Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80088
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฟ้าไพลิน ไชยวรรณ-
dc.contributor.advisorชูชาติ สันธทรัพย์-
dc.contributor.authorรัชนีกร แก้วปาen_US
dc.date.accessioned2024-10-11T10:30:17Z-
dc.date.available2024-10-11T10:30:17Z-
dc.date.issued2024-07-30-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80088-
dc.description.abstractThe Study of the Influences of different irrigation regimes on the growth, quality, and yield of marigolds aimed to determine the appropriate irrigation rate and the efficiency of water use of marigolds. The experiment utilized a randomized complete block design with four treatments: daily irrigation at 10.62 mm/day (farmer’s conventional practice), daily irrigation based on evapotranspiration (ETc), and irrigation at 30% and 50% of available water capacity (AWC) depletion. The growth, quantity, and quality of marigold flowers were collected. The results showed that plant growth in terms of plant height, canopy size, and fresh and dry weight of flowers by the plant receiving different irrigation rates were significantly different. Daily irrigation according to the plant evapotranspiration rate gave mean plant height, canopy size, and maximum diameter of 64.13, 55.03, and 6.89 cm., respectively. Fresh and dry flower weights were 13.01 and 1.83 g/ flowers, respectively. Water use efficiency was 3.41 kg/m3 by irrigation at 50% of available water capacity (AWC) gave the lowest fresh and dry flower weight value 7.45 and 1.18 g/flowers, respectively. When considering quantity and quality yield, it was found that the yield and quality of marigolds from the four treatments were significantly different. Therefore, daily irrigation at the rate of evapotranspiration (ETc) was the most effective method for saving water and ensuring the optimal quantity and quality of marigold yield.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleอิทธิพลของการให้น้ำต่อการเติบโต คุณภาพ และผลผลิตของดาวเรืองen_US
dc.title.alternativeInfluences of irrigation regimes on growth, quality, and yeld of Marigolden_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashดอกดาวเรือง -- การปลูก-
thailis.controlvocab.thashดอกดาวเรือง -- การเจริญเติบโต-
thailis.controlvocab.thashน้ำ -- การใช้ประโยชน์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาอิทธิพลของวิธีการให้น้ำที่แตกต่างกันต่อการเติบโต คุณภาพ และผลผลิตของดาวเรือง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอัตราการให้น้ำที่เหมาะสม และประสิทธิภาพการใช้น้ำของดาวเรือง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ แบ่งออกเป็น 4 กรรมวิธี ได้แก่ ให้น้ำทุกวันตามเกษตรกรนิยมปฏิบัติ (10.62 มิลลิเมตรต่อวัน) ให้น้ำทุกวันตามอัตราการคายระเหยของพืช และให้น้ำเมื่อปริมาณน้ำใช้ประโยชน์ได้ในดินลดลง 30 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทำการบันทึกข้อมูลการเติบโต ปริมาณและคุณภาพดอกดาวเรือง ผลการทดลองพบว่า การให้น้ำในกรรมวิธีที่ต่างกัน ส่งผลให้ความสูง ขนาดทรงพุ่ม น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งของดอก แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่า การให้น้ำทุกวันตามอัตราการคายระเหยของพืชให้ค่าเฉลี่ยความสูงต้น ขนาดทรงพุ่ม และเส้นผ่าศูนย์กลางสูงสุดเท่ากับ 64.13 55.03 และ 6.89 เซนติเมตร ตามลำดับ ค่าน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง เท่ากับ 13.01 และ 1.83 กรัมต่อดอก ตามลำดับ ประสิทธิภาพการใช้น้ำ เท่ากับ 3.41 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่การให้น้ำเมื่อปริมาณน้ำใช้ประโยชน์ได้ในดินลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ ให้ค่าน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งต่ำที่สุด เท่ากับ 7.45 และ 1.18 กรัมต่อดอก ตามลำดับ เมื่อพิจารณาด้านปริมาณ และคุณภาพผลผลิตของดอกดาวเรือง พบว่า ทั้ง 4 กรรมวิธีให้ผลผลิตแตกต่างกัน ดังนั้น การให้น้ำทุกวันตามอัตราการคายระเหยของพืช เป็นการให้น้ำที่ประหยัดที่สุดและมีความเหมาะสมในการปลูกดาวเรืองทั้งปริมาณและคุณภาพผลผลิตen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620831059-รัชนีกร แก้วปา.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.