Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80087
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันเพ็ญ เจริญตระกูลปีติ-
dc.contributor.authorยลดา ใจมาแก้วen_US
dc.date.accessioned2024-10-09T11:32:26Z-
dc.date.available2024-10-09T11:32:26Z-
dc.date.issued2567-08-26-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/80087-
dc.description.abstractGentrification is a phenomenon that is prevalent in numerous regions worldwide, including Chiang Mai municipality, and involves the conversion of land from residential to commercial use by the displacement of original residents in old town communities. The objective of this article is to examine the gentrification of the communities surrounding Chedi Luang Worawiharn Temple in Sri Phum subdistrict, Muang district, Chiang Mai province, and to analyze the changes of gentrification phenomenon during the coronavirus disease 2019 situation. Lastly, it suggests recommendations for the management and planning of urban renewal initiatives in the communities encircling Chedi Luang Temple. The research was conducted in the vicinity of Wat Chedi Luang, which is comprised of three communities: the Phra Chao Mengrai Samakkhi Community, the Chang-Taem Community, and the Phan-On Community. The target groups are traditional community residents, new residents, community leaders, and relevant government officials. The methodological instruments included data interviews, physical surveys, and questionnaires that were completed by a sample of 268 individuals. Research findings were analyzed using descriptive statistics and content analysis. According to the findings of the gentrification research conducted in the community surrounding Wat Chedi Luang, commercial land use accounted for 38.9 percent of all land uses and was concentrated along the town's main roads. Residential areas were distributed in the central part of the community, surrounded by religious institutions, while commercial and residential structures were dispersed throughout the community. The majority of residents, 41.5 percent, were from the central area, which includes Pathum Thani, Nonthaburi, and Bangkok. Gentrification can be divided into three stages: Stage 1: the beginning of development, Stage 2: maturity, and Stage 3: adjustment, with the prospect of evolving into a completely commercial area in the future. Prior to the COVID-19 epidemic, the economy had a major influence on the effects of gentrification, including increased living expenses and rising rents and land prices. While the physical and social consequences were Improving the condition of buildings results in a more pleasant community landscape and a better quality of life for people in the community. The changes in gentrification during the COVID-19 pandemic revealed a slowdown in economic activity, which resulted in the gentrification phenomena diminishing due to a decline in commerce and service businesses. As a result, the population in particular communities decreased while land prices remained high due to speculation in the area. Although communities were greatly impacted by the economic downturn caused by disease outbreaks, they bonded together because of collaboration between original and new residents in dealing with the situation. The recommendations for managing and planning urban renewal based on gentrification during the normal and risk phases include the following: first, the modification of places that hold emotional value, such as the promotion of the improvement of vacant spaces for public benefit; second, building community capacity to further solve community problems, such as the development of community-based technology innovations; and finally, creating participation for community strength. These initiatives seek to build a sense of community and place, which in turn reduces displacement of the original community and the incidence of gentrification.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเจนตริฟิเคชั่นen_US
dc.subjectชุมชนen_US
dc.subjectวัดเจดีย์หลวง วรวิหารen_US
dc.subjectโควิดภิวัตน์en_US
dc.subjectGentrificationen_US
dc.subjectCOVIDizationen_US
dc.subjectCommunityen_US
dc.subjectChedi Luang Worawiharn Templeen_US
