Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80143
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสาวิตรี ชารุนันทกร-
dc.contributor.authorนภัสสร ภู่ประเสริฐen_US
dc.contributor.otherสรินยา ศรีเพชราวุธ-
dc.contributor.otherพรเพ็ญ ศิริสัตยะวงศ์-
dc.date.accessioned2024-11-06T00:38:57Z-
dc.date.available2024-11-06T00:38:57Z-
dc.date.issued2567-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80143-
dc.description.abstractBackground: Nowadays, the prevalence of adolescents and young adults playing games on the internet is increasing worldwide. However, excessive game playing can cause game addiction among adolescents. Studies have demonstrated that game addiction increases the risks of physical and mental health problems, leading to occupational performance issues. Nevertheless, what level of game addiction impacts occupational health issues is controversial. Therefore, this study focused on the concept of occupational balance, which is an individual’s perception of a proper amount and diversity of activities. The study demonstrated that occupational imbalance could lead to the decrease of individual’s occupational performance. However, an appropriate instrument for screening occupational balance in young adults with game addiction has never been studied yet, especially in a Thai version. Objectives: This study aimed to develop a self-report questionnaire on occupational balance for Thai university students with game addiction. Materials and methods: The questionnaire consisted of 21 items were divided into four dimensions including the individual’s perceptions of participating in meaningful activities, having the proper proportion of time to perform occupations, having the appropriate variety of occupations, and being satisfied with their health and well-being. In addition, the psychometric properties of a questionnaire were investigated. Results: The questionnaire had sufficient validity and good internal consistency for screening occupational balance in the Thai university students with game addiction. The questionnaire was divided into four dimensions and each dimension of the questionnaire also had good construct validity and good internal consistency. Conclusions: The questionnaire had acceptable validity and reliability for evaluating occupational balance for Thai university students with game addiction. This information can provide a new occupational therapy instrument for identifying occupational balance in population with game addiction.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาแบบประเมินตนเองด้านความสมดุลของกิจกรรมการดำเนินชีวิตในนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีภาวะติดเกมen_US
dc.title.alternativeDevelopment of self-report questionnaire on occupational balance in university students with game addictionen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเกม-
thailis.controlvocab.thashการติดเกมวิดีโอ-
thailis.controlvocab.thashนักศึกษา -- การดำเนินชีวิต-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัตถุประสงค์: ในปัจจุบันกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นมีการเล่นเกมอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ในการเล่นเกมที่มากเกินไปอาจนำไปสู่ภาวะติดเกมในวัยรุ่นได้ จากการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าภาวะติดเกมสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาทางสุขภาพกาย และทางสุขภาพจิต ซึ่งนำไปสู่ปัญหาด้านประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันถึงระดับความรุนแรงของภาวะติดเกมที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละบุคคล ซึ่งในการศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่แนวคิดเรื่องความสมดุลในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต คือ การรับรู้ของบุคคลเกี่ยวกับปริมาณและความหลากหลายของกิจกรรมที่เหมาะสม โดยการศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่าความไม่สมดุลในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตอาจนำไปสู่ประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละบุคคลที่ลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาวิจัยเครื่องมือฉบับภาษาไทยที่เหมาะสมสำหรับการคัดกรองความสมดุลในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นที่ติดเกม ดังนั้น การศึกษาวิจัยนี้จึงมุ่งหวังที่จะพัฒนาแบบสอบถามรายงานตนเองเกี่ยวกับความสมดุลในการทำงานสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยของไทยที่ติดเกม วิธีการศึกษา: แบบสอบถามความสมดุลของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตประกอบไปด้วยข้อคำถาม 21 ข้อ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการให้ความหมายต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ด้านเวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ด้านความหลากหลายของประเภทกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่บุคคลกระทำ ด้านความพึงพอใจที่สัมพันธ์กับกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคลในปัจจุบัน อีกทั้งมีการศึกษาคุณสมบัติทางจิตวิทยาของแบบสอบถามฯ ร่วมด้วย ผลการศึกษา: แบบสอบถาม ฯ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาที่ดี ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างที่ดี และมีความสอดคล้องภายในที่ดีในการคัดกรองความสมดุลของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในประชากรไทยที่มีภาวะติดเกม โดยในแต่ละด้านของแบบสอบถามฯ มีความถูกต้องตามโครงสร้าง และความสอดคล้องภายในที่ดีอีกด้วย สรุปผลการศึกษา: แบบสอบถามความสมดุลของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีภาวะติดเกมมีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งสามารถใช้แบบสอบถามฯ ต่อวัตถุประสงค์ในการประเมินความสมดุลของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในประชากรไทยที่มีภาวะติดเกมได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือใหม่ทางกิจกรรมบำบัดในการระบุความสมดุลของประชากรที่มีภาวะติดเกมได้en_US
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
651131024.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.