Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80095
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกวลิน คุณาศักดากุล-
dc.contributor.advisorอรอุมา เรืองวงษ์-
dc.contributor.authorจิลมิกา หมื่นสิทธิแพร่en_US
dc.date.accessioned2024-10-12T07:46:08Z-
dc.date.available2024-10-12T07:46:08Z-
dc.date.issued2567-07-19-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80095-
dc.description.abstractThe symptoms of stevia root rot were examined. The samples were taken from stevia plantation fields in Chiang Mai Province, Thailand. The pathogens were isolated from infected tissue using the tissue transplanting method, yielding 9 fungal isolates. The baiting method was also employed to isolate the pathogen from the rhizosphere soil, yielding 11 fungal isolates. Pathogenicity testing of the total fungal isolates on stevia seedling was done, and the results revealed that two isolates, CSP1 and CSP2, had the highest disease severity, exhibiting rapid wilt symptoms, severe root rotting, and plant death within 3 days after inoculation. The fungal pathogens were identified based on their morphological and molecular characteristics, and the isolates CSP1 and CSP2 were proven to be Pythium aphanidermatum and Phytopythium helicoides, respectively. The efficacy of endophytic actinobacteria to inhibit the growth of pathogenic fungi was done using dual culture method. Eleven isolates of endophytic actinobacteria which were isolated from roots of Kariyat (Andrographis paniculata) and 14 isolates of endophytic actinobacteria obtaining from the previous experiments were tested against P. aphanidermatum and P. helicoides fungi. The results revealed that the 3 isolates of AND2, AND4, and AND5 effectively inhibited P. helicoides, with radial growth inhibition more than 75%. While, the 0% inhibition results revealed that none trial of the endophytic actinobacteria isolate successfully inhibited the growth of P. aphanidermatum. The identification of the selected endophytic actinobacteria isolates based on the morphological and molecular characteristics confirmed that all of the isolates were Streptomyces albus. The efficacies of culture filtrates obtaining from 5 liquid media after culturing of the selected endophytic actinobacteria isolate were tested to inhibit the growths of the fungal pathogens using the agar well diffusion method. The results showed that ISP-2 medium was the best to promote the production of secondary metabolites to inhibit the growth of P. helicoides by showing the percent inhibition of radial growth at 100%, followed by GYM and YMD media, respectively. In the case of P. aphanidermatum, none of the media was effectively promoted secondary metabolite to inhibit the fungus. The in vitro trials to control root rot disease were performed. Cell suspensions of selected endophytic actinobacteria were applied to the crown of a one-month-old stevia tissue culture seedling for two days before the plants were inoculated with fungal pathogens. The results showed a significant reduction in P. helicoides severity in all of the isolate trials. The disease severity scores showed non-statistical variations amongst the isolates, with 13.76 % of isolate AND5, 15.20% of isolate AND4, and 32.67% of isolate AND2. Whereas, the trials of P. aphanidermatum discovered that the disease severity index showed non-statistical variations amongst the isolates as well, with 42.10% of isolate AND5, 46.87% of isolate AND4, and 71.17% of isolate AND2. The disease control studies in greenhouse circumstances were carried out by pouring spore suspensions of selected endophytic actinobacteria over the crown of a one-month-old stevia seedling every three days for three times before inoculating pathogenic fungi. All of the isolate trials yielded a considerable reduction in P. helicoides severity. The disease severity scores varied non-statistically among the isolates, with 22.43% of isolate AND5, 24.27% of isolate AND4, and 36.04% of isolate AND2. In the P. aphanidermatum trials, the disease severity index indicated non-statistical variances across the selected isolates, with 40.96% of isolate AND5, 48.40% of isolate AND4, and 67.93% of isolate AND2. These outcomes were repeatedly revealed throughout laboratory studies.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรียen_US
dc.titleการคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพของเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรียในการควบคุมโรครากเน่าของหญ้าหวานen_US
