Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80102
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรพิณ สันติธีรากุล | - |
dc.contributor.author | ธนวัฒน์ วงค์แก้ว | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-10-15T10:14:03Z | - |
dc.date.available | 2024-10-15T10:14:03Z | - |
dc.date.issued | 2024-08-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80102 | - |
dc.description.abstract | This independent study aims to investigate impact of and responses to the COVID-19 pandemic of Japanese restaurants in Chiang Mai Province. The research employs a comprehensive analytical approach, utilizing the McKinsey 7S Framework to evaluate both external and internal environment factors affecting these businesses. The study analyzes the external environment impacting the businesses, including SWOT analysis, and examine the internal business environment through business management functions. Key success factors for these enterprises are identified, and the adaptation strategies employed by entrepreneurs are investigated. The research assesses the alignment of the seven factors within the McKinsey 7S framework and evaluates the assistance measures provided by the government and relevant agencies during the COVID-19 outbreak. The study collected data through in-depth interviews with 10 Japanese restaurant entrepreneurs in Chiang Mai province who manage to sustain their businesses during the pandemic. This data are used for analysis and the results are presented. Findings reveal that most entrepreneurs have less than 10 years of business experience. The businesses are typically sole proprietorships with 5-25 employees and average annual revenues ranging from 240,000 to 3,450,000 baht. The organizational structure includes management overseeing operations with clearly defined roles and responsibilities. These businesses demonstrate various strengths and employ diverse operational strategies. Entrepreneurs prioritize skill development, employee care, and the inculcation of Japanese customs and cultural concepts to help staff understand and apply them to the business as intended, which has been well-received by all employees. Prior to the COVID-19 outbreak, Japanese restaurants are popular among both Thai and foreign customers, with steadily increasing sales. However, the pandemic significantly impacts revenue, with over 90% typically coming from dine-in customers. The most significant external factor affecting businesses is the economic situation, causing a 20% increase in raw material prices and procurement difficulties due to delayed transportation, leading to higher operational costs. Consumers also reduce non-essential spending. Labor laws do not significantly impact businesses as entrepreneurs strictly adhered to regulations. Most entrepreneurs do not participate in government assistance programs, perceiving minimal impact on their businesses. Regarding internal business factors, entrepreneurs' experience in the Japanese restaurant industry leads them to implement income management plans by increasing online ordering channels and managing business risks by assessing situations to prepare reserve funds. Although there are some liquidity issues, these are temporary. Marketing strategies include promotional discounts on special occasions and highlighting strengths such as quality ingredients, taste, chef's specials, value for money, portion sizes, and service to enhance customer satisfaction. Human resource management involves training and skill development to ensure staff expertise and interchangeability. Factors contributing to business success include customer honesty, quality ingredient selection, location, customer service, authentic Japanese flavors, portion sizes, pricing, food variety, uniqueness, and setting business goals. Furthermore, entrepreneurs express a need for government assistance in six main areas: (1) controlling raw material prices, (2) subsidizing social security contributions for employees during the economic and pandemic situation improves, (3) reducing or suspending debt payments to financial institutions, (4) providing funding sources for working capital or reserves, (5) adjusting or suspending debt payments to financial institutions, and (6) coordinating the transportation system for imported goods. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลกระทบและการปรับตัวจากการระบาดของโควิด 19 ของร้านอาหารระดับกลางในจังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Impact of and responses to the COVID-19 pandemic of casual dining restaurants in Chiang Mai province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | โควิด-19 (โรค) | - |
