Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80110
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยงยุทธ ยะบุญธง-
dc.contributor.advisorธารณ์ ทองงอก-
dc.contributor.authorธันยวิทย์ จันแก้วen_US
dc.date.accessioned2024-10-21T10:21:01Z-
dc.date.available2024-10-21T10:21:01Z-
dc.date.issued2024-06-28-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80110-
dc.description.abstractThis study aimed to 1) investigate the current status, expectations, and necessary requirements for developing digital skills of teachers in small schools attached to Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 5, 2) explore guidelines for developing digital skills among teachers in small schools with good practices, and 3) create and validate guidelines for developing digital skills of teachers in small schools attached to Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 5. The study was divided into three phases according to the research objectives. The population and target group consisted of 183 individuals which were 168 school directors and teachers from small schools, 10 experts, and 5 specialists. Research instruments included questionnaires, structured interviews, and validation forms. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, ranking, and inductive summary analysis. The research findings were as follows: 1. The current status, desired status, and necessary requirements for developing digital skills of teachers in small schools attached to Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 5 were at a high level. When considering each aspect in descending order, it was found that the top priority was the use of digital tools for security, followed by digital media creation programs, spreadsheet programs, and finally, the use of digital tools for security. 2. The study of processes and guidelines for developing digital skills among teachers in small schools with good practices revealed that school directors and teachers set goals and planned the development of teachers' skills. They then implemented the plan by organizing various training sessions and activities to support teachers in continuously developing these skills, such as workshops led by experts, online training platforms, knowledge-sharing networks among teachers, and the establishment of technology learning centers within schools. Additionally, there were collaborative projects with external organizations to provide equipment and support learning, the creation of user manuals, and the establishment of online communities for teachers to share knowledge and experiences. Furthermore, the school directors provided necessary resources and continuous evaluation of training results to ensure teachers acquired up-to-date skills that could be effectively applied in teaching, resulting in high-quality learning management. Students gained access to diverse and safer learning resources, school directors could efficiently manage resources, and schools were well-prepared to adapt to digital technology fully. 3. The guidelines for developing digital skills of teachers in small schools attached to Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 5 consisted of four components: 1) principles, 2) objectives, 3) implementation methods, and 4) success conditions. The validation results showed that the guidelines were highly accurate, appropriate, feasible, and meeting all specified criteria. Keywords: Guidelines Development, Digital Skills, Teachers, Small Schoolsen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาทักษะการใช้ดิจิทัลของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5en_US
dc.title.alternativeGuidelines for developing digital skills of teachers in small schools attached to Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 5en_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashการบริหารการศึกษา -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashเทคโนโลยีสารสนเทศ-
thailis.controlvocab.thashครู-
thailis.controlvocab.thashโรงเรียนขนาดเล็ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความคาดหวัง และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการใช้ดิจิทัล ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการใช้ดิจิทัล ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีแนวปฏิบัติที่ดี และ 3) จัดทำและตรวจสอบแนวทางการพัฒนาทักษะการใช้ดิจิทัล ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ ประชากรและกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการครั้งนี้ คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูของโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 168 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 183 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบตรวจสอบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ เรียงลำดับ และการวิเคราะห์โดยสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการใช้ดิจิทัล ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ลำดับแรก คือ ด้านการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย ลำดับที่ 2 ด้านการใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล ลำดับที่ 3 ด้านการใช้โปรแกรมตารางคำนวณ และลำดับสุดท้ายคือ ด้านการใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย 2. ผลการศึกษากระบวนการและแนวทางการพัฒนาทักษะการใช้ดิจิทัลของครูในโรงเรียนขนาดเล็กของสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี พบว่า ผู้อำนวยการและคณะครูได้กำหนดเป้าหมายและวางแผนการพัฒนาทักษะของครู จากนั้นดำเนินการตามแผนโดยโรงเรียนได้จัดอบรมและกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนครูในการพัฒนาทักษะเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการโดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการฝึกอบรม การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างครู และการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางเทคโนโลยีภายในโรงเรียน นอกจากนี้ยังมีโครงการความร่วมมือกับองค์กรภายนอกเพื่อจัดหาอุปกรณ์และสนับสนุนการเรียนรู้ การจัดทำคู่มือการใช้งาน และการสร้างชุมชนออนไลน์สำหรับครูเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงการสนับสนุนจากผู้อำนวยการสถานศึกษาในการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นและการประเมินผลการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครูมีทักษะที่ทันสมัยและสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้มีคุณภาพ นักเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโรงเรียนมีความพร้อมสามารถปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ 3. แนวทางการพัฒนาทักษะการใช้ดิจิทัลของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีการดำเนินงาน และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ มีผลการตรวจสอบ ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ทุกด้าน คำสำคัญ: แนวทางการพัฒนา ,ทักษะดิจิทัลของครู, โรงเรียนขนาดเล็กen_US
Appears in Collections:EDU: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650232066 ธันยวิทย์ จันแก้ว.pdf14.58 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.