Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80118
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยศธนา คุณาทร-
dc.contributor.authorจิรกร ริยะทาen_US
dc.date.accessioned2024-10-22T00:36:31Z-
dc.date.available2024-10-22T00:36:31Z-
dc.date.issued2024-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80118-
dc.description.abstractThis research aims to determine the optimal production capacity for the installation of a solar cell system combined with an energy storage system, considering economic feasibility. It also presents appropriate energy management strategies for the employee housing of the Electricity Generating Authority of Thailand at Mae Moh Power Plant, Lampang Province. The research involved assessing electricity consumption behavior over the past year (2021) using data recorded every 15 minutes from 53 employee housing units comprising 654 rooms. The study evaluated the potential electricity generation from solar energy and calculated the feasibility for installing solar modules and energy storage systems through mathematical modeling and the Generalized Reduced Gradient (GRG) method, which is used for solving nonlinear optimization problems. The analysis revealed that installing solar modules alone resulted in the lowest overall project budget. In cases where an energy storage system was considered, it was found to be unsuitable due to high costs, resulting in minimal savings on electricity bills. Therefore, it is recommended to install only as much capacity as necessary to meet peak demand. Furthermore, a survey was conducted to understand the electricity consumption behavior of employees. It was found that the highest electricity usage occurred at night, while some consumption persisted during the day due to families residing in the housing units. Based on this data, the study presents energy management strategies to enhance solar energy utilization, offering four management approaches: Peak Shaving, firm, load shifting, and backup power.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์ความเหมาะสมที่สุดของการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์พร้อมระบบกักเก็บพลังงานในอาคารประเภทที่พักอาศัย : กรณีศึกษาบ้านพักพนักงาน กฟผ. แม่เมาะen_US
dc.title.alternativeOptimization of a solar cell system with an energy storage system installation for residential buildings : Case study EGAT Mae Moh staff's residencesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเซลล์แสงอาทิตย์-
thailis.controlvocab.thashพลังงานแสงอาทิตย์-
thailis.controlvocab.thashบ้านพลังงานแสงอาทิตย์-
thailis.controlvocab.thashการใช้พลังงานไฟฟ้า-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้ต้องการหากำลังผลิตที่เหมาะสมที่สุดของการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์พร้อมระบบกักเก็บพลังงานโดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์และนำเสนอแนวทางบริหารจัดการพลังงานอย่างเหมาะสม ของบ้านพักพนักงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โรงไฟฟ้า แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปางการดำเนินการวิจัยได้ทำการประเมินพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง 1 ปีในปี คศ. 2021 จากข้อมูลที่บันทึกได้จากการใช้ไฟฟ้าทุก 15 นาที ห้องพักของบ้านพัก 53 หลัง จำนวนห้อง 654 ห้อง และทำการประเมินพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์จากนั้นคำนวณหาค่าความเหมาะสมสำหรับการติดตั้งโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ และ ระบบกักเก็บพลังงาน ด้วยวิธีสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และคำนวณหาค่าความเหมาะสมด้วยวิธีเกรเดียนต์ลดรูปแบบวางนัยทั่วไป GRG (Generalized Reduced Gradient) ที่ใช้ในการแก้ปัญหาการหาค่าเหมาะสมที่สุด (optimization) แบบไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear) โดยการหาค่าต่ำสุดของงบประมาณรวมตลอดโครงการภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดผลการวิเคราะห์พบว่าการติดตั้งโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียวทำให้งบประมาณรวมของโครงการต่ำที่สุดและยังทราบถึงกำลังผลิตที่เหมาะสมในกรณีการติดตั้งโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์พร้อมระบบกักเก็บพลังงานพบว่าไม่มีความเหมาะสมในการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานเนื่องจากงบประมาณรวมตลอดโครงการที่ต่ำที่สุดคือการไม่ติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน เนื่องจากราคาระบบกักเก็บพลังงานพลังงานที่สูงเมื่อติดตั้งเพิ่มในระบบจะเป็นการเพิ่มงบประมาณในการลงทุนแต่ลดปริมาณการไฟฟ้าได้น้อยซึ่งจะทำให้ลดการจ่ายค่าพลังงานได้น้อยเช่นกัน ดังนั้นหากต้องการติดตั้งจึงควรติดตั้งเท่าที่จำเป็นต้องใช้งานเท่ากับความต้องการในการลดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด และ ศึกษาพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าผ่านแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างพนักงาน เพื่อนำเสนอแนวทางลดการใช้พลังงาน ทั้งนี้เมื่อนำผลสำรวจจากแบบสอบถามวิเคราะห์ร่วมปริมาณการใช้ไฟฟ้าทุก 15 นาที พบว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าส่วนมากอยู่ในช่วงกลางคืนเนื่องจากคนส่วนมากไปทำงานตอน 8.00 น.– 16.00 น. แต่ในตอนกลางวันยังมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าอยู่เนื่องจากมีครอบครัวพักอาศัยอยู่ระหว่างพนักงานไปทำงาน ในการนี้จึงได้นำข้อมูลจากแบบสอบถามนำเสนอแนวทางบริหารจัดการพลังงานเพื่อให้ PV Utilization เพิ่มมากขึ้นโดยนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการพลังงานด้วยระบบกักเก็บพลังงาน 4 รูปแบบ คือ Peak Shaving, firm, load shifting, back up poweren_US
Appears in Collections:ENG: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620631144-จิรกร ริยะทา.pdf620631144-จิรกร ริยะทา4.17 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.