societal policies and attitudes towards cannabis and its users. The researcher proposes considering approaches to decriminalization and harm reduction to address substance abuse issues efficiently and sustainably, considering individual rights, social impacts, and the balance between freedom and responsibility. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ความหมายใหม่ของกัญชาเพื่อนันทนาการในสังคมไทย โดยผู้ใช้สายเขียว | en_US |
dc.title.alternative | New meaning of recreational Marijuana in Thailand by Thai weed users | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | กัญชา | - |
thailis.controlvocab.thash | การติดกัญชา | - |
thailis.controlvocab.thash | การใช้ยาในทางที่ผิด | - |
thailis.controlvocab.thash | ยาเสพติด | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | หลังจากรัฐบาลไทยได้ถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ เกิดกระแสสังคมทั้งคัดค้านและสนับสนุนกัญชาถูกกฎหมาย ท่ามกลางสถานการณ์อันสับสนวุ่นวาย การวิจัยนี้มุ่งศึกษาการให้ความหมายใหม่ของกัญชาเพื่อนันทนาการในสังคมไทย โดยเน้นมุมมองของผู้ใช้กัญชาเพื่อนันทนาการโดยเฉพาะ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทําความเข้าใจกระบวนการประกอบสร้างความหมายเกี่ยวกับกัญชายาเสพติดในฐานะแนวคิดที่ส่งผลต่อความเข้าใจของผู้คนในสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน 2) เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตที่ผู้ใช้กัญชาเพื่อนันทนาการได้รับจากการประกอบสร้างความหมายดังกล่าว 3) เพื่อศึกษาว่าผู้ใช้กัญชาเพื่อนันทนาการมีการช่วงชิงความหมายเกี่ยวกับกัญชาอย่างไร โดยใช้วิธีวิจัย 3 รูปแบบ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง, การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงเอกสาร การศึกษามีข้อค้นพบ สามประการสำคัญ คือ ประการแรก การประกอบสร้างความหมายกัญชาในฐานะยาเสพติดเป็นผลมาจากการแทรกแซงของประเทศมหาอำนาจเป็นสำคัญ โดยมีสถาบันทางสังคมในประเทศไทยประกอบด้วย สถาบันกฎหมาย สถาบันการศึกษาและสื่อมวลชนเป็นกลไกสำคัญในการสร้างและเผยแพร่ภาพลักษณ์เชิงลบของกัญชาและผู้ใช้กัญชา ประการที่สอง การตีตราผู้ใช้กัญชาเพื่อนันทนาการส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตในระดับที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับ ความถี่ในการใช้ รูปแบบการใช้ และสถานะทางสังคม แต่โดยทั่วไปแล้วสังคมไทยมีการตีตราผู้ใช้กัญชาในระดับรุนแรงอันเนื่องมาจากโทษทางกฎหมายที่รุนแรง เริ่มตั้งแต่การถูกมองด้วยสายตาเหยียดหยามไปจนถึงการหมดอนาคตหลังถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ประการที่สาม ผู้ใช้กัญชาเพื่อนันทนาการได้สร้างความหมายใหม่ให้กับกัญชา โดยแบ่งเป็นสองแนวทางหลัก หนึ่ง กัญชาในฐานะเครื่องมือเยียวยาอารมณ์ ช่วยในการจัดการกับความท้าทายในชีวิตประจำวัน เพิ่มความผ่อนคลาย และทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตสนุกสนานมากขึ้น และสอง กัญชาในฐานะส่วนประกอบของอัตลักษณ์และวิถีชีวิต กัญชากลายเป็นส่วนสำคัญของการก่อร่างตัวตนและการดำเนินชีวิต เป็นแหล่งที่มาของรายได้และความคิดสร้างสรรค์ โดยความหมายใหม่ที่สายเขียวมอบให้กัญชานั้นแตกต่างจากภาพลักษณ์เดิมที่มองว่าผู้ใช้กัญชาเป็นบุคคลที่มีอารมณ์รุนแรง ขาดสติ เป็นอันตราย และด้อยสติปัญญา ในทัศนะของสายเขียว กัญชาได้รับการยกระดับจากสัญลักษณ์ของความล้มเหลวและการเสพติด มาสู่การเป็นสัญลักษณ์ของความสงบ ความสุข และความคิดสร้างสรรค์ การศึกษานี้สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนของปรากฏการณ์การใช้กัญชาเพื่อนันทนาการในสังคมไทย และชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการทบทวนนโยบายและทัศนคติของสังคมต่อกัญชาและผู้ใช้ ผู้วิจัยเสนอให้พิจารณาแนวทางการลดทอนความเป็นอาชญากรรมและการลดอันตรายจากการใช้ยา เพื่อจัดการกับปัญหาสารเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล ผลกระทบต่อสังคม และความสมดุลระหว่างเสรีภาพกับความรับผิดชอบ | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
640431008-แพรวขนิษฐ์ คำวงษ์.pdf | 6.46 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.