dc.titleปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชั่นของชุมชนรอบวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeGentrification of communities surrounding Chedi Luang Worawiharn Temple, Sri Phum Subdistrict, Muang District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร-
thailis.controlvocab.thashการพัฒนาชุมชนเมือง -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการฟื้นฟูเมือง -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashสังคมวิทยาเมือง -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashวัด -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากผู้อยู่อาศัยใหม่เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ผ่านการแทนที่ผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมในชุมชนเมืองเก่าคือปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชั่นที่เกิดในหลายพื้นที่ทั่วโลก รวมถึงพื้นที่เมืองเชียงใหม่ด้วยจึงเป็นที่มาของการศึกษาครั้งนี้ที่ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) ศึกษาปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชั่นในพื้นที่ชุมชนรอบวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชั่น ในช่วงสถานการณ์การเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในบริเวณพื้นที่ชุมชนรอบวัดเจดีย์หลวงฯ และ 3) เสนอแนะแนวทางในการจัดการและวางแผนพัฒนาฟื้นฟูเมืองในพื้นที่ชุมชนรอบวัดเจดีย์หลวงฯ ให้กลับมามีชีวิตชีวาและเกิดความยั่งยืน โดยมีพื้นที่ชุมชนรอบวัดเจดีย์หลวงฯ 3 ชุมชน คือ ชุมชนพระเจ้าเม็งรายสามัคคี ชุมชนช่างแต้ม และชุมชนพันอ้น และศึกษาประชากร 3 กลุ่ม ได้แก่ บุคคลที่อยู่ในชุมชนดั้งเดิม บุคคลที่เข้ามาอาศัยอยู่ใหม่ และผู้นำชุมชนรวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง มีการรวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ข้อมูลการนำสัมภาษณ์ และข้อมูลแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง 268 คน และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และทางสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ผลการศึกษาปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชั่นในพื้นที่ชุมชนรอบวัดเจดีย์หลวงฯ พบว่า พื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมมากที่สุด ร้อยละ 38.9 ซึ่งกระจายตัวอยู่บริเวณถนนหลักรอบชุมชน ในขณะที่การใช้ที่ดินแบบผสมกระจายตัวอยู่ในชุมชน และการใช้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัยกระจายตัวอยู่ในบริเวณตอนกลางของชุมชนและรอบสถาบันศาสนา ลักษณะการครอบครองส่วนใหญ่เป็นคนในภาคกลาง (กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี) ร้อยละ 41.5 กระบวนการเกิดเจนตริฟิเคชั่นมี 3 ช่วง คือ ขั้นที่ 1 ช่วงเริ่มพัฒนา ขั้นที่ 2 ช่วงโตเต็มที่ ขั้นที่ 3 ช่วงปรับตัว และอาจกลายเป็นย่านการค้าอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต โดยชุมชนได้รับผลกระทบของปรากฏการณ์การเจนตริฟิเคชั่นในช่วงก่อนเกิดการโควิดภิวัตน์ในด้านเศรษฐกิจมากที่สุด เช่น ค่าครองชีพและค่าเช่า/ราคาที่ดินสูงขึ้น ในขณะที่ผลกระทบด้านกายภาพและด้านสังคมที่ชุมชนได้รับ ได้แก่ อาคารได้รับการปรับปรุงให้มีสภาพดีขึ้นส่งผลให้ทัศนียภาพของชุมชนน่าอยู่ยิ่งขึ้น ทําให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชั่น ในช่วงสถานการณ์การเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงและส่งผลให้ปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชั่นหยุดตาม กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจด้านการค้าขายและบริการลดลง ทำให้จำนวนประชากรในบางชุมชนลดลง อย่างไรก็ตามราคาที่ดินยังคงสูงขึ้น เนื่องจากมีการเก็งกําไรในพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามในช่วงการแพร่ระบาดของโรคชุมชนเกิดความสามัคคี มีการร่วมมือกันระหว่างผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมและผู้อยู่อาศัยใหม่เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว จากปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชั่นช่วงปกติและช่วงเผชิญภัย ชุมชนได้เสนอแนะแนวทางในการจัดการพื้นที่เพื่อฟื้นฟูและการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถสรุปได้เป็น 3 แนวทางหลัก คือ แนวทางแรกคือการจัดการพื้นที่และการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การปรับปรุงสถานที่รกร้างให้เกิดประโยชน์ส่วนรวม แนวทางต่อมาคือการเผยแพร่ความรู้ การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาได้โดยชุมชน ได้แก่ การสร้างนวัตกรรมจากเทคโนโลยีของชุมชนเพื่อชุมชน และแนวทางสุดท้ายการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง แนวทางเหล่านี้จะสร้างความรู้สึกหวงแหนในพื้นที่ของชุมชนและรู้สึกผูกพันกับสถานที่ซึ่งจะช่วยลดการย้ายออกของคนในชุมชนดั้งเดิมและลดการเกิดปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชั่นen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630431006 ยลดา ใจมาแก้ว.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.