dc.title.alternativeScreening and efficiency assessment of endophytic cctinobacteria in controlling root rot disease of stevia rebaudianaen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโรครากเน่า-
thailis.controlvocab.thashรากเน่า-
thailis.controlvocab.thashราก (พฤกษศาสตร์) -- โรคและศัตรูพืช-
thailis.controlvocab.thashหญ้าหวาน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาอาการโรครากเน่าของหญ้าหวานโดยนำอย่างพืชมาจากแปลงปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มาแยกเชื้อสาเหตุโรคด้วยวิธีการแยกจากเนื้อเยื่อพืชเป็นโรค สามารถแยกเชื้อราได้ทั้งหมด 9 ไอโซเลท และแยกด้วยวิธีการใช้เหยื่อล่อจากดินรอบรากพืชเป็นโรค สามารถแยกเชื้อราได้ทั้งหมด 11 ไอโซเลท เมื่อนำเชื้อราแยกได้ทั้งหมดมาทดสอบความสามารถในการก่อโรคบนต้นกล้าหญ้าหวาน พบมีเชื้อราสาเหตุโรคที่ให้ระดับความรุนแรงของโรคสูงที่สุด จำนวน 2 ไอโซเลทได้แก่ ไอโซเลท CSP1 และCSP2 โดยทำให้ต้นหญ้าหวานแสดงอาการเหี่ยวอย่างรวดเร็ว มีอาการรากเน่ารุนแรง และต้นตาย หลังการปลูกเชื้อ 3 วัน เมื่อนำมาศึกษาการจัดจำแนกลักษณะทางสัณฐานวิทยา และอณูชีววิทยา พบว่าไอโซเลท CSP1 คือ Pythium aphanidermatum และ ไอโซเลท CSP2 คือ Phytopythium helicoides ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคโดยเชื้อเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรีย โดยนำเชื้อเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรียที่แยกได้จากรากของฟ้าทะลายโจร จำนวน 11 ไอโซเลท และ เชื้อเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรียจากงานวิจัยที่ผ่านมา จำนวน 14 ไอโซเลท มาทำสอบยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรค 2 ไอโซเลทข้างต้น ด้วยวิธี dual culture พบว่า สามารถคัดเลือกเชื้อเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรียได้จำนวน 3 ไอโซเลท ได้แก่ ไอโซเลท AND2 AND4 และAND5 ที่มีประสิทธิภาพยับยั้งในระดับสูงมาก โดยมีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา P. helicoides ได้มากกว่า75 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่พบเชื้อเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรียที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา P. aphanidermatum ได้ โดยทุกไอโซเลทให้ผลการยับยั้งเท่ากับ 0 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำเชื้อเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรียทั้ง 3 ไอโซเลทที่คัดเลือกได้ มาศึกษาการจัดจำแนกลักษณะทางสัณฐานวิทยา และทางอณูชีววิทยา พบว่าไอโซเลททั้งหมดคือเชื้อ Streptomyces albus และในการทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคด้วยน้ำเลี้ยงเชื้อที่คัดเลือกได้ทั้ง 3 ไอโซเลท ที่เลี้ยงในอาหารเหลว 5 ชนิด ด้วยวิธี agar well-diffusion พบว่าอาหารชนิดเหลว ISP-2 สามารถส่งเสริมการสร้างสารทุติยภูมิของเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรียที่คัดเลือกได้ทั้ง 3 ไอโซเลทได้ดีที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเชื้อรา P. helicoides ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นอาหารชนิดเหลว GYM และ YMD แต่พบว่าไม่มีอาหารชนิดเหลวใดเลยที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการสร้างสารทุติยภูมิยับยั้งการเจริญของเชื้อรา P. aphanidermatum สำหรับการทดสอบการควบคุมโรครากเน่าในสภาพห้องปฏิบัติการด้วยเชื้อเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรียที่คัดเลือกได้ทั้ง 3 ไอโซเลท โดยการหยดเซลล์แขวนลอยของเชื้อแต่ละไอโซเลท ลงบนโคนต้นกล้าหญ้าหวานก่อนการปลูกเชื้อราสาเหตุโรค พบว่าทั้ง 3 ไอโซเลท สามารถลดระดับความรุนแรงของการเกิดโรคของต้นกล้าหญ้าหวานที่ปลูกด้วยเชื้อรา P. helicoides ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม โดยมีค่าดัชนีความรุนแรงในการก่อโรคไม่แตกต่างกัน ของไอโซเลท AND5 ที่ 13.76 เปอร์เซ็นต์ ไอโซเลท AND4 ที่ 15.20 เปอร์เซ็นต์ และไอโซเลท AND2 ที่ 32.67 เปอร์เซ็นต์ สำหรับต้นกล้าหญ้าหวานที่ปลูกด้วยเชื้อรา P. aphanidermatum พบว่ามีค่าดัชนีความรุนแรงในการก่อโรคไม่แตกต่างกัน ของไอโซเลท AND5 ที่ 42.10 เปอร์เซ็นต์ ไอโซเลท AND4 ที่ 46.87 เปอร์เซ็นต์ และไอโซเลท AND2 ที่ 71.17 เปอร์เซ็นต์ และในการทดสอบการควบคุมโรครากเน่าในสภาพโรงเรือนด้วยวิธีการราดเชื้อเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรียที่คัดเลือกได้แต่ละไอโซเลท ลงบนโคนต้นหญ้าหวานก่อนการปลูกเชื้อราสาเหตุโรค พบว่าเชื้อทั้ง 3 ไอโซเลท สามารถลดระดับความรุนแรงของการเกิดโรคได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม โดยต้นกล้าที่ปลูกด้วยเชื้อรา P. helicoides โดยมีค่าดัชนีความรุนแรงในการก่อโรคไม่แตกต่างกัน ของไอโซเลท AND5 ที่ 22.43 เปอร์เซ็นต์ ไอโซเลท AND4 ที่ 24.27 เปอร์เซ็นต์ และไอโซเลท AND2 ที่ 36.04 เปอร์เซ็นต์ สำหรับต้นกล้าหญ้าหวานที่ปลูกด้วยเชื้อรา P. aphanidermatum พบว่าสามารถลดระดับความรุนแรงของการเกิดโรคได้ไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าดัชนีความรุนแรงในการก่อโรคของไอโซเลท AND5 ที่ 40.96 เปอร์เซ็นต์ ไอโซเลท AND4 ที่ 48.40 เปอร์เซ็นต์ และไอโซเลท AND2 ที่ 67.93 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดสอบการควบคุมโรครากเน่าในสภาพห้องปฏิบัติการen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.