thailis.controlvocab.thash | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | - |
thailis.controlvocab.thash | ร้านอาหาร -- เชียงใหม่ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวต่อการระบาดของโควิด 19 ของร้านอาหารญี่ปุ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายในที่มีผลกระทบต่อธุรกิจตามกรอบแนวคิด McKinsey 7S Framework การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของธุรกิจ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจโดยใช้แนวคิดหน้าที่ทางการบริหารธุรกิจ แนวคิดปัจจัยสู่ความสำเร็จ แนวคิดในการปรับตัวของผู้ประกอบการและวิเคราะห์ความสอดคล้องของปัจจัยทั้ง 7 ประการ ตลอดจนศึกษามาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการเก็บรวมรวบข้อมูลปฐมภูมิของธุรกิจโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ที่สามารถดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 จำนวน 10 ราย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอผลการศึกษา จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำธุรกิจต่ำกว่า 10 ปี ลักษณะการประกอบธุรกิจเป็นธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว มีจำนวนแรงงานตั้งแต่ 5-25 คน มีรายได้เฉลี่ยต่อปีตั้งแต่ 240,000- 3,450,000 บาท โครงสร้างของธุรกิจมีผู้บริหารควบคุมการดำเนินงานและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันอย่างชัดเจน มีจุดเด่นและการใช้กลยุทธ์การดำเนินงานอย่างหลากหลาย ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะการทำงาน การดูแลพนักงาน รวมถึงการปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้พนักงานทำความเข้าใจและสามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจตามที่ผู้ประกอบการได้วางไว้ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากพนักงานทุกคนเป็นอย่างดี ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด 19 ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นได้รับความสนใจจากลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นอย่างเนืองแน่น และมียอดขายเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 มีผลกระทบด้านรายได้ซึ่งกว่า 90% เป็นรายได้ที่ได้จากลูกค้าเข้าใช้บริการที่ร้านอาหารโดยตรง ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ทำให้ราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น 20% และหาวัตถุดิบยากเนื่องจากขนส่งล่าช้าทำให้ส่งผลต่อต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ส่วนปัจจัยด้านกฏหมายแรงงานไม่ได้ส่งผลต่อธุรกิจเนื่องจากผู้ประกอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด สำหรับนโยบายการช่วยเหลือจากภาครัฐ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือหรือสนับสนุนของภาครัฐเพราะเห็นว่าไม่ได้มีผลกระทบต่อธุรกิจมากนัก ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ พบว่า จากประสบการณ์ในการทำธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นทำให้ผู้ประกอบการมีแผนเกี่ยวกับการจัดการรายได้โดยเพิ่มช่องทางการสั่งซื้อออนไลน์ การบริหารความเสี่ยงของธุรกิจด้วยการประเมินสถานการณ์เพื่อจัดเตรียมเงินทุนสำรอง แม้จะมีปัญหาอยู่บ้างที่ทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องแต่ก็เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น การจัดโปรโมชั่นส่วนลดค่าอาหารในโอกาสวันสำคัญ และนำจุดเด่นด้านวัตถุดิบ รสชาติ การได้ลุ้นกับรายการอาหารจากเชฟ ราคาเหมาะสมกับคุณภาพที่ได้รับ ปริมาณอาหารและการบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจมาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดบริการ ส่วนการบริหารทรัพยากรบุคคลก็มีการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะเพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานด้วยความเชี่ยวชาญ และสามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ สำหรับปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า การคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ทำเลที่ตั้ง การบริการลูกค้า รสชาติเน้นความเป็นอาหารญี่ปุ่นดั้งเดิมปริมาณของอาหาร ราคา ความหลากหลายและความแตกต่างของอาหาร และการตั้งเป้าหมายธุรกิจ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ประกอบการต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐมีอยู่ 6 เรื่อง ได้แก่ (1) การควบคุมราคาของวัตถุดิบเพราะเป็นต้นทุนสำคัญของธุรกิจร้านอาหาร (2) ให้รัฐช่วยสมทบเงินประกันสังคมให้กับพนักงานจนกว่าภาวะเศรษฐกิจและโรคระบาดจะดีขึ้น (3) ปรับลดหรือพักการชำระหนี้จากสถาบันทางการเงิน (4) จัดหาแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการเพื่อนำมาเป็นทุนสำรองหรือทุนหมุนเวียนภายในกิจการ (5) ปรับลดหรือพักการชำระหนี้จากสถาบันทางการเงิน และ (6) ประสานงานระบบการขนส่งจากการสั่งสินค้าที่จะต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ธนวัฒน์ วงค์แก้ว-631532057.pdf | 5.19 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.